Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: ราชาวดีหลวง พืชหายากของไทย ประโยชน์ ไม้ประดับ?

ข้อมูลต้นราชาวดีหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ พรรณไม้พื้นเมืองไทย พบทางภาคเหนือ ลักษณะ ไม้พุ่ม ดอกสีชมพูอมม่วง ประโยชน์ ไม้ดอกไม้ประดับ, การปลูก ชอบแดดจัด อากาศเย็น

ราชาวดีหลวง

ราชาวดีหลวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Buddleja macrostachya Benth. 

อยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae

ข้อมูล ต้นราชาวดีหลวง ลักษณะ/สรรพคุณ, วิธีปลูก, ดูแล, ประโยชน์

ถิ่นอาศัย พบขึ้นบนสันและยอดเขา ที่ระดับความสูง 1,600 – 2,285 เมตร แหล่งที่พบ กระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย สิขิม บังคลาเทศ พม่า ภูฏาน จีน และเวียดนาม ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย สำหรับสถานภาพในไทย ถือว่าเป็นพืชหายาก

รายละเอียดเพิ่มเติม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลักษณะอยู่อาศัย : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 4 เมตร ทุกส่วนมีขนรูปดาว กิ่งเป็นเหลี่ยมหรือมีครีบ
  • ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม
  • แผ่นใบ : แผ่นใบรูปไข่แกมขอบขนานหรือรูปขอบขนาน ขนาด 1-7 x3.5-17 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนสอบเรียบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล้างมีขนหนาแน่น ก้านใบสั้น
  • ดอก : ดอกสีชมพูอมม่วงออกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายยอด ช่อยาว 5.5-26 เซนติเมตร
  • กลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงสีเขียว รูประฆัง ยาว 5 มิลลิเมตร ปลายแยก 4 แฉก
  • กลีบดอก : กลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 7-11 มิลลิเมตร ปลายแยก 4 แฉก รูปกลม ขอบเป็นคลื่น
  • เกสรเพศผู้ : เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดบนหลอดกลีบดอก ไม่มีก้านชูอับเรณู อับเรณูรูปขอบขนาน
  • เกสรเพศเมีย : รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกรวยหรือรูปรี มีขนรูปดาวหนาแน่น ยอดเกสรเพศเมียรูปกระบอง
  • ผล : ผลแห้งแตก รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 10 มิลลิเมตร
  • เมล็ด : เมล็ดจำนวนมาก รูปไม่สามาตร ขนาดกว้าง 0.3-1 มิลลิเมตร ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีปีก

วิธีการปลูกเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์

  • วิธีการปลูก : ลักษณะแวดล้อมที่เติบโตได้ดี ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แดดจัด อากาศเย็น
  • การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
  • ประโยชน์ : มีศักยภาพพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

สถานที่เก็บตัวอย่าง/บันทึกภาพ : ดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่

เอกสารอ้างอิง

  • ราชันย์ ภู่มา. 2551. พืชหายากของประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ. 230 หน้า.
  • Opie, P. and Parnell, J. 2002. BUDDLEJACEAE. in: T. Santisuk and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand 7(4): 655-661.
ที่มา: Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization)

รายละเอียดเพิ่มเติม