Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้น'โมกหลวง (โมกใหญ่) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร ไม้ดอกหอมไทย?

โมกหลวง มีชื่อทางการ ว่า "โมกใหญ่" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น 

อีกหลายชื่อ เช่น โมกเขา, โมกทุ่ง, มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, พุด, พุทธรักษา, ยางพูด, ส่าตึ, หนามเนื้อ เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ

  • โมกหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don
  • อยู่ในวงศ์ Apocynaceae
  • มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Mok Laung
  • ชื่อพ้อง (Synonyms) : Holarrhena antidysenterica (L.) Wall. ex A.DC.

โมกหลวง (โมกใหญ่)

ต้นโมกหลวง (โมกใหญ่) ไม้ดอกหอมไทย Holarrhena-pubescens

พบในแอฟริกาถึงอินเดีย เนปาล บังกลาเทศ พม่า จีน และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทย พบตามป่าผลัดใบ ป่าทุ่งหญ้า ป่าชายหาด หรือชายป่าดงดิบที่เป็นดินลูกรังหรือดินปนทราย ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,100 ม. ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ ลงไปถึงจังหวัดตรัง และ สุราษฎร์ธานี

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นโมกหลวง มีลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบ ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูง 15 เมตรลำต้นสีเทาขาว เปลือกเรียบ-เป็นสะเก็ดหนาเล็กน้อยและมีช่องอากาศหนาแน่น ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวขุ่น มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบ ช่อดอก และกลีบเลี้ยงด้านนอก

ใบโมกหลวง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนและปลายแหลมหรือแหลมยาว ท้องใบมีขนนุ่ม ใบอ่อนมีขนปกคลุมมาก แผ่นใบบาง มีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง ใบยาว 10-27 เซนติเมตร กว้าง 4-12 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ เส้นใบ 10-16 คู่ เส้นกลางใบและเส้นใบมองเห็นชัดเจน เส้นใบสีเหลือง ก้านใบยาว 0.2-0.6 เซนติเมตร ใบร่วงง่าย

ต้นโมกหลวง

ดอกโมกหลวง ออกดอกเป็นช่อกระจุก ออกใกล้ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ แต่ละช่อมีหลายดอก ช่อดอกยาวประมาณ 4-11 เซนติเมตร ดอกขนาด 2.5-3.5 เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน บางครั้งจะมีแต้มสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม

ก้านช่อยาว 0.6-1.7 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยลง กลีบดอก มี 5 กลีบ โคนเชื่อมเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาว 9-11.5 มิลลิเมตร กลีบดอก เรียงซ้อนเหลื่อมกัน เวียนซ้าย ผิวด้านนอกมีขนสีขาว

ดอกโมกหลวง

เกสรเพศผู้มี 5 อัน เชื่อมกับหลอดกลีบดอก ก้านชูเกสรสั้น มีขน ที่ฐาน อับเรณูแคบแหลม เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ มี 2 ห้อง แยกกัน ยอดเกสรเชื่อมกัน

ก้านเกสรตัวเมีย 1.8-2.5 เซนติเมตร ไม่มีหมอนรองดอก กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ ขนาด 2-4 มิลลิเมตร แคบและแหลม มีต่อมประปราย โคนเชื่อมกันเล็กน้อย ปลายแยก มีขนสีขาว

ผลโมกหลวง ผล เป็นฝักยาวออกเป็นคู่ ขนาดกว้าง 0.3-0.8 เซนติเมตร ยาว 18-43 เซนติเมตร รูปกระบอกแคบ ห้อยเป็นคู่โค้ง มีช่องอากาศกระจาย แตกตามยาวเป็นตะเข็บเดียว ปลายฝักแหลม โคนฝักแบน

เมล็ดโมกหลวง เมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีพู่ขนติดที่ปลายด้านหนึ่ง

ฝักแก่ ฝักโมกหลวง

ประโยชน์ โมกหลวง สรรพคุณ ทางสมุนไพร

ชื่อสมุนไพร โมกหลวง ส่วนที่ใช้ทำยา เปลือกต้น

สรรพคุณของแต่ละส่วนที่ใช้ทำยา เปลือกต้น รสขมร้อนฝาดเมา แก้บิดมูกเลือด รู้ปิดธาตุแก้เสมหะเป็นพิษ บำรุงธาตุแก้ไข้จับสั่น

