ต้นอินทรชิต, เสลา(สะ-เหลา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร วิธีปลูก ราคา?

ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "อินทรชิต" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น เสลา (สะ-เหลา), เสลาใบใหญ่, เกรียบ, ตะเกรียบ, ตะแบกขน เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • อินทรชิต (เสลา) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
  • อยู่ในวงศ์ Lythraceae
  • มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Thai bungor
  • ชื่อพ้อง (Synonyms) :
    • Lagerstroemia hirsuta Rottler ex C.B.Clarke
    • Lagerstroemia rottleri C.B.Clarke
    • Murtughas loudonii (Teijsm. & Binn.) Kuntze
    • Murtughas rottleri (C.B.Clarke) Kuntze

อินทรชิต (เสลา)

ต้นอินทรชิต,เสลา(สะ-เหลา)

อินทรชิต (เสลา) มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในไทยพบทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงใต้ 

มีถิ่นอาศัยขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าชายหาด ที่ระดับความสูงไม่เกิน 400 เมตร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อมูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นอินทรชิต (เสลา) เป็นไม้ผลัดใบ มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 30 ม. มีเรือนยอดเป็นพุ่มแน่น กิ่งห้อยย้อย ลำต้นกลม เปลือกมีสีเทาแกมดำ เปลือกแตกเป็นร่อง-สะเก็ดตามแนวยาว เปลือกคล้ายเสลา เปลือกในมีชั้นบางสีม่วง ตามกิ่ง ช่อดอก ก้านใบและใบมีขนสั้นหนาแน่นสีน้ำตาล

ใบอินทรชิต (เสลา) ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม-เกือบตรงข้าม ใบรูปรี หรือรูปขอบขนาน ยาว 15–25 ซม. ปลายใบมน-แหลม โคนใบมน ใบมีสีเขียว *จุดเด่นที่แผ่นใบมีขนสั้นหนานุ่มทั้ง 2 ด้าน* ก้านใบยาว 2–5 มม.

ดอกอินทรชิต (เสลา) ดอกออกเป็นช่อดอกยาว 10–30 ซม. จะออกดอกบริเวณกิ่งแก่หรือปลายกิ่ง ตาดอกรูปไข่ ยาว 5–9 มม. ก้านดอกเทียมยาว 2–7 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาว 3–4 มม. ถ้วยรองดอกมีสันตามยาว 12 สันตามยาวไม่ชัดเจน มี 6–8 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 3–6 มม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ด้านในมีขนช่วงปลายกลีบ ปลายกลีบพับงอกลับในผล

ดอกสีชมพูเข้มหรือม่วง เปลี่ยนเป็นสีอ่อนลง-สีขาวเมื่อใกล้โรย มี 6–8 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.5–2 ซม. ก้านกลีบยาวประมาณ 7 มม. ขอบกลีบเป็นคลื่น จักชายครุย แผ่นกลีบย่น เมื่อดอกบานจะมีขนาดความกว้าง 4–5 ซม. เกสรเพศผู้วงนอก 6–7 อันยาวกว่าวงใน รังไข่มีขนสั้นนุ่ม

ผลอินทรชิต (เสลา) ผลทรงกลม รูปรี กว้าง 2–2.5 ซม. ยาว 1–2 ซม. ผิวนอกผลแข็ง ผลมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกจะมีสีน้ำตาล และเมื่อผลแห้งจะแตกออก แตกเป็น 5–6 ซีก ภายในผลมีเมล็ดอยู่จำนวนมาก เมล็ดอินทรชิต (เสลา) เมล็ดแบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ต้นเสนาจะติดผลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม

ประโยชน์ อินทรชิต (เสลา)

เนื้อไม้ของต้นอินทรชิต (เสลา) เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อเหนียวมาก ทนทานต่อการผุพัง สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เนื่องจากเนื้อไม้ของต้นเสนามีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง นิยมนำมาทำเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ แปรรูป ก่อสร้าง ต่อเรือ-รถ ทำสะพาน ทำพื้น ตง รอด หรือใช้ทำเป็นไม้แกะสลักให้ดูสวยงาม

ต้นอินทรชิต,เสลา(สะ-เหลา)

ต้นอินทรชิต (เสลา) ช่วยสร้างร่มเงา สร้างความร่มรื่นให้กับบริเวณโดยรอบ และด้วยความที่ต้นเสนามีดอกสีม่วงอมชมพูสวยงาม จึงนิยมปลูกไว้เพื่อประดับตกแต่งสวน ปลูกด้วยเมล็ด 3-4 ปีก็ออกดอกแล้ว ผลัดใบทั้งต้นในช่วงฤดูหนาว แล้วออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม *ต้นเสลาที่มีอายุมากและขึ้นในสภาพอากาศแห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง จะยิ่งมีดอกดกสวยงามยิ่งขึ้น*

รายละเอียดเพิ่มเติม

สรรพคุณ อินทรชิต (เสลา)

