Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นพริกกะเหรี่ยง ลักษณะเด่น ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีปลูกและดูแล โรคพริก เมล็ดพันธุ์?

ลักษณะเด่นของพริกกะเหรี่ยง

  • มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สภาพอากาศและโรค - แมลง
  • ลําต้นใหญ่แตกแขนงดีและให้ผลผลิตติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ทําเป็นพริกตากแห้งได้ดีโดยผลสด 3 กิโลกรัมจะตากแห้งได้1 - 1.3 กิโลกรัม
  • มีความเผ็ด และกลิ่นหอม ซึ่งเป็นลักษณะประจําพันธุ์ของพริกกะเหรี่ยง
  • โรงงานทาซอสพริกนิยมนำไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียวเพื่อเพิ่มความเผ็ด และความหอม

พริกกะเหรี่ยง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens Linn. จัดเป็นพริกขี้หนูที่นิยมปลูกกันมากชนิดหนึ่ง โดยปลูกมากในจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-พม่า เช่น เพชรบุรีกาญจนบุรีตาก และแม่ฮ่องสอน

พริกกะเหรี่ยง

พริกกะเหรี่ยง เป็นพริกพื้นเมืองที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวได้ดีมีอายุเก็บเกี่ยว 7 - 8 เดือน มีเอกลักษณ์เฉพาะด้านรูปร่างและสีผิว มีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ดสูง และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งเป็นลักษณะเด่นประจาพันธุ์ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นซอสพริก

รายละเอียดเพิ่มเติม

การเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า

1. เลือกต้นพริกที่แข็งแรงสมบูรณ์ทนทานต่อโรคและแมลง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีติดผลดกให้ผลผลิตสูง ผลขนาดใหญ่ และอยู่ในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลในรุ่นที่ 2 หรือ 3

2. เก็บผลพริกที่เริ่มสุกหรือสุกสีแดงสดไม่มีโรคแมลงทําลาย แล้วแกะเมล็ด

3. นําเมล็ดพันธุ์แช่น้ำทิ้งไว้1 คืน หรือนํามาห่อในผ้าขาวบางเก็บไว้ประมาณ 2 - 3 วัน จนมีตุ่มรากสีขาวเล็กซึ่งพร้อมที่จะใช้เพาะเมล็ด

4. เลือกพื้นที่สําหรับเพาะเมล็ดเตรียมดินให้ละเอียดพร้อมผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก สัดส่วน 2:1 แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

5. โรยเมล็ดพริกที่เตรียมไว้เป็นแถวห่างกันประมาณ3 นิ้ว กลบด้วยหน้าดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตร

6. หลังเพาะแล้ว 7 - 10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอ

7. เมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3 - 4 คู่ หรือมีอายุประมาณ 30 วัน จึงย้ายปลูกในแปลงได้

วิธีปลูก ต้นพริกกะเหรี่ยง

1. การปลูกในสภาพไร่จะหยอดเมล็ดในไร่ หลุมละ5 - 10 เมล็ด ใช้ระยะปลูก 80 x 80 เซนติเมตร และหากปลูกแซมข้าวไร่จะใช้ระยะปลูกตามความต้องการ และสภาพพื้นที่เป็นหลัก

2. การปลูกด้วยต้นกล้าจะรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก อัตรา 800 - 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ระยะปลูก 80 x 80 เซนติเมตร หรือ 2,500 - 3,000 ต้นต่อไร่ สามารถปลูกเป็นพืชแซมกับพืชชนิดอื่นได้

3.การปลูกเพื่อจำหน่ายควรเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้และเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง โดยเริ่มเพาะกล้าพริกตั้งแต่เดือนกันยายนหรือตุลาคม แล้วย้ายปลูกโดยใช้ระยะปลูก80 x 80 เซนติเมตร หรือจํานวน 2,500 - 3,000 ต้นต่อไร่

เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังปลูกแล้วประมาณ 90วัน ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ทําให้พริกเริ่มมีราคาแพงเนื่องจากผลผลิตพริกที่ปลูกในสภาพไร่หมด และพริกสดขาดแคลน เกษตรกรสามารถขายพริกสดได้ราคา 50 - 80 บาทต่อกิโลกรัมและเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

การดูแลรักษา

1. ส่วนใหญ่ไม่มีการให้น้ำ อาศัยน้ำฝนธรรมชาติ

2. ช่วงปลูกที่เหมาะสม คือ เดือนพฤษภาคม และมิถุนายน

3. การกําจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน และไม่ใช้สารเคมีกําจัดวัชพืช

4. ไม่นิยมใส่ปุ๋ยเคมีเนื่องจากเชื่อว่าจะทําให้ความหอมที่เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวลดลง

5. ป้องกันกําจัดศัตรูพืชที่สําคัญ

  • 5.1 โรครากเน่าโคนเน่า และโรคกุ้งแห้ง ป้องกันกําจัดโดยคัดเมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรคก่อนปลูก และใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มารองก้นหลุมก่อนปลูก
  • 5.2 เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยแป้ง ทําให้ใบหงิกงอใบม้วนผิดปกติระบาดในช่วงแล้ง ป้องกันกําจัดโดยใช้น้ำหมักสมุนไพรพ่นทุก 5 - 7 วัน หรือใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย

การเก็บผลผลิต

พริกกะเหรี่ยงเริ่มทยอยเก็บผลผลิตได้หลังปลูกประมาณ 60 วัน โดยเลือกเก็บผลที่มีสีแดงสดสําหรับใช้แปรรูปเป็นซอสพริก ให้ผลผลิตพริกสด 400 - 500 กิโลกรัมต่อไร่

