Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Toxocarpus villosus (Blume) Decne. จัดเป็นพืชในสกุล Toxocarpus อยู่ในวงศ์โมก (Apocynaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Secamone villosa Blume

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า เถาวัลย์แดง (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นไม้: เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ สรรพคุณ

ต้นเถาวัลย์แดง ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า อบเชยเถา (กรุงเทพฯ), เถาวัลย์แดง (ราชบุรี), เครือซุด (เลย), เครือมะแตก (ภาคเหนือ), เครือไซสง เครือไพสง เครือไพสงแดง (ร้อยเอ็ด, ขอนแก่น) และมีชื่อทางการค้าว่า "โสรยา"

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นเครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ในประเทศไทยพบขึ้นตามที่รกร้าง โล่งแจ้ง หรือตามชายป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของเครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) พบกระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย ต่างประเทศพบในจีนตอนใต้ เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา คาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตรา และชวา

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ออกดอกเดือนไหน

ดอกเครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนกันยายน-มกราคม ผลแก่ช่วงธันวาคม-เมษายน

ต้นไม้: เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ สรรพคุณ

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) มีลักษณะค่อนข้างคล้ายกับ เครือซูด, เครือปลาสงแดง (Ichnocarpus frutescens) แตกต่างกันที่เครือไพสงแดงมีใบที่กว้างกว่า ดอกมีสีเหลือง กลีบดอกไม่บิดงอ และไม่มีขนหยิกงอแบบเครือซูด

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง)

  • ลักษณะวิสัย: ไม้เลื้อยล้มลุก อายุหลายปี ยาว 3-10 ม.
  • ลำต้น: ทุกส่วนเมื่อเกิดแผลจะมีน้ำยางสีขาวขุ่น ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสั้นสีสนิมหนาแน่น
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรีกว้าง ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลมหรือหยักคอดเป็นติ่งสั้น โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนสีสนิม เนื้อใบหนา เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกันชัดเจน-ไม่ชัดก้านใบ ยาว 1-1.5 ซม.
  • ดอก: ช่อดอกแบบแยกแขนง ยาว 4-10 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปใบหอก ยาว 3 มม. กลีบดอกด้านในสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น สีขาว ยาว 3-5 มม. กว้าง 4 มม. ปลายแยก 5 แฉก รูปใบหอก ยาว 0.8-1 ซม. ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบไม่มีขน ที่โคนกลีบมีขนยาว กลีบบิดเวียนซ้าย
  • ผล: ผลเป็นฝักคู่หรือเดียว รูปทรงกระบอก ยาว 10-18 ซม. กว้าง 1 ซม. ปลายเรียวแหลม มีขนสั้นหนาแน่น ฝักแก่แห้งแตก
  • เมล็ด: มีเมล็ดจำนวนมาก รูปแถบ ยาว 1 ซม. ที่ปลายด้านหนึ่งมีพู่ขนสีขาว ยาว 2 ซม.

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของเครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง) สามารถนำมาเป็นสมุนไพร ยางทารักษาแผลที่ริมฝีปาก แผลภายในช่องปาก เถาเข้ายาอื่นๆ ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ และ เถาใช้สานตะกร้า เป็นเชือกมัดสิ่งของ หรือมัดฟืน

ที่มา : มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม