Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: โกสน 'สีลม' พันธุ์ลูกผสม (ชมพูพัทยา x เพชรธานี)?

โกสนพันธุ์สีลม เป็นลูกผสมระหว่างโกสนพันธุ์ชมพูพัทยา กับ โกสนพันธุ์เพชรธานี ซึ่งผสมพันธุ์โดยนายปรีชา รอดเจริญ ในสวน Croton Thai Thai

โกสนพันธุ์สีลม

โกสนพันธุ์สีลม ไม้ประดับใบสวยงาม โดยผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน คือ นายปรีชา รอดเจริญ โดยมีแหล่งที่มาและประวัติพันธุ์ โกสนพันธุ์สีลม เป็นลูกผสมระหว่างโกสนพันธุ์ชมพูพัทยา กับ โกสนพันธุ์เพชรธานี ซึ่งผสมพันธุ์โดยนายปรีชา รอดเจริญ ในสวน Croton Thai Thai เมื่อปีพ.ศ. 2552 ซึ่งคู่ผสมนี้ได้ถูกคัดเลือกไว้เพียงต้นเดียว

โกสนพันธุ์สีลม ลูกผสมระหว่าง โกสนพันธุ์ชมพูพัทยา กับ โกสนพันธุ์เพชรธานี

ต่อมาในปีพ.ศ. 2553 จึงได้ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่งไว้ประมาณ 10 ชั่ว เพื่อประเมินความดีเด่น หลังจากลักษณะประจำพันธุ์มีความคงตัว โดยพบว่าลักษณะประจำพันธุ์ มีความสม่ำเสมอ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ มีชื่อไทยว่า โกสน ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum variegatum (L.) Rumph. ex A. Juss. วงศ์ Euphobiaceae ไม้ยืนต้น

รากเป็นระบบรากแก้ว รากแขนงแผ่ขยายรอบลำต้น ขนาดทรงพุ่มมีเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม 34.0 เซนติเมตร ลำต้นอายุประมาณ 5 เดือนจากการชำสูงประมาณ 22.2 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางโคนต้น 0.8 เซนติเมตร ลำต้นเต็มวัยสีม่วงแดงเข้ม (ประมาณ RHSCC# 183A) เมื่อลำต้นแก่จะมีการแตกเป็นเม็ดคอร์ก

มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงรอบต้น จานวน 8 ใบ/รอบ ลำต้นยาว 3.5 เซนติเมตร/รอบ ใบอ่อนใบที่ 3 จากยอด (นับเฉพาะใบที่กว้างกว่า 2.0 เซนติเมตร) รูปขอบขนาน (oblong) กว้าง 11.8 เซนติเมตร ยาว 16.8 เซนติเมตร ปลายใบมน (obtuse) หนีบเล็กน้อยและกระดกขึ้น ย่นเล็กน้อย โคนใบรูปหัวใจ (cordate) ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียว (ประมาณ RHSCC#141A) ด่างสีเหลือง (ประมาณ RHSCC# 5B) ใกล้เส้นใบและขยายสู่บริเวณขอบใบ โดยด่างบริเวณขอบใบกว้าง 0.25 เซนติเมตร

แผ่นใบด้านล่างสีเขียวอมเทา (ประมาณ RHSCC#138B) ด่างสีส้มอ่อน (ประมาณ RHSCC# 27C) บริเวณเส้นใบและขยายสู่บริเวณขอบใบ เส้นกลางใบกว้าง 0.25 เซนติเมตร ยาว 9.1 เซนติเมตร และปลายเส้นใบส่วนที่ไม่ติดแผ่นใบ ยาว 0.9 เซนติเมตร เส้นกลางใบด้านบน มนนูน สีเหลืองอมเขียว (ประมาณ RHSCC# 154B) เส้นใบสีเขียวอมเหลือง (ประมาณ RHSCC# N144B) เส้นกลางใบด้านล่างแบนเรียบใกล้ระดับแผ่นใบ สีเขียว (ประมาณ RHSCC# 145B) เส้นใบสีเขียวอ่อน (ประมาณ RHSCC# 145C)

ก้านใบกว้าง 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร ด้านบนสีเขียวอมเหลืองอ่อน(ประมาณ RHSCC# N144D) มีขีดสีเขียว (ประมาณ RHSCC# 141C) ก้านใบด้านล่างสีเขียวอมเทาอ่อน (ประมาณ RHSCC# 145C) โคนก้านใบมีจุดละเอียดสีแดงเข้ม (ประมาณ 11RHSCC# 44B) ใบเต็มวัยรูปไข่ (ovate) กว้าง 10.0 เซนติเมตร ยาว 14.4 เซนติเมตร

ปลายใบมน (obtuse) โคนใบรูปหัวใจ (cordate) ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม (ประมาณRHSCC# 139A) ด่างสีแดงอมชมพู (ประมาณ RHSCC# 51A) จากบริเวณปลายเส้นใบสู่ขอบใบ ด้านล่างสีม่วงแดงเข้ม (RHSCC# 187A) ด่างแบบป้ายสีแดงอมม่วงอ่อน (อ่อนกว่าRHSCC# 53D) จากบริเวณปลายเส้นใบสู่ขอบใบ

เส้นกลางใบกว้าง 0.25 เซนติเมตร ยาว 8.6เซนติเมตร และปลายเส้นใบส่วนที่ไม่ติดแผ่นใบ ยาว 0.9 เซนติเมตร เส้นกลางใบด้านบนมนนูน สีแดงเข้ม (ประมาณ RHSCC# 45B) เส้นใบสีแดง (ประมาณ RHSCC# 45C) เส้นกลางใบด้านล่างแบนเรียบใกล้ระดับแผ่นใบ สีเขียวอ่อน (ประมาณ RHSCC# 149D) ด้านโคนมีจุดประสีแดงอมม่วง (ประมาณ RHSCC# 53D)

เส้นใบด้านล่างสีเหลืองอ่อน(ประมาณ RHSCC#149D) ก้านใบกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5.9 เซนติเมตร ก้านใบด้านบนสีเขียว(ประมาณ RHSCC# 143C) จุดประสีแดงเข้ม (ประมาณ RHSCC# 45B) ก้านใบด้านล่างสีเขียว ประมาณ RHSCC# 143C) จุดประสีแดงเข้ม (ประมาณ RHSCC# 45B) หนาแน่นช่วงกลางก้านใบ

หมายเหตุ: เทียบสีด้วย The 5th Edition Royal Horticultural Society Color Chart 2012 (RHSCC)

ที่มา : สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม