ต้นเทียนกิ่ง (เฮนน่า) ลักษณะ สารสำคัญ สรรพคุณ ใช้ประโยชน์?

เทียนกิ่ง คืออะไร?

เทียนกิ่ง (Lawsonia inermis L.) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “เฮนน่า” (Henna) เป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ทั้งในด้านการนำมาใช้ เป็นยาและด้านเครื่องสำอาง สารสำคัญใน เทียนกิ่ง คือ ลอว์โซน (lawsone หรือ 2- hydroxy-1,4-naphthoquinone) ซึ่งเป็นสาร กลุ่มแนพโทควิโนน (naphthoquinones) ที่ ให้สีส้มแดง พบมากที่สุดในส่วนของใบ  สามารถนำมาใช้เป็นยาย้อมผมจากธรรมชาติ ใช้ทาร่างกาย และตกแต่งสีเล็บ ฝ่ามือและฝ่าเท้า

สรรพคุณในตำรายาไทย ใบเทียนกิ่งใช้แก้ปวดนิ้วมือ นิ้วเท้า เล็บขบ ถอนพิษปวดแสบปวดร้อน รักษา กามโรค แก้ปวดท้อง ห้ามเลือด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลฟกช้ำ ใช้ย้อมผม เล็บ ขน แก้ท้องเสีย ขับ ปัสสาวะ เป็นต้น รากใช้ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ดอกใช้ขับประจำเดือน แก้ปวดศีรษะ

ต้นเทียนกิ่ง (เฮนน่า) สมุนไพร

จากรายงานการศึกษาวิจัย พบว่าเทียนกิ่งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย ได้แก่ ฤทธิ์ต้านเชื้อรา, ต้านเชื้อแบคทีเรีย, ต้านการอักเสบ, แก้ปวด, ต้านมะเร็ง, ต้านอนุมูลอิสระ, ปกป้องตับ, รักษาแผล เป็นต้น  โดยเฉพาะฤทธิ์ในการรักษาแผล 

รายละเอียดเพิ่มเติม

มีรายงานว่าเทียนกิ่งหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเทียนกิ่ง หรือสาร lawsone มีประสิทธิภาพรักษาแผลได้หลายชนิด ซึ่งขอมูลการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับผลในการ รักษาแผลของเทียนกิ่งในรูปแบบต่างๆ มีดังนี้

ยาผงเทียนกิ่ง (ผงใบและลำต้นแห้ง ปริมาณ 1 ก. ผสมกับน้ำกลั่น 10 มล.) มีผลรักษาแผลกดทับใน ผู้ป่วยที่รักษาตัวในห้อง ICU ที่มีแผลกดทับระดับ 1 ได้  โดยทาบริเวณแผล วันละครั้ง เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่น และเช็ดแผลให้แห้ง เป็นเวลา 7 วัน และให้ผลในการรักษาดีกว่าเมื่อ เปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอกฝรั่ง  นอกจากนี้ยาผงเทียนกิ่ง (ผงใบแห้ง ปริมาณ 50 ก. ผสมกับน้ำกลั่น 500 มล.) ยังสามารถป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่รักษาตัวในห้อง ICU ซึ่งยังไม่มีแผลกดทับได้ โดยให้ ทาบริเวณกระเบนเหน็บในขนาดพื้นที่ 15 ซม. วันละครั้ง ทิ้งไว้ 30 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่นแล้วเช็ดผิวให้แห้ง ควบคู่ไปกับการรักษาแบบมาตรฐานในโรงพยาบาลสำหรับป้องกันแผลกดทับ 

ยาผงเทียนกิ่ง (ผงเทียนกิ่ง, ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ผสมกับน้ำ) มีผลลดความรุนแรงของอาการ Hand-Foot syndrome ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด capecitabine หรือ pegylated tiposomal doxorubicin ได้ เมื่อให้ทาบริเวณมือหรือเท้าที่เกิดอาการอักเสบ ยาผงเทียนกิ่งทำให้

