Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: 'แจงสุรนารี' พืชชนิดใหม่ 2564 เสี่ยงสูญพันธุ์ ลักษณะ?

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ 150 ไร่ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 243 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดงไม้ประดู่ ไม้พะยูง และไม้มะค่า ปนอยู่บ้าง จัดเป็นป่าดั้งเดิมของพื้นที่ศูนย์ฯ ดังนั้น ศูนย์ฯ จึงได้ดำเนินการอนุรักษ์ไม้เหล่านี้ไว้ไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาบุกรุกและทำลาย ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมาภายในป่าของโครงการมีสระน้ำธรรมชาติ โดยศูนย์ฯ ได้ทำการปรับปรุงให้เป็นสระน้ำพื้นที่ 8 ไร่ที่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ฯ ไว้

“แจงสุรนารี” พืชชนิดใหม่หนึ่งเดียวในโลก

ต้นไม้: แจงสุรนารี พืชชนิดใหม่ เสี่ยงสูญพันธุ์ ลักษณะ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระดำริว่า“พันธุ์ไม้เก่าที่ดีมีอยู่มาก เนื่องจากมีการบุกรุกป่าเพื่อเป็นพื้นที่ทำกิน และมีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นจึงควรมีการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ดี ถึงแม้จะไม่ใช่พันธุ์พืชที่ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ”

รายละเอียดเพิ่มเติม

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับภารกิจของกรมวิชาการเกษตร

โดยศูนย์ฯ ได้เริ่มศึกษาและรวบรวมทรัพยากรพรรณไม้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 พบพรรณไม้จำนวน 99 ชนิดพร้อมทั้งปักป้ายระบุตำแหน่งของพรรณไม้ในป่าอนุรักษ์ฯและดำเนินการทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จำนวน 4 เส้นทาง

ค้นพบพืชชนิดใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2474 ได้มีการเก็บพืชตัวอย่างครั้งแรกโดย ดร. A.F.G. Kerr และในปี พ.ศ. 2510 โดยผศ.จิรายุพิน จันทรประสงค์ ซึ่งทั้งสองตัวอย่างเก็บจากอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา แต่ยังไม่มีการตรวจสอบ

ต่อมาในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม 2562 โดยนายชลธร โพธิ์แก้ว และ นายทศพร ชนกคุณ นักวิชาการประจำศูนย์ อพ.สธ. คลองไผ่ และ นางสาวอภิญญา วงษ์แก้ว นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่สำรวจเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ฯ

โดยมีการค้นพบพืช 1 ชนิด ที่ยังไม่สามารถระบุชนิดกับฐานข้อมูลของ อพ.สธ. คลองไผ่ ซึ่งเป็นพืชที่พบเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น เป็นพืชที่อยู่ในสกุลเดียวกับแจง และเมื่อเปรียบเทียบกับชนิดที่มีทั่วโลกแล้วนั้นพบว่า มีลักษณะที่แตกต่างไม่เหมือนกับชนิดใด

ต่อมา ผศ.ดร.สันติ วัฒฐานะ และ ดร.ปรัชญา ศรีสง่า นักอนุกรมวิธานพืช ได้ร่วมกันตรวจสอบชื่อโดยนำตัวอย่างเทียบกับตัวอย่างต้นแบบที่มีการตั้งชื่อไว้แล้ว สรุปว่าเป็นพืชที่ยังไม่มีการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์จึงเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก

โดยได้จดตั้งชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า “Maerua koratensis Srisanga & Watthana” และมีชื่อไทยว่า “แจงสุรนารี” เพื่อระลึกถึงท้าวสุรนารี และเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นอกจากนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการลงในวารสารวิชาการนานาชาติ Phytotaxa เล่มที่ 498 (3)หน้า 213 - 219 พ.ศ. 2564

ต้นไม้: แจงสุรนารี พืชชนิดใหม่ เสี่ยงสูญพันธุ์ ลักษณะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แจงสุรนารี เป็นไม้ยืนต้นกึ่งเลื้อย กิ่งกลมเรียวเกลี้ยง

ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง1 - 2 เซนติเมตร ยาว 5 - 9 เซนติเมตร ปลายใบแหลมผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน

ช่อดอกแบบช่อกระจายห่างมี 2 - 5 ดอก ที่ปลายยอด หรือเป็นดอกเดี่ยวออกด้านข้างดอก สีขาวอมเขียว ก้านดอกยาว 1.3 - 4 เซนติเมตร ฐานรองดอกรูประฆังแคบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปรีถึงรูปไข่ โคนเป็นก้านเรียว กว้าง 3 - 4 มิลลิเมตร ยาว 8 - 9 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรเพศผู้และเพศเมีย ยาว 2 - 5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 33 - 38 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 20 - 22 มิลลิเมตรอับเรณูรูปขอบขนาน กว้าง 1 มิลลิเมตร ยาว 2.5 มิลลิเมตรรังไข่รูปทรงกระบอกยาว 4.5 - 5 มิลลิเมตร

ลักษณะผลเป็นรูปทรงกระบอกแคบคอดระหว่างเมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลดำมีเยื่อหุ้ม

การกระจายพันธุ์ในธรรมชาติและแหล่งที่พบ

ถึงแม้ว่า แจงสุรนารี เป็นจะพืชป่าที่ยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. คลองไผ่ ได้ศึกษาการกระจายพันธุ์และปริมาณในธรรมชาติ พบว่าต้นแจงสุรนารีที่พบในพื้นที่ธรรมชาติ จะพบเฉพาะพื้นที่อำเภอสีคิ้วและอำเภอด่านขุนทด และได้สำรวจพบต้นแม่พันธุ์จำนวน 14 ต้นเท่านั้น และไม่พบต้นกล้างอกในบริเวณประชากรเหล่านั้นเลย

นอกจากนี้ยังพบในบริเวณแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติที่เป็นพื้นที่กำลังถูกคุกคามเช่น พื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งชุมชน ซึ่งตามเกณฑ์การประเมินสถานภาพอนุรักษ์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) สรุปว่าเป็นพืชที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง

โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ. คลองไผ่ ได้นำต้นกล้าแจงสุรนารีจำนวน 30 ต้น อายุ 2 ปี ที่ได้จากการเพาะเมล็ด มาปลูกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา

แนวทางการพัฒนาในอนาคตศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมามีการดูแลรักษาและศึกษาข้อมูลการเจริญเติบโตเพื่อหาวิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมด้วยวิธีการขยายพันธุ์แบบต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาถึงประโยชน์ของพืชพันธุ์ใหม่ด้วย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายด้านพันธุกรรมพืชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของประเทศไทย

อ้างอิง: อภิญญา วงษ์แก้ว; น.ส.พ. กสิกร กรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม