Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: 'กุหลาบเลื้อยเชียงดาว, กุหลาบเวียงเหนือ, ศรีจันทรา?

กุหลาบเวียงเหนือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rosa helenae Rehder & E.H.Wilson,(1915) อยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่ออื่น คือ กุหลาบเลื้อยเชียงดาว, ศรีจันทรา

กุหลาบเวียงเหนือ

ถิ่นอาศัย ขึ้นตามป่าเปิดบนเขาหินปูน ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร แหล่งที่พบการกระจายพันธุ์ จีนตอนใต้ และเวียดนามเหนือ 

กุหลาบเวียงเหนือ Rosa helenae ประโยชน์, การปลูก

ในไทยพบทางภาคเหนือ ที่ดอยเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ สำหรับสถานภาพในไทย เป็นพืชหายาก ยังพบได้บนพื้นที่ระดับสูงของดอยเชียงดาว แต่ประชากรถูกคุมคามจากไฟป่า

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลักษณะอยู่อาศัย : ไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวได้ถึง 10 เมตร
  • ลักษณะลำต้น : ลำต้นและกิ่งมีหนามเป็นตะขอแข็ง
  • ใบ : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มี 5-9 ใบย่อย รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว 2.5-4.5 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนกลมหรือรูปลิ่มกว้าง ขอบจักฟันเลื่อย หูใบแนบติดกับก้านใบ ขอบมีขนต่อม
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่น ที่ปลายกิ่ง ยาว 3-4 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1.5-3 เซนติเมตร ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3.5 เซนติเมตร ฐานรองดอกรูปไข่
  • กลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลมยาว ขอบจักไม่เป็นระเบียบ
  • กลีบดอก : กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับ เรียงซ้อนเหลื่อม ปลายกลีบเว้า
  • เกสรเพศผู้ : เกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดบนจานฐานดอก
  • เกสรเพศเมีย : รังไข่เหนือวงกลีบ มีคาร์เพลจำนวนมาก แยกกัน ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวเท่าๆ
  • ผล : ผลคล้ายผลสด ฐานรองดอกเจริญหุ้มผล รูปรีหรือรูปไข่ กลีบเลี้ยงพับงอ
  • เมล็ด : เมล็ดจำนวนมาก

วิธีการปลูกเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์

  • วิธีการปลูก : ลักษณะแวดล้อมที่เติบโตได้ดี ควรใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตถุสูง ความชื้นสม่ำเสมอ แดดจัดและอากาศเย็น
  • วิธีการขยายพันธุ์ : ปักชำ เพาะเมล็ด
  • ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับให้ดอกสวยงาม ใช้เป็นต้นตอ และปรับปรุงพันธุ์

กุหลาบเวียงเหนือ Rosa helenae ประโยชน์, การปลูก

แหล่งอ้างอิง

  • สถานที่เก็บตัวอย่าง/บันทึกภาพ : ดอยเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่
  • ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้. 2540. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์. โรงพิมพ์ประชาชน จำกัด องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2544.
  • พรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์
  • T. Smitinand and K. Larsen. 1970. Flora of Thailand. 2 (1). Chutima Press, Bangkok.

ที่มา : Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization)

รายละเอียดเพิ่มเติม