✓ต้นไม้: พลับพลึงป่า (กระเทียมช้าง) ลักษณะ ประโยชน์ กินได้?

พลับพลึงป่า (Crinum lily)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

พลับพลึงป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Crinum amoenum Ker Gawl. ex Roxb. จัดเป็นพืชในสกุล Crinum อยู่ในวงศ์พลับพลึง (Amaryllidaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Crinum himalense Royle
  • Crinum verecundum Carey ex Herb.

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า กระเทียมช้าง (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นไม้: พลับพลึงป่า,กระเทียมช้าง ลักษณะ ประโยชน์สรรพคุณ

ต้นกระเทียมช้าง ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า กระเทียมช้าง (กรุงเทพฯ), พลับพลึง พลับพลึงป่า (อ.มัญจาคีรี ขอนแก่น), กำพรึง (เขมร-อ.ท่าตูม สุรินทร์), นิงงอย (ส่วย-อ.ท่าตูม สุรินทร์) และมีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Crinum lily

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นพลับพลึงป่า (กระเทียมช้าง) ในประเทศไทยพบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ นาข้าว หรือขอบบึง ที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 ซม. ในที่โล่งแจ้ง

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของพลับพลึงป่า (กระเทียมช้าง) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ปัจจุบันกลายเป็นวัชพืชในนาข้าว พบทั่วประเทศไทย และเขตร้อนทั่วโลก

พลับพลึงป่า ออกดอกเดือนไหน

ต้นพลับพลึงป่า (กระเทียมช้าง) ออกดอกและผลตลอดปี

ต้นไม้: พลับพลึงป่า,กระเทียมช้าง ลักษณะ ประโยชน์สรรพคุณ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพลับพลึงป่า

  • ลักษณะวิสัย: ไม้น้ำล้มลุก
  • ลำต้น: มีรากยึดติดกับพื้นดินท้องน้ำ ต้นสูง 40-100 ซม.
  • ใบ: ก้านใบและก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยม ใบยื่นพ้นน้ำ รูปไข่กว้าง ยาว 10-25 ซม. ปลายกลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบกลมหรือหยักรูปหัวใจ เนื้อใบอ่อนนุ่ม เกลี้ยงและมีไขเคลือบนวลไม่ติดน้ำ เส้นแขนงใบออกจากโคนใบข้างละ 3-5 เส้น เส้นใบย่อยเรียงตามแนวขวางจำนวนมาก ก้านใบยาว 15-80 ซม. โคนก้านใบสีม่วงอมน้ำตาลและมีกาบ
  • ดอก: ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ออกที่ยอด มี 3-12 ดอก ก้านช่อยาว 10-60 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 3 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง มี 3 กลีบ รูปไข่กว้างเกือบกลม ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อดอกบานกว้าง 3-5 ซม. เกสรเพศผู้สีเหลือง มีจำนวนมาก รูปแถบยาว
  • ผล: ผลแตกแนวเดียวจากด้านใน รูปครึ่งวงกลม ผลย่อยยาว 1-1.6 ซม.
  • เมล็ด: มีเมล็ดจำนวนมาก รูปตัวยู

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของพลับพลึงป่า สามารถนำมาเป็นอาหาร โดยใช้ช่อดอกอ่อน ใบอ่อน และก้านอ่อน มีเนื้อกรอบ รสขมเล็กน้อย เป็นผักสดกินแกล้มส้มตำ หรือลวกจิ้มน้ำพริก หรือย่างกินกับลาบปลาตอง

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

อโกลนีมา พันธุ์ต่างๆ แก้วกาญจนา ความหมาย ชื่อสายพันธุ์อะไรบ้าง พันธุ์ใหม่ ราคา?

ต้นโมกเขา (โมกราชินีดอกส้ม, โมกสามร้อยยอด) วิธีปลูกต้นโมกเขา ขยายพันธุ์ ราคา?

ผักคะนองม้า(เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ ยอดอ่อน กินได้ เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ?

ต้นโมกมีกี่ชนิด โมกพวง, โมกซ้อน, โมกบ้าน (โมกลา) แตกต่างกันยังไงบ้าง ราคาถูก?

ต้น'โมกหลวง (โมกใหญ่) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร ไม้ดอกหอมไทย?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

✓ศัตรูพืช: หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน?