ผิวขาวกระจ่างใส ด้วยแตงกวา ได้จริงไหม ประโยชน์ สรรพคุณ?

แตงกวา (Cucumis sativus L.) เป็นไม้เลื้อย ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนแข็ง มือเกาะไม่แยกแขนง ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่มี 3-5 เหลี่ยมหรือเว้าตื้น ๆ เป็น 3-5 แฉก ปลายใบแหลม ขอบใบ หยักแบบซี่ฟัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ

ดอกเพศผู้และเพศเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศ ผู้ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบ กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคนเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกแคบ ๆ 5 แฉก ผิวย่น และมีขน สีเหลือง เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านไม่ติดกัน อับเรณูติดอยู่ด้านนอก ดอกเพศเมีย มีลักษณะเหมือนดอก เพศผู้ รังไข่มี 3 ช่อง

ผิวขาวกระจ่างใส ด้วยแตงกวา ได้จริงไหม ประโยชน์ สรรพคุณ

ผลมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันมาก ผลอ่อนมีตุ่มเล็กกระจายทั่วไป สีเขียวอ่อนถึงเขียว เข้ม ผลแก่สีเหลือง หรือสีเหลืองแกมน้ำตาล เมล็ดมีจํานวนมาก รูปไข่หรือรูปรี แบน สีขาว

รายละเอียดเพิ่มเติม

สรรพคุณตามแผนโบราณ ผล บรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง น้ำจากผล ทำให้ผิวชุ่มชื้น

การศึกษาทางคลินิกและการทดลอง

มีรายงานการศึกษาทางคลินิกทําให้ผิวขาว โดยเป็นการศึกษาแบบปกปิดฝ่ายเดียว (one-sided blind study) ในผู้ที่มีสุขภาพดีจำนวน 21 คน อายุระหว่าง 21 - 35 ปี โดยทุกคนจะได้รับครีมทาผิว 2 ชนิด ครีมตัวแรกเป็นครีมเบส ส่วนครีมชนิดที่ 2 เป็นครีมทาผิวในรูปอิมัลชันที่มีส่วนผสมของสารสกัดไฮโดรอัล กอฮอลิกซ์ของผลแตงกวา 3% (ตัวอย่างจากประเทศปากีสถาน)

โดยให้อาสาสมัครทาครีมแตงกวาที่แก้มด้าน หนึ่ง และแก้มอีกด้านหนึ่งให้ทาครีมเบสวันละ 2 ครั้ง นาน 60 วัน และมีการประเมินสภาพผิวทุกสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 พบว่าครีมแตงกวาสามารถลดปริมาณของเมลานิน ลดความมัน (sebum) ลดความชุ่มชื้น แต่มี ผลเพิ่มการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง transepidermal water loss (TEWL) เมื่อเทียบกับครีมเบส โดยไม่ ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในหลอดทดลอง น้ำคั้นผลแตงกวาที่ปลอก เปลือกและเอาเมล็ดออก, ส่วนสกัดนาคั้นผลแตงกวาด้วยเอทิลอะซิเตท และเอ็น-บิวทานอล (ตัวอย่างจาก ประเทศอินเดีย)

เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ในหลอดทดลอง พบว่าค่า ความเข้มข้นที่สามารถต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ร้อยละ 50 (ICs) มีค่าเท่ากับ 40.09, 24.46 และ 99.68 มคก./มล. ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสาร quercetin ที่มี IC50 เท่ากับ 18.27 มคก./มล. จะเห็นได้ว่าส่วน สกัดน้ำคั้นผลแตงกวาด้วยเอทิลอะซิเตทมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ดีที่สุด

สารสำคัญที่สามารถสกัดแยกได้จากสารสกัดเมทานอลของใบแตงกวา ได้แก่ lutein, (+)- (1R,25,5R,65)-2,6-di-(4-hydroxyphenyl)-3,7-dioxabicyclo[3.3.0] octane, (-)-pinoresinol, (+)- pinoresinol และ indole-3-aldehyde

เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการสังเคราะห์สาร melanin ในเซลล์ B16 melanoma cells พบว่าค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการสังเคราะห์สาร melanin ได้ร้อยละ 50 (IC5 ) มีค่าเท่ากับ 170.7 + 16.5, 270.8 + 37.5, 216.8 + 32.0, 202.1 + 26.3 และ 297.9 + 33.6 ไมโครโมล่าร์ เมื่อเทียบกับสาร arbutin ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 234.9 + 27.9 ไมโครโมล่าร์ จากการศึกษาสรุปได้ว่า สาร Lutein และ (-)-pinoresinol ต้านการสังเคราะห์สาร melanin ได้ดีกว่าสาร arbutin

การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย

การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน เมื่อป้อนผลแตงกวาปั่นละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ขนาด 0.5, 1.0, 1.5, 3.0 และ 5 มล./กก. (ตัวอย่าง ประเทศไนจีเรีย) ให้กับหนูเม้าส์ พบว่าไม่มีหนูตาย แสดงว่าค่อนข้างปลอดภัย

เมื่อป้อนสารสกัดน้ำผล แตงกวาให้หนูเม้าส์กิน (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย) และสังเกตอาการนาน 14 วัน พบว่าขนาดที่ปลอดภัย และไม่เป็นพิษกับหนู คือไม่มีอาการอ่อนเพลีย ชัก หายใจลำบาก มีค่ามากกว่า 5,000 มก./กก.

ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีประวัติแพ้คืนไฉ่ แครอท และแตงโม ก็อาจจะแพ้แตงกวาได้เช่นกัน

อาการไม่พึงประสงค์

มีรายงานผู้หญิงอายุ 76 ปี เมื่อรับประทานผลแตงกวา ภายใน 5 นาที มีอาการมึนเวียนศีรษะ อาเจียน หายใจลำบาก มีผื่นแดงที่หน้าอก และคันที่ช่องคลอด เมื่อสืบประวัติย้อนหลังไป 3 เดือน พบว่ามีประวัติแพ้ยางมะละกอ แล้วทำให้เกิดผื่นคล้ายลมพิษ จากข้อมูลทั้งหมดของผู้ป่วยรายนี้สรุปได้ว่าคือการแพ้ยางมะละกอ และแพ้ยางแตงกวา

สรุปผล

จากการศึกษาข้อมูลงานวิจัยของแตงกวาจะเห็นได้ว่า แตงกวามีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ยับยั้งการสังเคราะห์สาร melanin ซึ่งจะมีผลช่วยในเรื่องที่ทำให้ผิวขาว ดังนั้นแตงกวาน่าจะมีศักยภาพในการที่จะนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางในส่วนของทำให้ผิวขาว แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อควรระวังในผู้ที่มีประวัติแพ้คืนไฉ่ แครอท และแตงโม ก็อาจจะแพ้แตงกวาได้เช่นกัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

เครือไพสงแดง (เถาวัลย์แดง,โสรยา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นหมากว้อ(หมาว้อ) ผลสุกกินได้ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร ลักษณะ ผลไม้ป่า?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

ต้นลัดดาวัลย์ (ลดาวัลย์) ชอบแดดไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก การขยายพันธุ์ ราคาถูก?

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

8 เหตุผล ที่ควรปลูกต้นพลูด่าง ต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน ต้นไม้มงคล เสริมบารมี?

ต้นบลูฮาวาย ดอกสีม่วงอมน้ำเงิน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ วิธีปลูก ดูแล ประโยชน์ ราคา?