การจําหน่าย

1. จําหน่ายเป็นพริกสด ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณพริก ราคาจําหน่ายพริกสด 80 - 150 บาท ทําให้ชาวกะเหรี่ยงมีรายได้ประมาณ 10,000 - 15,000 บาทต่อไร่

2. จําหน่ายเป็นพริกแห้ง ซึ่งจะได้ราคาที่สูงกว่าพริกชนิดอื่น โดยพริกสด 400 - 500 กิโลกรัม ตากเป็นพริกแห้ง 80 - 100 กิโลกรัมหรือสัดส่วน 5:1

ประโยชน์ และ สรรพคุณ การใช้เป็นยาพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง

พริกกะเหรี่ยง ลักษณะเด่น ประโยชน์ สรรพคุณ วิธีปลูกและดูแล โรคพริก เมล็ดพันธุ์?

  • แก้ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตัวร้อน ใช้ใบพริกสดตํากับดินสอพองปิดขมับ
  • แก้เจ็บคอเสียงแหบ ใช้พริกป่น 1 หยิบมือ เติมน้ำเดือด 1 แก้ว ทิ้งไว้พออุ่น และใช้น้ำกลั้วคอ
  • ช่วยขับลม แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร รักษากระเพาะที่ไม่มีกําลังย่อยอาหาร
  • แก้พิษปลาดุก ใช้พริกเขียวหรือแดงก็ได้ขยี้ตรงที่ปลาดุกแทงจะไม่บวม ไม่ฟกช้ำ
  • แก้บวม ใช้ใบพริกบดผสมน้ำมะนาว แล้วพอกบริเวณที่บวม
  • รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้ใบตําพอกรักษาแผลสดและแผลเปื่อย ห้ามใช้ปิดแผลมากเกินไป
  • แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด ใช้พริกแห้งตําผงละลายน้ำมะนาว และทาแผล
  • มดคันไฟกัด ใช้ใบหรือดอกขยี้และถูบริเวณที่ถูกกัด

รายละเอียดเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ชาวกะเหรี่ยงยังมีความเชื่อว่า พริกกะเหรี่ยงมีสรรพคุณ เช่น มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีผลต่อระดับไขมันในเลือด มีผลต่อการจับตัวของเกล็ดเลือด มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต มีผลต่อการละลายลิ่มเลือด มีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือด และ มีผลตอการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด

พริกกะเหรี่ยง

กะเหรี่ยง หรือ ปกากะญอ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยบนที่สูงกลุ่มหนึ่ง ที่มีบทบาทสําคัญในการช่วยอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ความเป็นจริงชาวกะเหรี่ยงได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงทั้งหมด บางส่วนตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร 

ประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยงประมาณ 1,993 หมู่บ้าน รวม 69,353 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 352,295 คนหรือร้อยละ 46.80 ของประชากรชาวเขาในประเทศไทย ชาวกะเหรี่ยงกระจายอยู่ใน 15 จังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันตก เช่น กาญจนบุรีราชบุรี กําแพงเพชรเชียงราย เชียงใหม่ตาก แพร่น่าน ลําปางและแม่ฮ่องสอน

ชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทย มี 4 กลุ่มย่อย คือ สะกอหรือยางขาว ซึ่งมีประชากรมากที่สุด โปหรือโพล่ ปะโอหรือตองสูและ บะเวหรือคะยาซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งที่ถาวรไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อยมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและน้ำอย่างดีชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลําธาร เป็นชนเผ่าที่รักความสันโดษ อยู่อย่างเงียบ ๆ ชอบใช้ชีวิตอยู่กับป่าเขาลําเนาไพร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทําไร่และทํานา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล เลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภคมากกว่าค้าขาย ตลอดจนใช้ชีวิตแบบพึ่งป่าพึ่งน้ำ และอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่

การทำการเกษตรหลักของชาวกะเหรี่ยง คือการปลูกข้าวไร่เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน มีรูปแบบทั้งปลูกแบบขั้นบันไดและการทําไร่หมุนเวียน สําหรับพืชผักสวนครัวจะปลูกร่วมกับข้าวไร่หรือในสวนหลังบ้าน 

วัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงถือว่า บ้านใดมีข้าว มีพริก มีฟืน ไม่ต้องมีเงินก็อยู่ได้ จึงปลูกพริกไว้ให้พอกินไม่ได้ปลูกเป็นการค้า การปลูกพริกกะเหรี่ยงเกษตรกรจะปลูกแบบพืชไร่ โดยเอาเมล็ดพริกผสมกับเมล็ดพืชชนิดอื่น เช่น ผักกาด ฟัก แฟง และแตงกวาแล้วหว่านหลังหยอดเมล็ดข้าวในไร่ไปแล้วเมื่อเมล็ดข้าวงอกก็จะเป็นร่มเงาให้กล้าผักและพริกที่หว่านเมล็ดไป

ดังนั้นชาวกะเหรี่ยงก็จะได้ผลผลิตฟัก แฟง และแตงกวาสําหรับใช้บริโภค เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วพริกกะเหรี่ยงก็จะออกดอกและติดผล แม้ในระยะที่ไม่มีฝนตกแล้ว แต่พริกกะเหรี่ยงซึ่งมีรากแก้วก็จะสามารถรอดชีวิตได้

รายละเอียดเพิ่มเติม