ต้นเสนามีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรไทย สามารถรักษาโรคได้หลากหลายอาการ เช่น เปลือกมีสรรพคุณช่วยสมานแผล และแก้อาการท้องเสีย เป็นต้น โดยสามารถนำเปลือกไปตากแห้งนำมาต้มดื่ม หรือนำไปบดเป็นผงละเอียดนำมาโรยตรงแผล ช่วยบรรเทาอาการแผลอักเสบ และ ทั้ง 5 : รักษาโรคเบาหวาน รักษาความดันโลหิต

วิธีปลูก และการขยายพันธุ์

พื้นที่เหมาะสมในการปลูกต้นอินทรชิต (เสลา) ในประเทศไทย สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้ปลูกได้แต่ดอกอาจจะไม่ดก ซึ่งอาจจะปลูกตามพื้นที่ดินปนทรายใกล้ชายทะเลน่าจะเหมาะสมกว่า

การขยายพันธุ์อินทรชิต (เสลา) สำหรับการขยายพันธุ์นิยมมากที่สุดคือ การเพาะเมล็ด เมล็ดจะงอก โดยอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 20 วัน และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 4 เดือน ต้นเสลาจะมีความสูงเฉลี่ย 20 เซนติเมตรโดยประมาณ เมล็ด 1 กิโลกรัมจะมีเมล็ดประมาณ 170,000 เมล็ด เปอร์เซ็นต์การงอกคือ 75 %

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกต้นอินทรชิต (เสลา) ควรมีชั้นดินลึกมากกว่า 0.5 ม. ที่ราบ-ที่ลาดชัน, ที่มีการระบายน้ำดี, ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 ม.

วิธีการปลูกต้นอินทรชิต (เสลา)

สำหรับการปลูกต้นอินทรชิต (เสลา) แนะนำให้ปลูกในดินร่วนซุย ต้นเสลาไม่ชอบน้ำท่วมขัง แต่ชอบแสงแดดจัด ควรปลูกในที่กลางแจ้งที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก นิยมปลูกข้างบ้าน ในสวน หรือริมรั้ว

วิธีปลูกต้นอินทรชิต (เสลา)

ระยะการปลูกที่เหมาะสมควรมีระยะห่างกันประมาณ 2-5 เมตร เพื่อให้ต้นเสลาสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และไม่แย่งอาหารกัน แต่หากปลูกเรียงเป็นแถวแนวยาว ริมถนนควรมีระยะการปลูกไม่น้อยกว่า 8 เมตร ขนาดความลึกของหลุมจะต้องลึกและกว้างไม่น้อยกว่า 80-100 เซนติเมตร

รายละเอียดเพิ่มเติม

การดูแล ต้นอินทรชิต (เสลา)

ต้นอินทรชิต (เสลา) เป็นต้นไม้ที่ดูแลง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน ยิ่งหากเป็นดินร่วนซุยยิ่งมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่สามารถทนทานต่อสภาพอากาศ ชอบแสงแดดจัด เหมาะกับการปลูกในประเทศไทย

เนื่องจากต้นเสลาเป็นไม้ทรงพุ่มแน่น ยืนต้นสูง เมื่อต้นเกิดการผลัดใบจะทิ้งใบลงสู่พื้นเต็มบริเวณโคนต้น หลังจากนั้นดอกจะออกตามธรรมชาติ หลังจากดอกออกแล้วเมื่อถึงเวลาดอกจะร่วงโรยลงสู่พื้นเช่นเดียวกัน 

ดังนั้น หากใครคิดจะนำต้นเสลาไปปลูกบริเวณรอบบ้าน อาจจะต้องมีวิธีการดูแล ทำความสะอาดพื้น และต้องทำใจกับใบและดอกที่ร่วงโรย อาจทำให้พื้นดูไม่สะอาด

ความหมาย / ความเชื่อ / ไม้มงคล

ความเชื่อ ต้นอินทรชิต (เสลา) คนไทยมีความเชื่อว่าต้นเสลาเป็นไม้มงคล หากปลูกไว้ประจำบ้านจะช่วยเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลทำให้บ้านนั้นมีฐานะสูงขึ้น และด้วยความที่ต้นเสลาถูกเรียกที่ชื่อหนึ่งว่า ต้นตะแบกขน คำว่า แบก คือ การแบกไม่ให้ตกลงมา ช่วยทำให้ฐานะมีความมั่นคง แข็งแรง แข็งแกร่ง หากปลูกไว้แล้วจะช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ มีความเจริญรุ่งเรือง ชีวิตพบเจอแต่สิ่งดี ๆ

ต้นเสลา หรือ สะ-เหลา ยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานกล้าไม้ให้แก่ชาวจังหวัดนครสวรรค์ ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 50 ปี นอกจากต้นเสลาจะเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์แล้ว ยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

✓ต้นไม้: โมกนเรศวร โมกของไทย ณ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.ตาก?

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

ต้นสัตฤาษี (ตีนฮุ้งดอย) งานวิจัย ประโยชน์ สรรพคุณ สมุนไพร?

ต้นโมกมีกี่ชนิด โมกพวง, โมกซ้อน, โมกบ้าน (โมกลา) แตกต่างกันยังไงบ้าง ราคาถูก?