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น มีอาการอ่อนเพลียและอาการปวดลดลง ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนของผิว ผู้ป่วยบางรายสามารถรักษาแผลหายได้ โดยที่ไม่ต้องลดขนาดของการใช้ยา capecitabine

ยาผงเทียนกิ่ง (ผงใบแห้ง 1 ก. ผสมกับน้ำกลั่น 10 มล.) เมื่อให้ทาแผลบริเวณเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน จากนั้นพันด้วยผ้าพันแผล เป็นเวลา 4-6 ชม. แล้วล้างออก สามารถช่วยป้องกันแผลจากความชื่นได้นาน ทําให้ ไม่ต้องทายาบ่อย และทำให้แผลที่แห้ง แตก ดีขึ้น

ขี้ผึ้งซึ่งมีสาร lawsone จากเทียนกิ่งเป็นส่วนผสม (ไม่ระบุความเข้มข้นที่ใช้ในผลิตภัณฑ์) เมื่อให้ทา แผล วันละครั้ง จนกระทั่งแผลหายดี มีผลทำให้แผลไฟไหม้หายได้เร็วกว่า และลดอาการปวดแผลได้ดีกว่าครีม silver sulfadiazine 1% นอกจากนี้ยังมีผลในการรักษาอาการผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี โดยให้เริ่ม ทาขี้ผึ้งซึ่งมีสาร lawsone จากเทียนกิ่งเป็นส่วนผสม (ไม่ระบุความเข้มข้นที่ใช้ในผลิตภัณฑ์) บาง ๆ บริเวณ หน้าอกทันทีหลังจากการฉายรังสี วันละ 2 ครั้ง จากนั้นทาทุกวันติดต่อกัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งขี้ผึ้งเทียนกิ่ง มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสีได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับครีม hydrocortisone 1% โดยจะเห็นผลในสัปดาห์ที่ 2 ของการรักษา นอกจากนี้ยังลดอาการปวด อาการคัน และ ลดปริมาณของหนอง

ขี้ผึ้งซึ่งมีสาร lawsone จากเทียนกิ่งเป็นส่วนผสม (ไม่ระบุความเข้มข้นที่ใช้ในผลิตภัณฑ์) เมื่อทา บริเวณแผลฝีเย็บ ขนาด 2 ก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน ร่วมกับการนั่งแช่กันในน้ำยาเบตาดีน (Betadine Solution) พบว่าสามารถรักษาแผลฝีเย็บและลดอาการปวดได้ดีกว่าการใช้ยาเบตาดีนเพียงอย่างเดียว และขี้ผึ้งซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัด 70% เอทานอลจากเทียนกิ่ง 5% (ไม่ระบุส่วนของพืชที่ใช้) สามารถรักษา แผลฝีเย็บ และลดอาการปวดได้เช่นเดียวกัน เมื่อให้ทาบริเวณแผลในขนาดข้อนิ้วมือ เป็นเวลา 14 วัน

เจลที่มีส่วนผสมของสารสกัด 70% เมทานอลจากใบเทียนกิ่ง 10% (มีปริมาณสาร lawsone เท่ากับ 0.62 ก./100 ก.) มีผลในการรักษาอาการมือและเท้าบวมแดง (Hand-Foot syndrome) จากการใช้ยาเคมี บำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยา capecitabine และ 5-fluorouracil (5-FU) ได้ เมื่อให้ทาเจล ขนาด 0.5-1 ช้อนชา ที่แขนและขา วันละ 4 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มให้เคมีบำบัด และให้ทาต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์

สำหรับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนประสิทธิภาพในการรักษาแผลของ เทียนกิ่ง พบว่าเทียนกิ่งมีฤทธิ์รักษาแผล, ต้านการอักเสบ, แก้ปวด และด้าน เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดแผลติดเชื้อ เช่น Staphylococcus aureus, methicillin-resistant S. aureus, Streptococcus pyogenes, Pseudomonas aeruginosa และ Enterococcus faecalis

