วัสดุปรับปรุงดิน สารปรับปรุงดิน สารบำรุงดิน ยี่ห้อไหนดี มีกี่แบบ อะไรบ้าง วิธีใช้?
วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน หรือ สารปรับปรุงดิน คือ สารที่ได้จากธรรมชาติหรือจากสารสังเคราะห์ ที่นำมาใช้เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน หรือ ทางเคมี อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช
วัสดุปรับปรุงดินจากอินทรีย์สาร
วัสดุอินทรีย์จากวัสดุทางการเกษตรหรือจากโรงงาน อุตสาหกรรม เช่น กากมัน กากอ้อย ขุยมะพร้าว และถ่านชีวภาพ
1. วัสดุอินทรีย์จากวัสดุทางการเกษตร
วัสดุอินทรีย์จากวัสดุทางการเกษตร คือ วัสดุที่ได้ จากการไถกลบตอซัง เช่น ตอซังข้าว ตอซังข้าวโพด เศษมัน ฯลฯ ใช้เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ปรับปรุงสมบัติ ทางกายภาพของดิน ช่วยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการ เตรียมดิน การระบายอากาศในดินเพิ่มขึ้น การซึมผ่าน ของนํ้าและกา น้ำและการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น
2. ถ่านชีวภาพ (Biochar)
ถ่านชีวภาพ (Biochar) คือ วัสดุที่ผลิตจากกระบวนการ การแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) การใช้ถ่านชีวภาพ (biochar) สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงดินกรด จากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพที่เป็นด่างจัด มีความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกที่สูง ปริมาณความพรุนและจำนวนช่องว่างที่มาก จึงทำให้ ค่า pH ในดินเพิ่มขึ้น ช่วยลดความรุนแรงจากสภาพกรด ช่วยลดการเคลื่อนย้ายของโลหะหนักหรือธาตุพิษที่ ปนเปื้อนในดิน และช่วยเก็บความความชื้นในดินด้วย
3. ผลพลอยได้จากการเกษตร
ผลพลอยได้จากการเกษตร ได้แก่ ตอซังข้าว ตอซังข้าวโพด เศษมัน ฯลฯ ใช้เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ช่วยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การระบายอากาศในดินเพิ่มขึ้น การซึมผ่านของน้ำ และการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น
สารปรับปรุงดิน บำรุงดิน
วัสดุปรับปรุงดิน หรือ สารปรับปรุงดิน สามารถจําแนกได้หลายประเภท แต่ที่สามารถแยกได้ชัดเจนที่สุด คือ การจำแนกตามองค์ประกอบของสาร ได้แก่ วัสดุปรับปรุงบำรุงดินจากอนินทรีย์สาร และ วัสดุปรับปรุงดินจากอินทรีย์สาร
วัสดุปรับปรุงบำรุงดินจากอนินทรีย์สาร
วัสดุปรับปรุงดินจากหินแร่
1. หินภูเขาไฟ
หินพัมมิซ ที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า หินภูเขาไฟ ส่วนประกอบของแร่ธาตุต่างๆ หลายชนิดเบาลอยน้ำได้ มีผิวที่สาก มีรูพรุนขนาดเล็ก ๆ คล้ายฟองน้ำ สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก เหมาะกับการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ สามารถอุ้มน้ำ และปุ๋ยต่าง ๆ ได้ดี มีส่วนช่วยในการปรับปรุงการถ่ายเทอากาศ และการเคลื่อนที่ของน้ำในดิน ที่มีโครงสร้างแน่นทึบ รวมถึงช่วยลดความเป็นกรดในดินได้
2. ซีโอไลท์
ซีโอไลท์ช่วยในการดูดซับธาตุอาหาร ลดการสูญเสียธาตุอาหาร ทำให้การใช้ปุ๋ยเคมีเกิดประสิทธิภาพ ต่อพืชมากขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้ดินเนื้อหยาบที่แน่นแข็ง สามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้นพร้อม ๆ กับการมีส่วนช่วยในการ ลดความแน่นแข็งของดิน และการเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำและระบายอากาศของดินดังกล่าวไปด้วย แต่สารซีโอไลท์เป็นสารปรับปรุงดินที่มีราคาต่อหน่วยค่อนข้างสูง
3. ฟอสโฟยิปซัม
ฟอสโฟยิปซัม เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตปุ๋ยเคมี สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยธาตุรอง และสารปรับปรุงดินเค็ม ทำให้เม็ดดินมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ลดการเกิดแผ่นแข็งปิดหน้าดิน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการจัดหาและการใช้ค่อนข้างสูง
4. ยิปซัม
ยิปซัม เป็นวัสดุปรับปรุงดินที่นิยมใช้ในการปรับปรุงดินเค็ม ช่วยลดระดับความเค็มของดิน เป็นปุ๋ยให้ธาตุแคลเซียมและกำมะถัน และมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงสมบัติของดินที่มีเนื้อดินเหนียว มีความแน่นทึบสูง ให้ระบายน้ำและอากาศได้ดี
ในกรณีที่ดินมีแผ่นแข็งปิดผิวดิน (surface crust) ควรปรับปรุงด้วยการใส่ยิปซัม อัตรา 150- 300 กก. ต่อไร่ ต่อปี แต่ถ้าต้องการเสริมธาตุแคลเซียมและกำมะถัน ควรใช้อัตรา 100 กก. ต่อไร่ ต่อปี
5. วัสดุปูน
วัสดุปูน มีคุณสมบัติช่วยปรับค่าความเป็นกรดด่างในดิน นิยมใช้ในการปรับปรุงดินกรดหรือดินเปรี้ยว เพื่อลดความรุนแรงของกรด ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร พวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนิเซียม ซิลิกา โมลิบดินัม เป็นต้น
ปูนจะช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินบางชนิดให้ดีขึ้น และส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยปูนที่นิยมใช้ มีหลายชนิด เช่น หินปูนบด ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมท์
คําแนะนําในการใช้ปูน
กรณี การใช้หินปูนบดในการปรับปรุงค่าความเป็นกรดในดิน
หากใช้ปูนชนิดอื่นให้ใช้ค่าต่อไปนี้ในการคำนวณปริมาณปูน ชนิดอื่นที่นํามาใช้แทนดังนี้
- ปูนขาว = ตัวเลขในตาราง X 0.74 กิโลกรัมต่อไร่
- หินปูนเผา - ตัวเลขในตาราง X 0.56 กิโลกรัมต่อไร่
- ปูนโดโลไมท์ = ตัวเลขในตาราง X 0.92 กิโลกรัมต่อไร่
- ปูนมาร์ล = ตัวเลขในตาราง X 0.74 กิโลกรัมต่อไร่
ข้อควรระวังในการใช้ปูน
- การใช้ปูนเพื่อยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรใช้เพียงครั้งเดียว
- การใช้ปูนในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาสภาพเกินปูน ทำให้ดินมีสภาพเป็นด่าง จะเกิดผลเสียหาย ต่อพืชปลูก โดยเฉพาะในดินกรดที่มีเนื้อดินร่วนทราย จะทำให้เสียสมดุลของธาตุอาหารรองและจุลธาตุ