Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: ลักษณะบอนสี คำศัพท์ในวงการบอนสี ชื่อเรียกต่างๆ?

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบอนสี สกุล Caladium ชื่อเรียก คำศัพท์ในวงการบอนสี หัวบอนสี ลักษณะใบบอนสี ดอกบอนสี ลวดลายสีสันที่ปรากฏบนใบ ก้านใบ แต่ละสายพันธุ์ ...

ลักษณะบอนสี และ คำศัพท์บอนสี

บอนสีเป็นพืชล้มลุกที่ใบมีสีสันสวยงาม เป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุล Caladium วงศ์ ARACEAE 

ลักษณะบอนสี ชื่อเรียก คำศัพท์ในวงการบอนสี

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caladium bicolor บอนสีเป็นไม้หัวและเป็นพันธุ์ไม้ที่อวบน้ำ ดูดซึมและคายน้ำได้เร็ว บอนสีสามารถจำแนกทางพฤกษศาสตร์ได้ดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบอนสี

หัวบอนสี (TUBER)

หัวบอนสี มีลักษณะคล้ายหัวมันฝรั่ง หัวแห้ว หรือหัวเผือกเนื้อในละเอียดขาวนวล หรือขาวอมเหลืองอ่อน ที่หัวมีตาหรือเขียว เขียวจะแตกหน่อเพื่อนำมาขยายพันธุ์

นอกจากนั้นหัวบอนสียังเป็นแหล่งสะสมอาหารในช่วงหน้าแล้ง ในระยะที่บอนสีพักตัว ในช่วงฤดูหนาวใบบอนสีจะหลุดทิ้งไปป้องกันการสูญเสียน้ำจากใบ เมื่อ เข้าฤดูฝนหัวของบอนสีจะงอกราก สร้างต้นและใบใหม่

ราก (ROOT)

รากบอนสี จะเป็นรากฝอยที่งอกออกจากหัวด้านบนระหว่างรอยต่อของหัวบอนกับลำต้น

ลำต้น (STEM)

ลำต้นบอนสี จะอยู่ระหว่างส่วนของหัวกับกาบใบ ลำต้นจะมีความสั้นมาก จะมองเห็นเมื่อกาบใบแรกขึ้นและใบร่วงหลุดหลายใบจึงจะเห็นลำต้นบอน

ก้านใบ (TWIG)

ก้านใบบอนสี บริเวณเหนือจากกาบใบขึ้นไปจรดคอใบบอนก้านใบจะงอกจากหัวชใบเหนือพื้นดิน ก้านใบมีลักษณะอวบน้ำ ก้านใบจะมีสีดำ สีน้ำตาล สีเขียว ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ บางชนิดก้านใบมีการงอกของใบด้านข้างเป็นกาบใบ จึงเรียกว่า บอนใบกาบ

ใบบอนสี (LEAF)

ใบบอนสี มีลักษณะแผ่แบนกว้างคล้ายรูปหัวใจ เรียกว่า บอนใบไทย ใบบอนบางพันธุ์ใบมีลักษณะยาว กลม แหลม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ นอกจากนั้น สีของใบบอนมีตั้งแต่สีแดงจนแดงเข้ม แดงดำ เหลือง ชมพูขาวม่วง เขียว น้ำตาล

บนใบยังมีจุด เม็ด และมีป้ายที่เกิดจากสี สีหนึ่งบนใบบอนทับอยู่บางส่วนของใบ นอกจากนั้น ในวงการบอนสียังได้วาดรูปร่างใบบอนโดยละเอียด และได้กำหนดรูปร่างใบ และตั้งชื่อใบตามลักษณะต่างๆ 

ดอกบอนสี (FLOWER)

ดอกบอนสี เป็นดอกสมบูรณ์เพศประกอบด้วย ปลีดอก (spadix) และจานรองดอก(Spathe) มีดอกคล้ายกับดอกหน้าวัว ช่อดอกสั้น และตั้งตรงกว่าจานรองดอกเล็กน้อย

ช่อดอกมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน โดยมีเกสรตัวผู้อยู่ข้างบน เกสรตัวเมียอยู่โคนของดอก และมีกาบหุ้มแต่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียบานไม่พร้อมกัน จึงทำให้เกิดการผสมข้าม

ผล (Fruit)

ผลบอนสี มีลักษณะคล้ายผลน้อยหน่า ภายในช่องสำหรับบรรจุเมล็ดบอนสี 1 ผลจะมีเมล็ดประมาณ 200-500 เมล็ดเมล็ด (Seed) บอนสีจะมีสีน้ำตาลไหม้ขนาดเมล็ดเท่าเมล็ดงาหรือเมล็ดยาสูบ

การกำหนดคำศัพท์ในวงการบอนสี

นอกจากที่กล่าวแล้วข้างต้น ในวงการบอนสีตั้งแต่ พ.ศ.2475 มีการกำหนดศัพท์ของวงการบอนสีที่ใช้เรียกสิ่งที่ปรากฏบนใบ ก้านใบ เพื่อใช้เป็นการบันทึกรายละเอียดของแต่ละสายพันธุ์ ดังนี้

  • แผ่นใบ : ใบ
  • ก้านใบ : ลักษณะรวมๆ ของก้านใบ รวมทั้งเสี้ยน สาแหรก สะพานหน้า สะพานหลัง
  • สะดือ : จุดที่เส้นใบมาจรดกัน
  • กระดูก : บริเวณเส้นกลางใบ
  • เม็ด : จุดต่างๆ ที่เกิดบนใบ
  • กาบ : ส่วนหนึ่งของโคนติดหัวบอน จะไม่กลมเหมือนก้านมีลักษณะคล้ายกาบกล้วย กาบเป็นที่พักของใบอ่อน
  • เสี้ยน : ลักษณะเป็นเส้น ขีดเล็กๆ ยาวบ้างสั้นบ้าง มีอยู่ทั่วไปทั้งก้านใบ 
  • หู : ส่วนของใบ ด้านหนึ่งจะแยกออกจากช่วงท้ายของใบมีลักษณะเล็กเข้ามาหาสะดือ มากบ้างน้อยบ้าง จะยาวหรือสั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ของบอนสี
  • สาแหรก : เส้นเล็กๆ ที่มีสีผิดกับสีของก้าน ปรากฏอยู่บริเวณโคนก้าน
  • สะพานหน้า : เส้นบนก้านเป็นเส้นต่อจากกาบใบจรดคอใบ จะปรากฏอยู่ส่วนหน้าของก้านใบ
  • สะพานหลัง : เส้นที่ต่อจากส่วนหลังของก้านใบจรดคอใบ จะปรากฏอยู่ส่วนหลังของก้าน
  • คอใบ : บริเวณช่วงปลายของก้านใบที่จรดกับหลังสะดือใบ
  • กระดูก : เส้นที่ลากจากสะดือใบหรือต่อจากก้านเป็นเส้นแกนกลางของใบไปจรดปลายใบ
  • เส้น : เส้นใบที่แยกจากกระดูกหรือแกนกลางของใบ
  • เม็ด : จุดหรือแต้มสีบนใบ ส่วนมากจะมีสีแตกต่างกับสีของพื้นใบ เม็ดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์บอน
  • เม็ดลอย : เม็ดที่มองเห็นได้ชัดเจนกระจายทั่วไป
  • เม็ดจม : เม็ดที่ปรากฏลึกลงไป มีสีกลมกลืนกับพื้นใบและเห็นไม่ชัดเจน
  • เม็ดใหญ่ : จุดใหญ่ๆ อาจเป็นจุดที่เป็นสีหรือจุดขาว ปรากฏกระจายอยู่บนใบ
  • เม็ดเล็ก : จุดเล็กๆ กระจายทั่วไป
  • เม็ดใหญ่พร่า : จุดใหญ่ๆ ขนาดเดียวกับเม็ดใหญ่ ปรากฏอยู่บนพื้นใบแต่สีจางกว่า
  • เม็ดกลม : จุดกลม ๆ บนพื้นใบ สีอาจแตกต่างกันแล้วแต่พันธุ์
  • เม็ดถี่ : เป็นเม็ดใหญ่ เม็ดใหญ่พร่า หรือเม็ดกลม สีต่างกันไปปรากฏให้เห็นห่างๆ
  • หนุนทราย : สีที่แตกต่างจากพื้นใบ ลักษณะคล้ายเม็ดทรายเล็ก มองเห็นได้จางๆ
  • วิ่งพร่า : สิ่งที่มองเห็นเป็นเม็ดเล็กๆ แผ่ขยายออกไปจากกระดูก บางชนิดมีสีแตกต่างกับกระดูก บางชนิดมีสีเดียวกับกระดูก
  • ป้าย : สีอีกสีหนึ่งบนใบบอนซึ่งป้ายทับอยู่บางส่วนของสีพื้นใบ
  • ขอบใบ : ส่วนริมสุดโดยรอบขอบใบบางสายพันธุ์จะมีขอบใบเรียบหรือไม่เรียบแตกต่างกัน หรือขอบรอบใบหยิกยกเป็นลอน
  • หูใต้ใบ : ส่วนที่เป็นสิ่งเล็กๆ ยื่นออกมาใต้ใบบริเวณกระดูก
  • แข้ง : ส่วนที่ยื่นออกมาจากก้านมีลักษณะคล้ายใบเล็กๆ ปรากฏอยู่บริเวณส่วนกลางของก้าน จะพบในบอนใบกาบ

อ้างอิง : เอกสารวิชาการ เรื่อง "บอนสี" โดย นางอรวรรณ วิชัยลักษณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร พิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ.2548

รายละเอียดเพิ่มเติม