Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จากต้นไม้ดอกหอม ดอกไม้หอม?

พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทยมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วประเทศ การอนุรักษ์โดยหน่วยงานของรัฐบาลเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องคนไทยทั่วประเทศคงจะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน อีกทั้งการอนุรักษ์ในพื้นที่ถิ่นกำเนิดต้องเสี่ยงกับปัญหาคุกคามรอบด้าน ...

การใช้ประโยชน์ จากต้นไม้ดอกหอม

ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า อุทกภัย วาตภัย ธรณีพิบัติภัยและปัญหาจากการทำลายของมนุษย์ บทเรียนนับแต่อดีตถึงปัจจุบันได้สอนและตอกย้ำให้รู้ว่า พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองได้สูญพันธุ์ไปจากถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติแล้วหลายชนิด เช่น รวงผึ้งและปาล์มเจ้าเมืองตรัง 

ลักษณะของพรรณไม้ดอกหอมในประเทศไทย การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์

แต่ยังนับว่าโชคดีที่บรรพบุรุษไทยได้นำต้นรวงผึ้งและต้นปาล์มเจ้าเมืองตรงมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์นอกถิ่นกำเนิด จึงช่วยให้มีชีวิตรอดมาจนถึงวันนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

พรรณไม้ดอกหอม เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่บรรพบุรุษไทยได้อนุรักษ์เพื่อมอบให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน ควรที่พวกเราจักได้ภาคภูมิใจและร่วมมือกันอนุรักษ์พัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้อยู่คู่แผ่นดินไทยสืบไป

"ไม้ดอกหอม" หมายถึง พรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีต่อมน้ำหอม ทำหน้าที่ผลิตสารหอมระเหยอยู่ภายใน ซึ่งส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายได้แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด อีกทั้งระดับความหอมก็มีทั้งที่หอมมาก หอมน้อย และหอมอ่อนๆ นอกจากนี้ยังมีช่วงเวลาในการส่งกลิ่นหอมไม่ตรงกัน

ไม้ดอกหอมบางชนิดส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา ทั้งกลางวัน และกลางคืน หลายชนิดส่งกลิ่นหอมเฉพาะบางช่วงเวลา เช่น เมื่อเริ่มแย้มในช่วงพลบค่ำ หรือในยามดึก เช้าตรู่ ช่วงสาย ยามบ่าย จนถึงช่วงเย็น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญ จนกลายเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ผู้ที่รัก และชื่นชมไม่คอกหอมใฝ่หามาปลูกเลี้ยงกันมากนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

และถ้าไม้ดอกหอมเหล่านั้นมีรูปร่างสวยงาม หรือมีสีสันเด่นสะดุดตาด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มเสน่ห์มากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ส่วนใหญ่ดอกไม้ที่เป็นแหล่งความหอมมักมีกลีบดอกสีขาว หรือสีอ่อนๆ ดอกบานในช่วงกลางคืน ส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืน ต่างกับดอกไม้ที่ไร้กลิ่นหอม และบานในช่วงกลางวัน ที่มักมีสีสันรูปร่างเด่นสะดุดตา

หากมองย้อนลงไปในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้เป็นตำรา หรือปรากฏอยู่ในวรรณคดีที่มีการประพันธ์ไว้ในสมัยต่างๆ จะพบว่าไม้ดอกหอมได้รับความนิยมมาโดยตลอด ดังเช่นใน สมัยสุโขทัย จากไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงไม้ดอกหอมบางชนิดที่รู้จักกันในสมัยนี้ เช่น จำปี พุด ลำดวน

และ ในตำรายาไทยยังได้กล่าวถึง เกสรทั้งห้า เกสรทั้งเจ็ด และเกสรทั้งเก้า ซึ่งก็มาจากเกสรของไม้ดอกหอมหลายชนิด ได้แก่ มะลิ พิกุล สารภี บุนนาค บัวหลวง จำปา กระดังงา ลำควน และลำเจียก ซึ่งถือได้ว่า เป็นไม้ไทยที่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย หรือกระจายพันธุ์มาจากประเทศใกล้เคียง

ลักษณะของพรรณไม้ดอกหอม

พรรณไม้ดอกหอมที่มีการปลูกกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตามบันทึกดังกล่าว จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นที่มีการคัดเลือกมาจากป่า มีอายุยืนเมื่อปลูกครั้งเดียวก็สามารถใช้เป็นไม้ประดับไปได้เป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากเป็นไม้ไทยพื้นเมือง เมื่อนำมาปลูกแล้วสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพถิ่นที่ปลูกใหม่ได้เป็นอย่างดี มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง แต่อย่างใด

ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อกับสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เริ่มมีการนำพรรณไม้ดอกหอมจากต่างประเทศเข้ามาปลูกกันมาก จะพบว่าลักษณะของพรรณไม้ดอกหอมมีความหลากหลายมากขึ้น มีทั้งชนิดที่เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย และพรรณไม้น้ำหลายชนิด

ยิ่งในยุคปัจจุบันด้วยแล้ว ลักษณะของพรรณไม้ดอกหอมก็ยิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น รวมทั้งไม้ล้มลุกหลายชนิดที่กำลังได้รับความนิยม มีพันธุ์ลูกผสมที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จำนวนมาก โดยบางชนิดมีการปลูกกันจำนวนมากจนกลายเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ และบัว เป็นต้น