การศีกษาความเป็นพิษ

สารสกัดเอทานอลจากใบเทียนกิ่ง ขนาด 50, 100, 200 และ 300 มก./กก. ไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน ในหนูแรท เมื่อให้โดยการป้อน  การป้อนสารสกัด 80% เอทานอลจากใบเทียนกิ่ง ขนาด 200, 500, 1,000 และ 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว และป้อนสารสกัด ขนาด 200, 500, 1,000 มก./กก. เป็นเวลา 14 วัน พบว่าสารสกัดขนาด 200 และ 500 มก./กก. ไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษกึ่งเรื้อรัง ไม่ทำให้หนูแรทตาย ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยา ค่าชีวเคมีในเลือด และอวัยวะภายในของหนู ขณะที่สาร สกัดขนาด 1,000 และ 2,000 มก./กก. ทำให้หนูตายและเกิดพิษ

สารสกัด 80% เอทานอลจากเมล็ดเทียนกิ่ง ขนาด 5 และ 10 ก./กก. ไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและ ไม่ทำให้หนูแรทตาย แสดงว่าค่า LDs) ของสารสกัด มากกว่า 10 ก./กก. และเมื่อป้อนสารสกัดเดียวกันนี้ ขนาด 0.5 และ 1 ก./กก. เป็นเวลา 30 วัน พบว่าไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิทยา, การทำงาน ของตับ ไต, ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดของหนู

สารสกัด 90% แอลกอฮอล์จากรากเทียนกิ่ง (ไม่ระบุชนิดของแอลกอฮอล์) ขนาด2 ก./กก. เมื่อให้โดย การป้อน พบว่าไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันในหนูแรท

ข้อควรระวัง

- ควรระวังในการรับประทานเทียนกิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต เนื่องจากมีรายงาน (case report) ของผู้ป่วยที่รับประทานยาต้มใบเทียนกิ่ง ขนาด 700 มล. เป็นเวลา 3 วัน แล้วเกิดภาวะฮีโมโกลบินใน ปัสสาวะ (hemoglobinuria) ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง และนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury) ผู้ป่วยได้รับการฟอกไต 5 ครั้ง มีอาการดีขึ้น และหายกลับคืนเป็นปกติภายใน 7 สัปดาห์ (56) และ ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางซึ่งเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง (hemolytic anemia) และไตวายเฉียบพลัน หลังจากรับประทานผงเทียนกิ่งที่ละลายในน้ำ วันละ 1 แก้ว ติดต่อกัน 2 วัน เพื่อรักษาอาการหายใจลำบาก (dyspnea)

- ควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้เทียนกิ่งในเด็ก เนื่องจากมีรายงานการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) หลังจากทาร่างกาย หรือบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วยเทียนกิ่งในเด็กทารกและเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์ glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD) (โรคทางพันธุกรรม ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก)

บทสรุปส่งท้าย

เทียนกิ่งและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดหรือสาร lawsone จากเทียนกิ่ง มีศักยภาพในการ นํามาใช้สําหรับรักษาแผลได้หลายชนิด มีความปลอดภัยในการใช้ และไม่พบความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงที่ เป็นอันตรายจากการใช้เป็นยาภายนอก แต่มีข้อควรระวังในการนำมาใช้รับประทาน เนื่องจากมีรายงานว่าทำ ให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้เทียนกิ่งในเด็กเล็กที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เนื่องจาก ทําให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

อโกลนีมา พันธุ์ต่างๆ แก้วกาญจนา ความหมาย ชื่อสายพันธุ์อะไรบ้าง พันธุ์ใหม่ ราคา?

ต้นโมกเขา (โมกราชินีดอกส้ม, โมกสามร้อยยอด) วิธีปลูกต้นโมกเขา ขยายพันธุ์ ราคา?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

✓ศัตรูพืช: หนอนกระทู้ผัก ลักษณะ การป้องกัน วิธีกำจัดหนอน?

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

20 บอนสีหายาก บอนสีโบราณ พันธุ์ต่างๆ มาแรงมาก ก.ย.2564?

ต้น'โมกหลวง (โมกใหญ่) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร ไม้ดอกหอมไทย?