รายงานการวิจัยในปัจจุบัน สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในลำไส้สาร alkaloids จากเปลือกต้นและ เมล็ดมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและระงับอาการท้องร่วง

สารสำคัญ เปลือกต้นโมกหลวงมีสารสำคัญคือ conessine และสารประกอบ steroidal alkaloids อื่นอีกหลายชนิด

เปลือกต้นโมกหลวง

สรรพคุณ โมกหลวง

  • เปลือกและใบ : รักษาโรคหิต
  • เนื้อไม้ : แก้ไข้มาลาเรีย
  • ตำรับ ยาไข้กำเดาใหญ่ แก้ไข้กำเดาใหญ่

รายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีปลูก โมกหลวง และการขยายพันธุ์

พื้นที่เหมาะสมในการปลูกต้นโมกหลวง ในประเทศไทย พื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ทุกจังหวัดของประเทศไทย

การคัดเลือกพันธุ์ (โมกหลวง พันธุ์ต่าง ๆ ที่นิยมปลูกในประเทศไทย) พันธุ์ที่ใช้เป็นยา พันธุ์พื้นบ้านทั่วไป

การขยายพันธุ์โมกหลวง

โมกหลวง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดโมกหลวงจะมีฝักเมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดมีขนปุยปลิวตามลมได้นำเมล็ด มาเพาะในกระบะเพาะชำก่อน เมื้อต้นมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร จึงแยกลงถุงเพาะชำที่มีดินผสมอยู่ นำไปไว้ใน เรือนเพาะชำ และรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ประมาณ 10 – 12 เดือน จึงนำลงปลูกต่อไป

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก ปลูกได้ทุกฤดูกาล แต่นิยมปลูกฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม

การเตรียมดิน โดยการขุดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้ากับดินก้นหลมุ ควรปลูกห่างกัน 4 - 5 เมตร

วิธีปลูก โมกหลวง

วิธีปลูกต้นโมกหลวง ควรปลูกกลางแจ้ง เมื่อเตรียมหลุมเรียบร้อยแล้ว นำต้นโมกหลวงลงปลูกกลบดินปักไม้พยุงต้นผูกเชือก และรดน้ำ ให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

การดูแล ต้นโมกหลวง

  • การให้ปุ๋ย เมื่อปลูกได้ 30 วัน ก็ทำการพรวนดินและใส่ปุ๋ย จะใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก
  • การให้น้ำ ถ้าปลูกฤดูฝนควรปล่อยตามธรรมชาติได้
  • การกำจัดวัชพืช ควรทำพร้อมกับการพรวนดินและใส่ปุ๋ย
  • การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูโมกหลวงเป็นไม้ป่าไม่ค่อยจะมีโรคและแมลงรบกวนมากนัก จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารฉีดพ่น เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรู

สมุนไพร เปลือกโมกหลวง

การเก็บเกี่ยวโมกหลวง แปรรูป เก็บรักษา

  • ฤดูกาลการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวได้ทุกฤดูกาล โมกหลวงใช้เปลือกทำยาจะต้องมีอายุ 5 – 7 ปีขึ้นไป
  • วิธีการเก็บเกี่ยว โดยการถากเปลือกส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น แล้วทาปูนแดง หรือปูนขาวป้องกันโรคเชื้อรา แล้วนำเปลือก เพื่อส่งแปรรูปต่อไป
  • การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อได้เปลือกโมกหลวงมาแล้ว นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และตากแดด 4 – 5 วัน จนแห้ง แล้วนำไปอบอีกครั้งจนแห้งสนิท
  • การบรรจุและการเก็บรักษา เมื่อได้เปลือกโมกหลวงแห้งมาแล้ว นำบรรจุใส่กระสอบโปร่ง ๆ หรือถุงปุ๋ย ใหม่ๆ เพื่อส่งจำหน่ายต่อไป หรือเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ

อ้างอิง

รายละเอียดเพิ่มเติม