Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นคำมอกหลวง (ผ่าด้าม) ไม้ดอกพุดของไทย ดอกมีกลิ่นหอมแรง ลักษณะ สรรพคุณ?

คำมอกหลวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gardenia sootepensis Hutch. วงศ์พุด Rubiaceae พรรณไม้ดอกพุดพื้นเมืองของไทย ไม้ไทยดอกหอม ...

คำมอกหลวง

"คำมอกหลวง" พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย อยู่ในสกุลดอกพุด Gardenia ถือว่าเป็นดอกพุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีชื่ออื่นอีกว่า ไข่เน่า (นครพนม); คำมอกช้าง, คำมอกหลวง (ภาคเหนือ); ผ่าด้าม, ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา); สะแล่งหอมไก๋, หอมไก๋ (ลำปาง) ชื่อภาษาอังกฤษว่า Golden Gardenia

พรรณไม้ในสกุลพุด หรือ Gardenia อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นพืชสมุนไพรที่มีความสำคัญในแพทย์แผนจีนมานานกว่าพันปีแล้ว พบที่จีนตอนใต้ พม่า ลาว สำหรับประเทศไทยมีพรรณไม้ในสกุลนี้อยู่ไม่เกิน 10 ชนิด แต่ละชนิดล้วนมีสรรพคุณในทางยาและใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาช้านานเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ "คำมอกหลวง"

ต้นคำมอกหลวง (ผ่าด้าม) ไม้ดอกพุดของไทย

คำมอกหลวง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก พบขึ้นตามหุบเขาที่ลาดชันใกล้ลำธาร ตามป่าเต็งรัง หรือป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 200-800 ม. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำเมล็ดเคี่ยวกับน้ำผสมเป็นยาสระผมฆ่าเหา

รายละเอียดเพิ่มเติม

สรรพคุณ คำมอกหลวง

ปัจจุบันนักวิจัยกำลังศึกษาเรื่องความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปากมดลูก ซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์ต่อการบำบัดมะเร็งชนิดนี้ในอนาคต

คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของคำมอกหลวงคือ มีการนำมาใช้เป็นไม้ประดับได้อย่างสวยงาม ต้นที่ปลูกอยู่กลางแจ้ง ห่างจากต้นไม้อื่นๆ จะมีทรงพุ่มที่กลมแน่น และออกดอกเหลืองอร่ามได้เต็มทรงพุ่ม จึงได้รับความนิยมนำมาปลูกตามสนามกอล์ฟ หรือตามสวนที่มีพื้นที่กว้างขวาง

ในปัจจุบัน มีการคัดเลือกพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย ดอกใหญ่ สีเข้มสดใส ออกดอกตลอดปีและมีกลิ่นหอมแรง แล้วขยายพันธุ์โดยการตอน ทาบกิ่งหรือเสียบกิ่ง ทำให้ต้นขนาดเล็กออกดอกได้ จึงได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ดอกกระถางและไม้ประดับตามบ้านกันมากขึ้น

นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้นำดอกคำมอกหลวง มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้ประโยชน์ในทางสุคนธบำบัดอีกด้วย

ต้นคำมอกหลวง, ผ่าด้าม ไม้ดอกพุดของไทย

คำมอกหลวงเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทย ที่ได้รับการสำรวจพบครั้งแรกโดยหมอคาร์ นักพฤกษศาสตร์ชาวไอริช บนดอยสุเทพที่ระดับความสูง 750 ม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

และมีรายงานการตั้งชื่อในปี 2454 โดยนาย John Hutchinson นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Bulletin of Miscellaneous Information,Royal Gardens,Kew หน้า 392 ค.ศ. 1911

ชื่อคําระบุชนิด 'sootepensis' ตั้งตามแหล่งที่พบเป็นครั้งแรกคือดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่, ชื่อสกุล 'Gadenia' ตั้งตามนักธรรมชาติวิทยาชาวอเมริกันที่เกิดในสกอตแลนด์ Alexander Garden (1730-1791) ตัวอย่างพันธุ์ไม้ต้นแบบ หมายเลข Kerr 1794 เก็บจากป่าเบญจพรรณที่ระดับความสูง 750 เมตร

คำมอกหลวง เป็นภาษาคำเมือง แปลว่าดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่ ("คำ" แปลว่า สีเหลือง, "มอก" แปลว่า ดอกไม้, "หลวง" แปลว่า ใหญ่) แต่มีคำเรียกขานตามภาษาพื้นเมือง ในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป เช่น นครพนมเรียกว่า ไข่เน่า นครราชสีมาเรียกว่ายางมอกใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นคำมอกหลวง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ มีความสูง 7-15 ม. เรือนยอดกลม โปร่ง หรือแผ่กว้าง ลำต้นบิดงอ เปลือกต้นสีครีมอ่อนหรือเทา ค่อนข้างเรียบหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งอ่อนมีขนปลายยอดมียางข้นสีเหลืองหรือสีส้มเป็นก้อนติดอยู่

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับหรือรูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-15 ซม. ยาว 9-28 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ใบอ่อนมีสีชมพูอ่อนและมีขนสีเงิน ใบแก่ด้านบนผิวเป็นมัน ด้านล่างมีขนละเอียด ผิวใบสากคาย

ดอกคำมอกหลวง (ผ่าด้าม) ไม้ดอกหอมแรง

ดอกคำมอกหลวง ออกดอกเป็นดอกขนาดใหญ่สีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นดอกสีเหลืองทอง ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นหลอดรูปกรวย ปลายเป็นพูเล็กๆ อีกด้านหนึ่งแยกลึก ด้านนอกมีขนละเอียด โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอดยาว บิดเกลียวในดอกตูม กลีบดอกทรงกระบอกแคบ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลิ่นหอม เส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 5.5-7 ซม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

เกสรเพศผู้มี 5 อัน ไม่มีก้านและเรียงสลับกับกลีบดอกบนปากหลอด ยอดเกสรเพศเมียรูปกระบอง ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

ผลสีเขียวสด ผลมีเนื้อ รูปรีหรือรูปไข่ มีกลีบเลี้ยงติดแน่นที่ปลายผล มีติ่งที่ปลาย มีสันตื้นตามยาว 5-6 สัน ผลมีขนาดกว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.2-4 ซม. ผลแก่สีดำ เมล็ดมีหลายเมล็ด กลมแบน สีน้ำตาลหรือสีแดง เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

การขยายพันธุ์คำมอกหลวง มีการนำผลแก่มาเพาะเมล็ดให้งอกเป็นต้นกล้า สามารถนำไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ได้ทั่วประเทศ ต้นกล้า แข็งแรง มีระบบรากแก้วจึงทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมี ดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม เท่ากับเป็นการช่วยกันอนุรักษ์คำมอกหลวงได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง

รายละเอียดเพิ่มเติม