พรรณไม้ดอกหอม สามารถแบ่งออกตามลักษณะของพรรณไม้ ได้ดังนี้

1. ไม้ล้มลุกดอกหอม

ไม้ล้มลุกดอกหอม หมายถึงพรรณไม้ที่มีอายุตั้งแต่ 4-12 เดือน เมื่อออกดอกแล้วก็มักจะตาย เช่น บานเย็น หงอนไก่ ทานตะวัน ดาวเรือง ผกากรอง นอกจากนี้ยังมีไม้กึ่งล้มลุกกึ่งยืนต้น มีอายุเกินกว่า 2 ปี ซึ่งให้ดอกได้หลายรอบ เช่น บัว กาหลา พลับพลึง กุหลาบ พุทธรักษา ซ่อนกลิ่น มหาหงส์ การะเกด รักเร่ เป็นต้น

2. ไม้พุ่มดอกหอม

ไม้พุ่มดอกหอม หมายถึงต้นไม้ยืนต้นมีอายุนานหลายปี ขนาดพุ่มมีหลายขนาด และสามารถออกดอกได้หลายรอบ แบ่งออกเป็นไม้พุ่มต่ำและไม้พุ่มกลาง มีความสูงตั้งแต่ 3-6 เมตร ดังนี้

  • ไม้พุ่มต่ำ ได้แก่ นางแย้ม นมสวรรค์ มะลิลา มะลิซ้อน พุดลา พุดจีบ พุดซ้อน ปาหนัน มณฑา เป็นต้น
  • ไม้พุ่มกลาง ได้แก่ กรรณิการ์ จำปี จำปา กาหลง ลั่นทม ชงโค ลำดวน บุหงา นมแมวสุพรรณิการ์ โยทะกา ประยงค์ เป็นต้น

3. ไม้เลื้อยดอกหอม

ไม้เลื้อยดอกหอม หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไม้เถา หมายถึง พรรณไม้ที่ต้องอาศัยเกาะไปตามรั้วซุ้ม ต้นไม้ใหญ่ ศาลา ไม้เถาเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นไม่แข็งแรงพอที่จะทรงตัวตั้งเหมือนไม้ต้นได้ จะต้องพึ่งพาแอบอิงต้นไม้หรือสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง หรือเลื้อยไต่พันไปตามสิ่งที่เราจัดเตรียมไว้ เช่น ซุ้ม หลักรั้ว เป็นต้น ไม้เถามีมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไม้เลื้อยเถาใหญ่ เถากลาง หรือเถาเล็ก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

  • ไม้เถาล้มลุก คือ พรรณไม้ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี เมื่อออกดอกแล้วไม่นานก็จะตาย เช่น ขจร ดอกผึ้ง ฯลฯ
  • ไม้เถายืนต้น คือพรรณไม้ที่มีอายุอยู่ได้หลายปี ลักษณะเถาจะเหมือนลำต้นที่แข็งแรง คือมีเถาใหญ่ และมีมือจับที่เหนียวเลื้อยไปได้ไกล เช่น การเวก นมตำเลีย เล็บมือนาง ฯลฯ

4. ไม้ยืนต้นดอกหอม

ไม้ยืนต้นดอกหอม หมายถึงพรรณไม้ใหญ่ที่ทำหน้าที่ให้ร่มเงา สร้างความรื่นรมย์ ผ่อนคลาย หลายชนิดให้ดอกสวยงามมากมีกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป เช่น นนทรี ตะแบก ประดู่ เป็นต้น
  • ไม้ต้นขนาดกลาง มีความสูงตั้งแต่ 5-15 เมตร เช่น ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ ชงโค

5. ไม้น้ำดอกหอม

ไม้น้ำดอกหอม รวมหมายถึง พืชใต้น้ำ พืชโผล่เหนือน้ำ พืชลอยน้ำ และพืชชายน้ำ ซึ่งสามมารถแบ่ง ได้ 3 ประเภทใหญ่ ดังนี้

  • พืชลอยน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีทั้งประเภทลำต้นทอดยาวไปตามผิวน้ำ และลำต้นที่โผล่ขึ้นมาจากใต้น้ำรวมกันเป็นกอ และแตกใบเหนือน้ำ ใต้กอมีรากฝอย เป็นกลุ่มใหญ่รวมตัวกันเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ เช่น ผักตบชวา กระจับ ฯลฯ
  • พืชโผล่เหนือน้ำ หมายถึง พืชที่มีเหง้า หรือไหลอยู่ใต้ดิน และมีก้านใบยาวโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เช่น บัวต่างๆ
  • พืชชายน้ำ หมายถึง ไม้ชายน้ำ ที่สามารถขึ้นตามพื้นดิน บนบกก็ได้ อยู่ริมน้ำก็ได้ หรือพื้นที่น้ำท่วม น้ำขังก็ได้ เช่น พุทธรักษา โมก พลับพลึง เป็นต้น

6. ไม้คลุมดิน

ไม้คลุมดิน หมายถึง ไม้พุ่มที่มีทั้งไม้ดอกและไม้ใบรวมกัน ลักษณะเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้น หรือใบคลุมผิวดิน มีความสูงไม่เกิน 1 ฟุต บางชนิดมีต้นทอดเลื้อยคลุมดิน บางชนิดขึ้นเป็นพุ่ม บางชนิดขึ้นเป็นกอ ได้แก่ หนวดปลาดุก เทียนทอง คุณนายตื่นสาย แววมยุรา ระฆังทอง ฯลฯ

อ้างอิง : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

รายละเอียดเพิ่มเติม