ต้นอ่อมแซบ ลักษณะ ประโยชน์ กินเป็นผักได้ สรรพคุณ วิธีปลูก?
ต้นอ่อมแซบ
ต้นอ่อมแซบ หรือ บุษบาริมทาง และ บาหยา ล้วนเป็นชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Asystasia gangetica แต่แยกเป็นชนิดย่อย คือ บาหยา Asystasia gangetica subsp. micrantha (Nees) Ensermu และ อ่อมแซบ Asystasia gangetica subsp. gangetica ซึ่งอยู่ในวงศ์ Acanthaceae
ข้อมูลทั่วไป
เป็นพืชต่างถิ่น มีถิ่นกำเนิดเดิมมาจากทวีปแอฟริกาในเขตร้อน บาหยาสายพันธุ์นี้ถูกปรับปรุงพันธุ์เป็นไม้ประดับ
มีทั้งที่ปลูกและขึ้นได้เองตามธรรมชาติทั่วประเทศ ชอบที่กลางแจ้ง ที่ความสูงไม่เกิน 1,500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุกอายุหลายปี ลําต้นทอดเลื้อยปลายกิ่งตั้งชูขึ้น สูง 20-50 เซนติเมตร ลําต้นมีขนเล็กน้อย ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ฝักและช่อดอกมีขนยาวหรือขนสั้นนุ่มประปราย-หนาแน่น
ใบอ่อมแซบ (บาหยา) เรียงตรงข้ามตั้งฉาก รูปไข่กว้าง หรือรูปรี ยาว 2-7 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน-เว้ารูปหัวใจ แล้วสอบเรียวหาก้านใบ ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นละเอียด ก้านใบยาว 3-15 มม. เนื้อใบบางอ่อนนุ่ม
ดอกอ่อมแซบ (บาหยา) ช่อดอกแบบกระจะ ออกเป็นช่อตั้งตรงยาว 3-15 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาวไม่เกิน 2 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกถึงโคน รูปใบหอกเรียว ยาว 5 มม. กลีบดอกสีขาว สีเหลืองอ่อน สีชมพู หรือสีม่วง รูปปากแตร ยาว 2.5-3.5 ซม. โคนเป็นหลอดสีอมเขียว ปากหลอดกว้าง 1 ซม. ปลายแยก 5 แฉก ๆ รูปกลม
ผลเป็นฝักรูปกระบอง ยาว 1.5-2.5 ซม. แก่แตกอ้าสองซีกแบบฝักต้อยติ่ง
วิธีปลูกอ่อมแซบ
ขยายพันธุ์ได้ดีด้วยเมล็ด และการแตกแขนงเลื้อยปกคลุมดินเป็นกลุ่มใหญ่ ชอบสภาพอากาศที่ชุ่มชื้นทั้งที่โล่งหรือที่รําไร ตามชายป่าสวนผลไม้ สวนยางพารา, เมล็ดสามารถติดไปกับดินมูลสัตว์และกระถางต้นไม้
ประโยชน์และสรรพคุณ
ใบอ่อนกินเป็นผักได้ ใบรสจืด มัน ทานเป็นผักสดหรือประกอบอาหารได้ มีสรรพคุณ ใบสด
รสเย็นจืด ทานเป็นผัก แก้ไข้ตัวร้อน