✓ต้นไม้: ผักก้านจอง (บอนจีน, ตาลปัตรฤๅษี) ประโยชน์ วิธีปลูก
*ดูราคาต้นไม้ ขายพันธุ์ไม้ หายาก ราคาถูก ...
👉 ดูเพิ่มเติมที่ร้านค้า

ผักก้านจอง (Yellow velvetleaf)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (ชื่อพฤกษศาสตร์)
ผักก้านจอง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Limnocharis flava (L.) Buchenau จัดเป็นพืชในสกุล Limnocharis อยู่ในวงศ์ (Alismataceae) ซึ่งพันธุ์พืชนี้ ทางเราจัดไว้ในกลุ่มสมุนไพร
ชื่อพ้อง (Synonyms)
- Alisma flavum L.
- Damasonium flavum (L.) Mill.
- Damasonium maximum Burm. ex Steud.
- Limnocharis emarginata Humb. & Bonpl.
- Limnocharis flava var. indica Buchenau
- Limnocharis plumieri Rich.
ชื่อไทย
ชื่อที่เป็นทางการ หรือ ชื่อราชการของพืชชนิดนี้ มีชื่อไทยว่า บอนจีน (อ้างอิงจากข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย; เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557)
ต้นบอนจีน ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น ว่า ตาลปัตรฤาษี นางกวัก (ภาคกลาง), บัวค้วก (ภาคเหนือ), บัวลอย (แม่ฮ่องสอน), บอนจีน (ปัตตานี), ผักกันจ้อง ผักคันจ้อง ผักก้านจอง (อีสาน) และมีชื่อสามัญ (ภาษาอังกฤษ) ว่า Yellow velvetleaf, Yellow sawah lettuce, Yellow bur-head
นิเวศวิทยา
ต้นผักก้านจอง ในประเทศไทยพบขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะ นาข้าว หรือขอบบึง ที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 ซม. ในที่โล่งแจ้ง
การกระจายพันธุ์
การกระจายพันธุ์ของผักก้านจอง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ปัจจุบันกลายเป็นวัชพืชในนาข้าว พบทั่วประเทศไทย และเขตร้อนทั่วโลก
ผักก้านจอง ออกดอกเดือนไหน
ต้นผักก้านจอง ออกดอกและผลตลอดปี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักก้านจอง
- ลักษณะวิสัย: ไม้น้ำล้มลุก
- ลำต้น: มีรากยึดติดกับพื้นดินท้องน้ำ ต้นสูง 40-100 ซม.
- ใบ: ก้านใบและก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยม ใบยื่นพ้นน้ำ รูปไข่กว้าง ยาว 10-25 ซม. ปลายกลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบกลมหรือหยักรูปหัวใจ เนื้อใบอ่อนนุ่ม เกลี้ยงและมีไขเคลือบนวลไม่ติดน้ำ เส้นแขนงใบออกจากโคนใบข้างละ 3-5 เส้น เส้นใบย่อยเรียงตามแนวขวางจำนวนมาก ก้านใบยาว 15-80 ซม. โคนก้านใบสีม่วงอมน้ำตาลและมีกาบ
- ดอก: ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ออกที่ยอด มี 3-12 ดอก ก้านช่อยาว 10-60 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 3 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง มี 3 กลีบ รูปไข่กว้างเกือบกลม ยาว 2-2.5 ซม. เมื่อดอกบานกว้าง 3-5 ซม. เกสรเพศผู้สีเหลือง มีจำนวนมาก รูปแถบยาว
- ผล: ผลแตกแนวเดียวจากด้านใน รูปครึ่งวงกลม ผลย่อยยาว 1-1.6 ซม.
- เมล็ด: มีเมล็ดจำนวนมากรูปตัวยู
วิธีปลูกและการขยายพันธุ์
- วิธีการปลูก : เป็นวัชพืชในนาข้าว ร่องนํ้าหรือพื้นที่ชุ่มนํ้าที่นํ้าลึกไม่เกิน 1 ฟุต
- การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ได้ดีด้วยการแตกหน่อ และเมล็ดที่หล่นตกค้างในดินหรือไหลไปตามนํ้า.
ประโยชน์
การใช้ประโยชน์ของผักก้านจอง สามารถนำมาเป็นอาหาร โดยใช้ช่อดอกอ่อน ใบอ่อน และก้านอ่อน มีเนื้อกรอบ รสขมเล็กน้อย เป็นผักสดกินแกล้มส้มตำ หรือลวกจิ้มน้ำพริก หรือย่างกินกับลาบปลาตอง