ต้นแววตา Thunbergia alata ลักษณะ วิธีปลูก ไม้เลื้อยดอกสวย?
ต้นแววตา
แววตา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia alata Bojer ex Sims อยู่ในวงศ์ Acanthaceae
ข้อมูลทั่วไป ถิ่นอาศัย, แหล่งที่พบ
ถิ่นกําเนิด : ทวีปแอฟริกาตอนใต้
วิธีการปลูกเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์
ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ แต่จะเจริญเติบโตได้ดี และติดเมล็ดในสภาพอากาศที่เย็น และชุ่มชื้นบนพื้นที่สูงมากกว่า 700 เมตร โดยจะเลื้อยปกคลุมพืชชนิดอื่นได้อย่างรวดเร็ว และหนาแน่นมาก จนขาดแสงแดดและตายลง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลักษณะอยู่อาศัย : ไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ยาวได้ถึง 10 เมตร
- ลักษณะลำต้น : กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม มีขนสั้น
- ใบ : ใบเรียงตรงกันข้าม ลักษณะใกล้เคียงต้นรางจืด แต่มีใบและดอกที่เล็กกว่า ใบรูปไข่-รูปเงี่ยงหอก ยาว 3-7 เซนติเมตร มีขนสากทั้งสองด้าน
- ดอก : ดอกสีเหลือง-ส้ม มี 5 กลีบ กลีบดอกขนาดเท่ากัน ด้านในหลอดกลีบดอกสีม่วงอมนํ้าตาล (ซึ่งจะแตกต่างกับ นํ้าแน่ดง Thunbergia hossei ที่เป็นพืชป่าจะมีขนาดของกลีบดอกทั้ง 5 กลีบไม่เท่ากัน และด้านในหลอดไม่มีสีม่วง)
ที่มา: เอกสารเผยแพร่; พืชต่างถิ่นที่ถูกรุกรานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (Invasive
Plants in Protected Area)