Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: สังหยูดอกหอม ลักษณะ นิเวศวิทยา ออกดอกเดือนไหน?

สังหยูดอกหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์

สังหยูดอกหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pseuduvaria fragrans Y. C. F. Su, Chaowasku & R. M. K. Saunders จัดเป็นพืชในสกุล Pseuduvaria อยู่ในวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มไม้ดอกหอม

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า สังหยูดอกหอม (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

การกระจายพันธุ์

สังหยูดอกหอม ลักษณะ นิเวศวิทยา ออกดอกเดือนไหน

การกระจายพันธุ์ของสังหยูดอกหอม พบกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ของไทย ในจังหวัดพังงา และสุราษฎร์ธานี

รายละเอียดเพิ่มเติม

นิเวศวิทยา

ต้นสังหยูดอกหอม เป็นพืชที่มีความจำเพาะกับระบบนิเวศเขาหินปูน ในประเทศไทยพบในป่าดิบบนเขาหินปูน ที่ ความสูง 100-250 ม. จากระดับทะเล

สังหยูดอกหอม ออกดอกเดือนไหน

สังหยูดอกหอม ออกดอกและเป็นผล ประมาณเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน

สถานภาพ

IUCN Conservation Status-VU D2, determined using

สังหยูดอกหอม ลักษณะ นิเวศวิทยา ออกดอกเดือนไหน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสังหยูดอกหอม

  • ลักษณะวิสัย: ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4 ม.
  • ลำต้น: กิ่งอ่อนสีน้ำตาลเข้ม ค่อนข้างเกลี้ยง
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 8.5 15.5 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนแหลมถึงมน ขอบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบด้านบนนุ่ม ด้านล่างนูน เส้น แขนงใบข้างละ 8-14 เส้น ก้านใบยาว 4-7 มม.
  • ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามกิ่งอ่อน บานทีละดอก ค่อนข้างเกลี้ยง ดอกแยกเพศ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2 มม. ก้านดอกยาว 3-10 มม. มีขนประปราย กลีบเลี้ยงแยกกัน รูปไข่ กว้าง กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 1-1.3 มม. ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนประปราย กลีบดอกวงนอกสีครีม รูปไข่กว้าง กว้าง ประมาณ 3 มม. ยาว 3-4 มม. ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนประปราย กลีบดอกวงในสีครีมมีแต้มสีฟ้า รูปข้าวหลามตัด กว้าง 3-3.5 มม. ยาว 4.5-5.5 มม. ปลายแหลม มีก้านกลีบ ด้านในมีต่อม 2 ต่อม มีขนประปรายทั้งด้านในและด้าน นอก ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ประมาณ 24 เกสร ดอกเพศเมียมี 1-3 คาร์เพล คาร์เพลละ 5 ออวุล
  • ผล: ผลแบบผลกลุ่ม 1-3 ผล รูปรี กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 25 มม. สีเขียวอ่อน ผิวมีขนประปราย

อ้างอิง: นัยนา เทศนา, พาโชค พูดจา. 2564. พรรณไม้สำคัญในระบบนิเวศเขาหินปูนประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้; สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช; กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม