» โปรฟ้าผ่า! ลดแรงกว่า 90%*

ระวัง!! ช้าหมด (จำนวนจำกัด)

Plants & Home

ต้นพุดรักนา (คำมอกหลวงพม่า) ดอกพุดป่าพื้นเมืองไทย มีลักษณะแตกต่าง พุดภูเก็ต?

"พุดรักนา" เป็นพรรณไม้ดอกหอมของไทย ในสกุลดอกพุด Gardenia ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ "พุดรักนา"ของไทย กับ "พุดน้ำบุศย์" ซึ่งเป็นไม้ดอกไม้ประดับจากต่างประเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ชื่อเดียวกัน เนื่องจากมีรูปทรงดอกที่คล้ายกัน ทั้ง ๆ ที่มีขนาดทรงพุ่ม ลักษณะใบ ดอกและผลแตกต่างกันมาก พุดรักนา พุดรักนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gardenia carinata Wall. ex Roxb. วงศ์พุด Rubiaceae เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทย มีชื่ออื่น เป็นชื่อท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ตะบือโก บาแยมาเดาะ พุดน้ำบุศย์ ระนอ ระไน รัตนา มีชื่อภาษาอังฤกษว่า Golden Gardenia, Kedah Gardenia และมีบางคนนำมาขายในตลาดต้นไม้ในชื่อการค้าว่า "คำมอกหลวงพม่า" พุดรักนา เป็นไม้ป่าพื้นเมืองของไทยที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าดิบชื้น ที่ระดับความสูง 50-800 ม. พบได้ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไปจนถึงภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งในประเทศเพื่อนบ้านเรา อย่างมาเลเซีย รายละเอียดเพิ่มเติม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทางภาคใต้ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของคนในท้องถิ่นและชุมชน ที่อาศัยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ไม

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์) เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Toxocarpus villosus (Blume) Decne. จัดเป็นพืชในสกุล Toxocarpus อยู่ในวงศ์โมก (Apocynaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร ชื่อพ้อง (Synonyms) Secamone villosa Blume ชื่อไทย ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า เถาวัลย์แดง (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) ต้นเถาวัลย์แดง ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า อบเชยเถา (กรุงเทพฯ), เถาวัลย์แดง (ราชบุรี), เครือซุด (เลย), เครือมะแตก (ภาคเหนือ), เครือไซสง เครือไพสง เครือไพสงแดง (ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น) และมีชื่อทางการค้าว่า " โสรยา " รายละเอียดเพิ่มเติม นิเวศวิทยา ต้นเครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่รกร้าง โล่งแจ้ง หรือตามชายป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม. การกระจายพันธุ์ การกระจายพันธ

ต้นคำมอกหลวง (ผ่าด้าม) ไม้ดอกพุดของไทย ดอกมีกลิ่นหอมแรง ลักษณะ สรรพคุณ?

คำมอกหลวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gardenia sootepensis Hutch. วงศ์พุด Rubiaceae พรรณไม้ดอกพุดพื้นเมืองของไทย ไม้ไทยดอกหอม ... คำมอกหลวง "คำมอกหลวง" พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย อยู่ในสกุลดอกพุด Gardenia ถือว่าเป็นดอกพุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีชื่ออื่นอีกว่า ไข่เน่า (นครพนม); คำมอกช้าง, คำมอกหลวง (ภาคเหนือ); ผ่าด้าม, ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา); สะแล่งหอมไก๋, หอมไก๋ (ลำปาง) ชื่อภาษาอังกฤษว่า Golden Gardenia พรรณไม้ในสกุลพุด หรือ Gardenia อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นพืชสมุนไพรที่มีความสำคัญในแพทย์แผนจีนมานานกว่าพันปีแล้ว พบที่จีนตอนใต้ พม่า ลาว สำหรับประเทศไทยมีพรรณไม้ในสกุลนี้อยู่ไม่เกิน 10 ชนิด แต่ละชนิดล้วนมีสรรพคุณในทางยาและใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาช้านานเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ "คำมอกหลวง" คำมอกหลวง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก พบขึ้นตามหุบเขาที่ลาดชันใกล้ลำธาร ตามป่าเต็งรัง หรือป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 200-800 ม. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนานำเมล็ดเคี่ยวกับน้ำผสมเป็นยาสระผมฆ่า

ต้นจิกน้ำ, กระโดนน้ำ ลักษณะ ประโยชน์ กินได้ สรรพคุณสมุนไพร ออกดอกเดือนไหน?

จิกน้ำ, กระโดนน้ำ (Itchy tree, Indian oak) ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์) จิกน้ำ (กระโดนน้ำ) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. จัดเป็นพืชในสกุล Barringtonia อยู่ในวงศ์จิก (Lecythidaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร ชื่อไทย ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า จิกน้ำ (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) ต้นจิกน้ำ มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Itchy tree, Indian oak และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า จิก จิกนา จิกน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้, นครราชสีมา), กระโดนสร้อย (พิษณุโลก), ตอง ปุยสาย (ภาคเหนือ), ลำไพ่ (อุตรดิตถ์), กระโดน กระโดนน้ำ กระโดนทาม กระโดนทุ่ง (อีสาน), ดัมเรียง เดิมเรียง (เขมรอ.ท่าตูม สุรินทร์), กระโด๊ะ (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์) รายละเอียดเพิ่มเติม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของจิกน้ำ (กระโดนน้ำ) ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 5-15 ม. ลำต้น : เปลือกเรียบ-แตกเป็นร่องตื้นตามยาว ส

ต้นริบบิ้นชาลี มีกี่สายพันธุ์ 'ริบบิ้นชาลีด่างชมพู' ลักษณะ วิธีปลูกเลี้ยง ดูแล ขยายพันธุ์?

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้พามาทำความรู้จัก ริบบิ้นชาลีด่างชมพู พอได้ทำความรู้จัก จะหลงรักนาง ริบบิ้นชาลีมีหลายแบบ ไม่ด่างก็มีนะคะ แต่วันนี้เรามาทำความรู้จักริบบิ้นชาลีด่างชมพูกันก่อนนะคะ.. 'ริบบิ้นชาลี' ด่างชมพู ข้อมูล รายละเอียดของ "ริบบิ้นชาลีด่างชมพู" (เพื่อนๆเอาข้อมูลนี้ไป Search ใน Google ดูได้นะคะ เผื่อจะเห็นภาพสวยๆอีกเยอะแยะเลย) Scientific Classification Family: Commelinaceae Subfamily: Commelinoideae Tribe: Tradescantieae Subtribe: Tradescantiinae Genus: Callisia ริบบิ้นชาลีด่างชมพู มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Callisia repens 'Pink Lady'  มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ (Common Names) ว่า Turtle Vine, Inch Plant, Creeping Inch Plant, Creeping Basket Plant, Bolivian Jew รายละเอียดเพิ่มเติม ตอนนี้เรากำลังทดลองตัดแต่งให้น้องริบบิ้นชาลีด่างชมพูของเราให้เป็นฟอร์มกลมเป็นลูกบอล จากประสบการณ์การปลูกเลี้ยงของเรา เรารู้สึกว่าลักษณะใบของริบบิ้นชาลีด่างชมพู จะมีความแตกต่างกันไปตามสถานที่เลี้ยง กระถางนี้เราวางอยู่ที่เดียวกัน

ต้นปรงญี่ปุ่น ปรงญี่ปุ่นแคระ, ปรงแคระ, ปรงจีน ลักษณะ ประโยชน์ วิธีเลี้ยง ดูแล ราคา?

ปรงญี่ปุ่น (Sago Cycad) ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า " ปรงญี่ปุ่น " ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น ปรงญี่ปุ่นแคระ, ปรงแคระ, ปรงจีน, ปรงสาคู, ปาล์มสาคู, ฮ่องเต็ก เป็นต้น ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ปรงญี่ปุ่น ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cycas revoluta Thunb. (1782) อยู่ในวงศ์ Cycadaceae มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Sago Cycad, King sago, Japanese sago palm, Fern Palm, Sago Palm ชื่อท้องถิ่น (ญี่ปุ่น) จะเรียกว่า ban shou, hichichi, sotetsu, susitykuki ชื่อพ้อง (Synonyms) : Cycas inermis Oudem. Cycas miquelii Warb. Epicycas miquelii (Warb.) de Laub. ปรงญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของญี่ปุ่น Japan (Kyushu) to Nansei-shoto และที่จีนตอนใต้แถบมณฑลฝูเจี้ยน เป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ใ

ต้นกันเกรา ความหมาย ประโยชน์ ไม้มงคลปลูกในบ้าน สรรพคุณทางสมุนไพร ราคาถูก?

กันเกรา เป็นพรรณไม้ไทย ที่นอกจากจะมี "รูป" งาม อันหมายถึงลักษณะลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกลมแหลมคล้ายเจดีย์ และดอกมีกลิ่นหอมรวยรื่นตลอดทั้งวัน หากยังเป็นพรรณไม้ที่ "นาม" มีความหมายเป็นมงคล ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 9 ไม้มงคลที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์ มีความหมายว่า จะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย ต้นกันเกรา (มันปลา) กันเกราเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทยที่พบทั่วทุกภาคของประเทศ การกระจายพันธุ์ พบค่อนข้างง่ายในภาคใต้และภาคตะวันออก พบเล็กน้อยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝั่งตะวันออก ในจังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ต่างประเทศพบในอินเดียตอนบน เมียนมาร์ตอนใต้ ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และนิวกินี มีเขตการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ถิ่นอาศัย ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า ทุ่งนา ป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และป่าบุ่งป่าทาม หรือตามพื้นที่ดินปนทรายใกล้ ชายทะเล ชอบขึ้นในเขตที่ราบ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 300 ม. และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,

ต้นน้ำใจใคร่, ผักอีทก ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพรบำรุงน้ำนม ออกดอกเดือนไหน?

น้ำใจใคร่, ผักอีทก (Parrot Olax) ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์) น้ำใจใคร่ (ผักอีทก) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Olax scandens Roxb. จัดเป็นพืชในสกุล Olax อยู่ในวงศ์น้ำใจใคร่ (Olacaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร ชื่อไทย ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า น้ำใจใคร่ (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557) ต้นน้ำใจใคร่ มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Parrot Olax และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า กระทกรก กระดอถอก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), น้ำใจใคร่ กระทอก กระทอกม้า (ราชบุรี, กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), กระเดาะ (สงขลา), กระเดาะฮาญิง (มลายู-นราธิวาส), นางจุม นางชม (ภาคเหนือ), หมากควยเซียก (ไทลาว-อ.เมืองยาง นครราชสีมา), เครืออีทก ผักอีทก (ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อุดรธานี), จี่โก่ย (อ.มัญจาคีรี ขอนแก่น), ควยเซียก เครือหมกปลาค้อ (สกลนคร), เดาตัวะ (เขมร-อ.ท่าตูม สุรินทร์), กระดอ (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์) ต้นน้ำใจใคร่ (ผักอีทก) ในประเทศไทยพบขึ้นตามชายป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ หรือที

เปรียบเทียบความแตกต่าง มหาพรหม กับ มหาพรหมราชินี มีจุดแตกต่างกัน ยังไงบ้าง?

ความเหมือนที่แตกต่าง ของพรรณไม้วงศ์กระดังงา สกุลมหาพรหม ระหว่าง มหาพรหม กับ มหาพรหมราชินี แตกต่างกันอย่างไร? ชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะดอก แตกต่างกัน ... ต้นมหาพรหม และ ต้นมหาพรหมราชินี ความสับสนระหว่าง มหาพรหม กับ มหาพรหมราชินี สองพี่น้องฝาแฝดในสกุลเดียวกัน ที่มีรูปร่างลักษณะหน้าตาของดอกและใบคล้ายกันมาก แต่จริง ๆ แล้ว เป็นคนละชนิดกัน วันนี้จึงขอนำข้อมูลความแตกต่างกันระหว่างมหาพรหมทั้งสองชนิด ว่าแต่ละชนิดมีจุดจำแนกความแตกต่างกัน อยู่ที่ตรงไหน และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ความเหมือนที่แตกต่าง มหาพรหม และ มหาพรหมราชินี เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทย ที่อยู่ในวงศ์กระดังงา (Family Annonaceae) และอยู่ในสกุลมหาพรหม (Genus Mitrephora ) เดียวกัน รายละเอียดเพิ่มเติม มหาพรหมทั้งสองจึงมีลักษณะทางสัณฐานวิทยา (morphology) หรือรูปทรงโดยรวมคล้ายคลึงกัน อาทิเช่น มีขนาดของลำต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-6 ม. มีใบเรียงสองข้างในระนาบเดียวกัน (distichous) ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม ดอกมีรูปทรงกระเช้า หรือ หมวก (mitreform) คือ มีกลีบดอก 6 กลีบเรียงเป็น 2 ชั้น ชั้

ต้นพริกกะเหรี่ยง ลักษณะเด่น ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีปลูกและดูแล โรคพริก เมล็ดพันธุ์?

ลักษณะเด่นของพริกกะเหรี่ยง มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สภาพอากาศและโรค - แมลง ลําต้นใหญ่แตกแขนงดีและให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นเวลานาน ทําเป็นพริกตากแห้งได้ดีโดยผลสด 3 กิโลกรัมจะตากแห้งได้1 - 1.3 กิโลกรัม มีความเผ็ด และกลิ่นหอม ซึ่งเป็นลักษณะประจําพันธุ์ของพริกกะเหรี่ยง โรงงานทาซอสพริกนิยมนำไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียวเพื่อเพิ่มความเผ็ด และความหอม พริกกะเหรี่ยง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens Linn. จัดเป็นพริกขี้หนูที่นิยมปลูกกันมากชนิดหนึ่ง โดยปลูกมากในจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า เช่น เพชรบุรีกาญจนบุรีตาก และแม่ฮ่องสอน พริกกะเหรี่ยง เป็นพริกพื้นเมืองที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวได้ดีมีอายุเก็บเกี่ยว 7 - 8 เดือน มีเอกลักษณ์เฉพาะด้านรูปร่างและสีผิว มีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ดสูง และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจาพันธุ์ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นซอสพริก รายละเอียดเพิ่มเติม การเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า 1. เลือกต้นพริกที่แข็งแรงสมบูรณ์ทนทานต่อโรคและแมลง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้