Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓กล้วยไม้: เอื้องช้างสารภี Stiff Acampe กล้วยไม้ป่าดอกหอม?

ลักษณะเด่นของต้นกล้วยไม้ เอื้องสารภี คือ กล้วยไม้อิงอาศัย ดอกมีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอวบแข็ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหนาสีเหลือง และมีลายสีน้ำตาลแดงพาด กลีบปากส่วนโคน คล้ายเป็นถุงสั้น มีขนด้านใน กลีบปากส่วนปลาย สีขาวมีแต้มสีม่วงแดง

กล้วยไม้ป่า เอื้องสารภี

เอื้องสารภี ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Acampe praemorsa var. longepedunculata (อะแคมเป เพรมอร์ซ่า วาร์ ลองจีพีดุนคูลาต้า) เป็นกล้วยไม้ในสกุลอะแคมเป Acampe จัดอยู่ในวงศ์ Orchidaceae. 

ดอกเอื้องสารภี Acampe praemorsa var. longepedunculata กล้วยไม้
ภาพ: "ดอกเอื้องสารภี" จาก หอพรรณไม้ Forest Herbarium - BKF

เอื้องสารภี มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษว่า Stiff Acampe มีชื่ออื่น เช่น เอื้องเจ็ดปอย, เอื้องช้างสารภี, เอื้องดอกขาม, เอื้องตีนเต่า

รายละเอียดเพิ่มเติม

เอื้องสารภี เดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acampe rigida (Buch.-Ham. ex Sm.) P.F.Hunt แต่เมื่ออ้างอิงข้อมูลจาก Royal Botanic Gardens, Kew พบว่า ชื่อ Acampe rigidaนี้ เป็นชื่อพ้องของ Acampe praemorsa var. longepedunculata

ชื่อพ้อง Synonyms:

  • Acampe intermedia Rchb.f.
  • Acampe longifolia (Lindl.) Lindl.
  • Acampe multiflora (Lindl.) Lindl.
  • Acampe penangiana Ridl.
  • Acampe praemorsa var. rigida (Buch.-Ham. ex Sm.) Barbhuiya, D.Verma & Vik.Kumar
  • Acampe rigida (Buch.-Ham. ex Sm.) P.F.Hunt
  • Acampe taiwaniana S.S.Ying
  • Acampe wightiana var. longepedunculata Trimen
  • Aerides rigida Buch.-Ham. ex Sm.
  • Gastrochilus longifolius (Lindl.) Kuntze
  • Saccolabium longifolium (Lindl.) Hook.f.
  • Vanda longifolia Lindl.
  • Vanda multiflora Lindl.
  • Vanda viminea Guillaumin

ดอกเอื้องสารภี Acampe praemorsa var. longepedunculata กล้วยไม้
ภาพ: "ดอกเอื้องสารภี" จาก หอพรรณไม้ Forest Herbarium - BKF

ถิ่นกำเนิดของต้นกล้วยไม้ เอื้องสารภี การกระจายพันธุ์พบในประเทศจีน ไต้หวัน อัสสัม บังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย เนปาล ศรีลังกา เทือกเขาหิมาลัยตะวันตก กัมพูชา เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ระดับความสูง 400-800 ม.

ในไทยพบตามป่าดิบและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

รายละเอียดเพิ่มเติม