Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: แสงระวี (แสงแดงน้อย) ไม้ดอกพื้นเมืองไทย ลักษณะ?

ข้อมูล ต้นแสงระวี ชื่อวิทยาศาสตร์ Colquhounia elegans วงศ์ Lamiaceae เป็นไม้ไทย ลักษณะ ไม้พุ่ม ดอกสีแดง ประโยชน์ ไม้ดอกไม้ประดับ, การปลูกต้นแสงระวี ต้องการอากาศเย็นในเวลากลางคืน

แสงระวี

แสงระวี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colquhounia elegans Wall. ex Benth. อยู่ในวงศ์ Lamiaceae มีชื่ออื่น คือ แสงแดงน้อย

ข้อมูลทั่วไป ถิ่นอาศัย, แหล่งที่พบ

ถิ่นอาศัย ขึ้นตามชายป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และที่โล่งบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 700-2,000 เมตร แหล่งที่พบ กระจายพันธุ์ตั้งแต่ พม่า จีน ลาว กัมพูชา และเวียดนาม 

ข้อมูล ต้นแสงระวี (แสงแดงน้อย) วิธีปลูก, ดูแล, ประโยชน์

ในไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับสถานภาพในไทย ยังพบได้บ่อยในป่าอนุรักษ์หลายพื้นที่

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลักษณะอยู่อาศัย : ไม้พุ่ม
  • ลักษณะลำต้น : ลำต้นสูง 1-3 เมตร บางครั้งทอดนอน กิ่งก้านมีขนสีสนิมปกคลุม
  • ใบ : ใบเดี่ยว รูปรี ขนาด 2-4x4.5-8.5 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่มกว้าง ขอบหยักมนเป็นติ่งแหลม
  • แผ่นใบ : แผ่นใบด้านล่างมีขนหยาบแข็ง ด้านบนผิวใบหยิกย่น
  • ใบประดับ : ใบประดับคล้ายใบมีก้านสั้น รูปไข่ ยาว 2-3 เซนติเมตร ใบประดับย่อย ยาว 2-3 มิลลิเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อกระจุกรอบ
  • กลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 6-9 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
  • กลีบดอก : กลีบดอกรูปปากเปิด สีเหลือง หรือสีแดง ยาว 2.5-2.8 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบปากบน ตรง รูปขอบขนาน ปลายมน หรือเว้าตื้น กลีบปากล่าง แยกเป็น 3 กลีบ รูปไข่ ขนาดไม่เท่ากัน
  • เกสรเพศผู้ : เกสรเพศผู้มีสองคู่ยาวไม่เท่ากัน
  • เกสรเพศเมีย : รังไข่เกลี้ยง ก้านชูยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก
  • ผล : ผลแห้งเปลือกแข็งเมล็ดล่อน

วิธีการปลูกเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์

  • วิธีการปลูก : ลักษณะแวดล้อมที่เติบโตได้ดี ใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตุสูง ระบายน้ำดีและต้องการอากาศเย็นในเวลากลางคืน
  • การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
  • ประโยชน์ : มีศักยภาพพัฒนาเป็นไม้ประดับ

แหล่งอ้างอิง

  • สถานที่เก็บตัวอย่าง/บันทึกภาพ: ดอยอ่างขาง จังหวัด เชียงใหม่
  • เอกสารอ้างอิง: X. Li and I.C. Hedge. 1994. Lamiaceae. Flora of China. 17: 50-299.

ที่มา: Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization)

รายละเอียดเพิ่มเติม