✓ต้นไม้: 'แสงแดง' (เฮาบาฮัว) ไม้พื้นเมืองของไทย ไม้หายาก?
ข้อมูล ต้นแสงแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Colquhounia coccinea var. mollis วงศ์ Lamiaceae เป็นไม้ไทย ลักษณะ Shrub ดอกสีแดง ประโยชน์ ไม้ดอกไม้ประดับ, การปลูกต้นแสงแดง ต้องการอากาศเย็นในเวลากลางคืน
แสงแดง
แสงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colquhounia coccinea var. mollis (Schltdl.) Prain อยู่ในวงศ์ Lamiaceae มีชื่ออื่น คือ เฮาบาฮัว, Himalayan mint shrub
ข้อมูลทั่วไป ถิ่นอาศัย, แหล่งที่พบ
ถิ่นอาศัย ขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูน ระดับความสูง 1,600-2,200 เมตร แหล่งที่พบ กระจายพันธุ์ที่ ภูฏาน อินเดีย เนปาล พม่า และจีน ในไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับสถานภาพในไทย เป็นพืชหายาก ปัจจุบันถูกคุกคามจากไฟป่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลักษณะอยู่อาศัย : ไม้พุ่ม
- ลักษณะลำต้น : ลำต้นสูง 1-4 เมตร กิ่งมีขนสั้นหนานุ่มสีน้ำตาลแดงปกคลุม
- ใบ : ใบเดี่ยว รูปไข่หรือแกมรูปใบหอก ขนาด 2.5-4.5 x7-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบจักมน
- แผ่นใบ : แผ่นใบด้านล่างมีขนรูปดาวสั้นนุ่ม สีน้ำตาลแดง
- ใบประดับ : ใบประดับคล้ายใบ ก้านดอกสั้นมากหรือไม่มี
- ดอก : ดอกออกเป็นช่อกระจุกรอบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 6-20 ดอก มีขนรูปดาวหรือไม่มี
- กลีบเลี้ยง : กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
- กลีบดอก : กลีบดอกสีแดงอมส้ม ยาว 2-2.5 เซนติเมตร มีขนรูปดาว หลอดกลีบดอกยาว 1.7-2.3 เซนติเมตร โค้ง กางออกเล็กน้อย กลีบปากบนตรง รูปไข่ หยัก 2 พู ตื้นๆ กลีบปากล่างแยกเป็น 3 กลีบ รูปไข่ แผ่ออก
- เกสรเพศผู้ : เกสรเพศผู้มีสองคู่ยาวไม่เท่ากัน
- เกสรเพศเมีย : รังไข่มีตุ่มกระจาย
- ผล : ผลแห้งเปลือกแข็งเมล็ดล่อน รูปใบหอกแกมไข่กลับ
วิธีการปลูกเลี้ยงและการนำมาใช้ประโยชน์
- วิธีการปลูก : ลักษณะแวดล้อมที่เติบโตได้ดี ใช้วัสดุปลูกที่มีอินทรียวัตุสูง ระบายน้ำดีและต้องการอากาศเย็นในเวลากลางคืน
- การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ปักชำ
- ประโยชน์ : มีศักยภาพพัฒนาเป็นไม้ประดับ
สถานที่เก็บตัวอย่าง/บันทึกภาพ: ดอยเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่
เอกสารอ้างอิง:
- ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้. 2540. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์. โรงพิมพ์ประชาชน จำกัด
-
X. Li and I.C. Hedge. 1994. Lamiaceae. Flora of China. 17: 50-299.
ที่มา: Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization)
ภาพ: สารานุกรมพืชในประเทศไทย กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้