Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: ตะไหล (ข้าวสาร) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณสมุนไพร?

ตะไหล (ข้าวสาร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)

ตะไหล (ข้าวสาร) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Prismatomeris tetrandra (Roxb.) K.Schum. จัดเป็นพืชในสกุล Prismatomeris อยู่ในวงศ์เข็ม (Rubiaceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร

ชื่อพ้อง (Synonyms)

  • Coffea tetrandra Roxb.

ชนิดย่อย (Subspecies)

แบ่งได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

  1. Prismatomeris tetrandra subsp. malayana (Ridl.) J.T.Johanss. (สนกระ, กระดูกไก่)
  2. Prismatomeris tetrandra subsp. tetrandra (ตะไหล, ข้าวสาร)
ต้นไม้: ตะไหล (ข้าวสาร) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณสมุนไพร Prismatomeris tetrandra

สกุล Prismatomeris Thwaites อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Rubioideae เผ่า Morindeae มีประมาณ 15 ชนิด พบที่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยมี 7 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “prismatos” รูปปริซึม และ “meris” ส่วน ตามลักษณะปลายกลีบดอกที่แหลม

รายละเอียดเพิ่มเติม

ชื่อไทย

ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า ตะไหล (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)

ต้นตะไหล มีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า - และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า ตะไหล (เชียงใหม่), ข้าวสาร (อ.ศรีสงคราม นครพนม, อ.พรรณานิคม สกลนคร)

นิเวศวิทยา

ต้นตะไหล (ข้าวสาร) ในประเทศไทยพบขึ้นในที่มีแสงรำไร หรือชายป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ และป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 ม.

การกระจายพันธุ์

การกระจายพันธุ์ของตะไหล (ข้าวสาร) ในไทยพบได้ค่อนข้างง่าย ทั่วประเทศ ต่างประเทศพบในอินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

ตะไหล (ข้าวสาร) ออกดอกเดือนไหน

ต้นตะไหล (ข้าวสาร) ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน ผลแก่เดือนเมษายน - สิงหาคม

ต้นไม้: ตะไหล (ข้าวสาร) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณสมุนไพร Prismatomeris tetrandra

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของตะไหล (ข้าวสาร)

  • ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่ม สูง 0.5-4 ม.
  • ลำต้น: กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งแก่มีสันหรือรอยย่นตามยาว ตามกิ่ง ใบ ก้านใบ และช่อดอกเกลี้ยง
  • ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี-หอกกลับ ยาว 3.5-12 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบแหลม ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนมันเงา มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-9 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกัน นูนชัดที่ผิวใบด้านบน เส้นใบย่อยแบบร่างแหมองเห็นชัดเจนที่ผิวใบด้านล่าง ก้านใบยาว 4-10 มม.
  • ดอก: ดอกออกเป็นกระจุก ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง มี 1-12 ดอก/กระจุก ก้านดอกยาว 5-15 มม. มีจุดสีขาว กลีบเลี้ยงสีเขียว ยาว 1-2 มม. ปลายแยกเป็นแฉกตื้นๆ 4-5 แฉก กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดยาว 1.2-2 ซม. ปลายแยก 4-5 แฉก คล้ายดอกมะลิ แฉกยาวใกล้เคียงกับหลอดดอก มีเส้นกลีบตามยาว 3 เส้น ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผล: ผลทรงกลมแกมรี กว้าง 1 ซม. ผิวเกลี้ยง เมื่อสุกสีม่วงดำ มี 1 เมล็ด

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ของตะไหล (ข้าวสาร) สามารถนำมาเป็นสมุนไพร โดยใช้ราก มีสีเหลือง ฝนผสมกับเนื้อมะพร้าว แล้วนำมาทาแก้โรคขี้เรื้อน, ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคดีซ่าน, ราก ฝนผสมน้ำหรือต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ในเด็ก ใช้แทนยาพาราเซตาม่อน, ราก ต้มน้ำดื่มหรือดองเหล้า เป็นยาบำรุงกำลัง

อ้างอิง: มานพ ผู้พัฒน์, ปรีชา การะเกตุ, ขวัญใจ คำมงคล และศรัณย์ จิระกร. 2561. ป่าบุ่งป่าทาม ภาคอีสาน. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

รายละเอียดเพิ่มเติม