★★★★★
พืชสกุลกัญชา เป็นพืชที่มีศักยภาพในการเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการนำมาใช้ประโยชน์ในอุุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุุขภาพ ซึ่งสามารถสร้างรายได้โดยตรงและต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้หลากหลาย
พืชสกุลกัญชา (Cannabis sativa L., 2n = 2x = 20) มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน และมีการกระจายพื้นที่ออกไปตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงบริเวณเทือกเขาหิมาลัย และปัจจุุบันมีการปลููกอย่างแพร่หลายทั่วโลก
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามนุุษย์มีการนำพืชสกุุลกัญชามาใช้ประโยชน์โดยการทำอาหารและนำเส้นใยมาใช้ประโยชน์ เป็นระยะเวลามากกว่า 10,000 ปี (Thomas and ElSohly, 2016 และ Bonini et al., 2018) และมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากเส้นใยในพื้นที่อียิปต์และตะวันออกกลาง
ต่อมาแพร่กระจายไปสู่ยุุโรปในช่วงปี 1,000 และ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และในช่วงคริสต์ศักราชที่ 1606 มีการนำมาปลููกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยในอเมริกาเหนือ สำหรับการใช้ประโยชน์ในการเป็นสมุุนไพร มีหลักฐานในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตะวันออกกลางและเอเชียในช่วง 600 ปีก่อนคริสตกาล
และในศตวรรษที่ 19 ประเทศในยุุโรปตะวันตกได้นำพืชสกุุลกัญชามาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น โรคลมบ้าหมูู บาดทะยัก โรคไขข้อ ไมเกรน โรคหอบหืด โรคประสาทส่วนปลายอ่อนเพลีย และอาการนอนไม่หลับ
พืชสกุลกัญชาในประเทศไทย
ในส่วนของการปลููกพืชสกุุลกัญชาในบริเวณคาบสมุุทรอินโดจีน มีหลักฐานการปลููกมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับการปลููกพืชสกุุลกัญชาในประเทศไทย พบว่ามีการปลููกพืชสกุุลกัญชามาตั้งแต่อดีต ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่มีการบันทึก คือ ในสมัยสมเด้จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างปีพุุทธศักราช 2199-2231 ผ่านบันทึกตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตำรับยาที่แพทย์ประกอบถวาย ซึ่งพบตำรับยาที่มีส่วนประกอบของพืชสกุุลกัญชาเป็นส่วน
ประกอบหลัก 2 ตำรับ ได้แก่ ตำรับยาทิพกาศ มีส่วนประกอบเป็นใบพืชสกุุลกัญชา 16 ส่วน และตำรับยาศุุขไสยาศน์ มีส่วนประกอบเป็นใบพืชสกุุลกัญชา 12 ส่วน (Picheansoonth et al., 1999)
นอกจากนี้ การปลููกพืชสกุุลกัญชาเพื่อนำเส้นใยมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่จะปลููกบนพื้นที่สููงทางภาคเหนือ โดยชาวเขาเผ่าม้ง ลีซอ และอาข่า
ซึ่งชาวเขากลุ่มนี้มีการนำเส้นใยพืชสกุุลกัญชามาใช้ประโยชน์ในการทอผ้า ตัดเย้บเครื่องนุ่งห่ม ทอเป็นถุุงย่าม และการใช้เส้นใยทำเป็นเชือกอเนกประสงค์กับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งพืชสกุุลกัญชาเป็นพืชที่ผููกพันและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของกลุ่มชาวเขามาตั้งแต่อดีต (ส่วนสำรวจและรายงาน สำนักงาน ปปส. ภาคเหนือ, 2544)
พระราชบัญญัติพืชสกุุลกัญชา พุุทธศักราช 2477
อย่างไรก็ตาม ในการใช้พืชสกุุลกัญชาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย หากใช้เกินขนาด ขาดการควบคุุม จนเกิดการเสพติด ย่อมส่งผลเสียต่อสุุขภาพของผู้เสพ ส่งผลให้รัฐบาลไทยออกกฎหมายควบคุุมพืชสกุุลกัญชา ภายใต้ชื่อ “พระราชบัญญัติพืชสกุุลกัญชา พุุทธศักราช 2477” โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบ
ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ ห้ามปลููก ซื้อ ขาย จำหน่าย มีไว้ครอบครอง หรือสูบ แต่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย อนุุญาตให้เฉพาะบุุคคลมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ หรือปลููก หรือ มีพันธุ์พืชสกุุลกัญชาไว้เพื่อการทดลองหรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรค
แต่อย่างไรก็ตาม มีการใช้พืชสกุุลกัญชากันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในช่วงสงครามเวียดนาม โดยในปี พ.ศ. 2507 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาตั้งฐานทัพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดอุุดรธานี อุุบลราชธานี
และนครพนม ทำให้เกิดการค้าขายพืชสกุุลกัญชากันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ใกล้ฐานทัพต่างชาติ ซึ่งมีการเกิดขึ้นของสถานบันเทิงมากมายที่ทหารอเมริกันมาใช้บริการ ทำให้คนไทยมองเห็นโอกาสในการค้าขายพืชสกุุลกัญชา ส่งผลให้นายทุุนเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลููก โดยมีการให้ราคาผลผลิตสููงกว่าพืชผลเกษตรชนิดอื่นๆ
ซึ่งผลผลิตที่ได้พ่อค้าก็จะรวบรวมนำไปขายบริเวณฐานทัพอเมริกา ทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศและต่างประเทศ โดยการปลููกเป็นการค้าครั้งแรกที่บ้านต้าย ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุุเทน จังหวัดนครพนม
ต่อมาเมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาถอนฐานทัพกลับ การส่งเสริมให้ปลููกพืชสกุุลกัญชายังมีการส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและบางส่วนจำหน่ายให้กับคนไทย โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
ซึ่งรัฐบาลได้ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของการบรรจุุพืชสกุุลกัญชาให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมีการปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ซึ่งเห็นได้จาก พ.ศ. 2522-2527 พบว่ามีสถิติการทำลายไร่พืชสกุุลกัญชาในระหว่างปีดังกล่าว คิดเป็นพืชสกุุลกัญชา น้ำหนักสด จำนวน 4,061 ตัน และสามารถปราบปรามจับกุุมพืชสกุุลกัญชาแห้ง ทั่วประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2521-2527 ได้พืชสกุุลกัญชาน้ำหนักแห้งรวม 533 ตัน (ส่วนสำรวจและรายงาน สำนักงาน ปปส. ภาคเหนือื, 2544)
ปัจจุุบันพืชสกุุลกัญชา ได้รับข้อยกเว้นในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือ เพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ให้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562