✓ต้นไม้: ผักคะนองม้า (เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ กินเป็นผัก

*ดูราคาต้นไม้ ขายพันธุ์ไม้ หายาก ราคาถูก ...
👉 ดูเพิ่มเติมที่ร้านค้า

ต้นไม้: ผักคะนองม้า (เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ กินเป็นผัก

ผักคะนองม้า (Guyanese arrowhead)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

ผักคะนองม้า ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sagittaria guayanensis subsp. lappula (D.Don) Bogin จัดเป็นพืชในสกุล Sagittaria อยู่ในวงศ์ Alismataceae ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Alisma cristatum Wall.
  • Alisma hamiltonianum Wall.
  • Alisma lappula Buch.-Ham. ex Kunth
  • Lophiocarpus cordifolius Miq.
  • Lophiocarpus lappula (D.Don) Miq.
  • Lophotocarpus formosanus Hayata
  • Sagittaria blumei Kunth
  • Sagittaria cordifolia Roxb.
  • Sagittaria lappula D.Don
  • Sagittaria obtusissima Hassk.
  • Sagittaria pusilla Blume
  • Sagittaria triflora Noronha

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า เต่าเกียด (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นเต่าเกียด ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า เต่าเกียด (ปทุมธานี), ผักคางไก่ (แม่ฮ่องสอน), ผักคะนองม้า ผักเล็บม้า (หนองคาย, นครพนม), ผักผ่อง (อ.ศรีเชียงใหม่ หนองคาย) และมีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Guyanese arrowhead

นิเวศวิทยา

ต้นผักคะนองม้า ในประเทศไทยพบขึ้นในน้ำตามขอบบึง หรือทุ่งนา ที่มีน้ำนิ่งหรือไหลเอื่อย และมีระดับความลึกไม่เกิน 50 ซม. ในที่โล่งแจ้งที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของผักคะนองม้า พบพบทั่วประเทศไทย และเขตร้อน-กึ่งเขตร้อนในทวีปแอฟริกาและเอเชีย

ผักคะนองม้า ออกดอกเดือนไหน

ต้นผักคะนองม้า ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน และผลแก่ช่วงมิถุนายนธันวาคม

ผักคะนองม้า (เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ กินเป็นผัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักคะนองม้า

  • ลักษณะวิสัย: ไม้น้ำล้มลุก มีอายุหลายปี
  • ลำต้น: มีลำต้นเป็นเหง้าสั้นอยู่ใต้ดินท้องน้ำ (ลักษณะทั่วไปคล้าย บัวสาย Nymphaea pubescens)
  • ใบ: ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก ชูใบขึ้นมาลอยที่ผิวน้ำ ใบรูปกลมแกมรูปหัวใจ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ซม. ปลายใบกลม โคนใบหยักเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจแกมเงี่ยงลูกศร ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียว เกลี้ยงเป็นมันเงา ด้านล่างมีขนสั้นหรือเกลี้ยง เส้นแขนงใบออกจากโคนข้างละ4-5 เส้น เนื้อใบหนามองเห็นเส้นใบย่อยไม่ชัด ก้านใบยาวถึง 40 ซม. เป็นสามเหลี่ยม สีขนสั้นหรือเกลี้ยง โคนก้านมีกาบ
  • ดอก: ช่อดอกออกเป็นกระจุก 1-6 ชั้น แต่ละชั้นมี 2-3 ดอก ชู่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาว รูปไข่กว้างกลับ ยาว 8-10 มม. เกสรเพศผู้สีเหลือง มี 6 หรือมากกว่า
  • ผล: ผลสีเขียว ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1.8 ซม. มีผลย่อยอัดกันแน่นจำนวนมากและมีกลีบเลี้ยงติดคงทน จมลงอยู่ใต้น้ำ
  • เมล็ด: เมล็ดมีจำนวนมากและขนาดเล็ก กว้างประมาณ 1.5-2 มม.
ผักคะนองม้า (เต่าเกียด) ลักษณะ ประโยชน์ กินเป็นผักสด

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของผักคะนองม้า สามารถนำมาเป็นอาหาร โดยใช้ยอดอ่อน เป็นผักสดกินแกล้มลาบ ซุบ ปิ้งปลา หรือจิ้มน้ำพริก

*ดูราคาต้นไม้ ขายพันธุ์ไม้ หายาก ราคาถูก ...

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.