เอื้องชะนี ออกดอกช่วงเดือนไหน ลักษณะ กล้วยไม้ป่าดอกหอม?
เอื้องชะนี คืออะไร
เอื้องชะนี คือ กล้วยไม้ป่าที่มีลักษณะเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีจุดเด่นอยู่ที่ดอกสีเหลืองเข้ม สวยงามมาก และดอกมีกลิ่นหอม ลำมีขนสีขาวดูคล้ายขนชะนี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ กล้วยไม้ดอกหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์
เอื้องชะนี มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Dendrobium senile C.S.P.Parish & Rchb.f. เป็นกล้วยไม้ที่จัดอยู่ในสกุลหวาย (Genus: Dendrobium) ซึ่งอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Family: Orchidaceae)
เอื้องชะนี ยังมีชื่อท้องถิ่น ชื่ออื่นอีก คือ เอื้องมือชะนี, มือชะนี, เอื้องนางชะนี, เอื้องอีฮุย, ขนค่าง, เอื้องมือค่าง, เอื้องนางนี, เอื้องขนค่าง
ชื่อพ้อง (Synonyms) คือ Callista senilis (C.S.P.Parish & Rchb.f.) Kuntze
การกระจายพันธุ์
เอื้องชะนี มีการกระจายพันธุ์ ในทวีปเอเชีย ไทย พม่า และลาว
แหล่งที่พบในประเทศไทย พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เลย และภาคใต้ เช่น ระนอง ที่ระดับความสูง 500 - 1,600 เมตร
ลักษณะพรรณไม้
เอื้องชะนี จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้อิงอาศัย ระบบรากเป็นรากกึ่งอากาศ (Semi - epiphytic)
ลำลูกกล้วย เอื้องชะนี มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมมี สีเขียวเทา ลำมีขนสีขาวขึ้นตามกาบใบทั่วลำลูกกล้วย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.5 ซม. ยาว 8 - 15 ซม. ห้อยลงแนบกับเปลือกไม้ มีการเจริญเติบโตทางข้าง (Sympodial)
ใบเอื้องชะนี มีลักษณะเป็นรูปรีแกมขอบขนาน สีเขียวอ่อนแผ่ใบบางอ่อนมีขนขึ้น กว้าง 1.2 - 1.5 ซม. ยาว 5 - 8 ซม. มีใบจำนวน 5 -10 ใบต่อ ลำลูกกล้วย
ช่อดอกเอื้องชะนี ออกตามข้อสั้น ยาว 1 - 2 ซม. อาจจะมีหลายช่อใน 1 ลำลูกกล้วย
ดอกจะมีสีเหลืองเข้ม กลีบเป็นมัน 1 ช่อมี 1-2 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีเหลือง ส่วนกลีบปากแผ่ 5 เป็นรูปหัวใจปลายกลีบแหลม โคนคอมีลายเส้นสีน้ำตาล ดอกบานเต็มที่กว้าง 4 - 5 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมแรง
ออกดอกช่วงเดือนไหน?
ดอกเอื้องชะนี ออกดอกช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม