Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นอินทผาลัม พันธุ์บาฮี อินทผาลัมสด กินผลสด รสชาติดี ราคา?

อินทผาลัมพันธุ์บาฮี Barhee หรือ Barhi เป็นสายพันธุ์อินทผาลัมสด หรือเหมาะสำหรับใช้บริโภคผลสด ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศอิรัก และมีการนำไปปลูกแพร่หลายในหลายประเทศ

อินทผาลัมบาฮี

ลักษณะผลของอินทผาลัมพันธุ์บาฮีนี้ มีลักษณะกลมรีเล็กน้อยเมื่อผลแก่จะมีสีเหลืองอ่อน และสีเหลืองเข้มขึ้น หรือเป็นสีเหลืองแก่เมื่อแก่เต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การรับประทานเนื้อผลสด มีรสชาติมัน กรอบ หวานเล็กน้อย ไม่ติดฝาด เมื่อแก่เต็มที่

ต้นอินทผาลัมบาฮี ต้นกล้า ต้นอินทผาลัมสด พันธุ์บาฮี แอปเปิ้ลแห่งตะวันออกกลาง

ต้นอินทผาลัม พันธุ์บาฮี อินทผาลัมสด กินผลสด รสชาติดี ราคา..

มีการขนานนาม อินทผาลัมพันธุ์บาฮี ว่าเป็น "แอปเปิลแห่งตะวันออกกลาง" ในประเทศไทยจะพบว่า มีการนำเข้าผลสดของอินทผาลัมพันธุ์บาฮี ในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน และในช่วงเดือนรอมฎอน มากที่สุด โดยส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศอินเดีย

รายละเอียดเพิ่มเติม

ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ารสชาติของผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮีนี้ เหมาะกับความนิยมบริโภคในเมืองไทยนั่นเอง จึงมีเกษตรกรนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และก็มีเกษตรกรไทยหลายรายที่ประสบผลสำเร็จจากการปลูกอินทผาลัมสายพันธุ์บาฮีนี้มากมาย

โดยพบว่า เมื่อปลูกลงในแปลงปลูกแล้วเพียง 2–3 ปี ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลสดได้แล้ว ขณะที่มีรายงานว่าสำหรับในประเทศอิรัก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดใช้เวลา 6 – 7 ปี จึงจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

ในการติดตามศึกษาการพัฒนาการของผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮี ได้รับความอนุเคราะห์และร่วมติดตามข้อมูล จากสวนธนภรณ์ อินทผาลัมภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยคุณอร่าม เชื้อประสาท และคุณทรงยศ รุจิสิริ

โดยที่สวนแห่งนี้นั้น คุณทรงยศเป็นผู้สั่งนำเข้าต้นกล้าเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มาจากบริษัท ดีพีดี (DPD) ที่ประเทศอังกฤษ เป็นสายพันธุ์บาฮี ต้นเพศเมียปลูกในแปลงได้ 12 เดือน (หลังจากการอนุบาลกล้าที่นำเข้ามาได้ 8 เดือน) และมีการผสมละอองเกสร โดยละอองเกสรจากต้นอินทผาลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสายพันธุ์ Ganami หรือ Ghanami สีเขียว

หลังจากทำการผสมเกสรแล้วราว 5 สัปดาห์จะดำเนินการวัดขนาดความยาวของผล และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวขวางของผล ค่าเฉลี่ยเป็นมิลลิเมตร จากจำนวนผลที่ตรวจวัด 20 ผล ทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง จนผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮีมีอายุ 176 วัน หลังการผสมเกสรซึ่งผลอินทผาลัมสุกแก่พร้อมเก็บเกี่ยวพอดี

ขณะเดียวกัน ก็มีการผ่าผลเพื่อติดตามการพัฒนาเนื้อผลภายใน และบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนินการ ปรากฏตามตารางและกราฟที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาด้านความยาวของผลอินทผาลัมพันธุ์ บาฮี ในช่วง 37 – 70 วัน

หลังการผสมเกสร จะมีการเพิ่มขนาดความยาวอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาขนาดความยาวของผล จะเป็นไปอย่างชะลอลง เมื่อผลอินทผาลัมมีอายุ 80 – 120 วัน หลังการผสมเกสร โดยที่ไม่พบมีการขยายขนาดความยาวของผลอินทผาลัม เกิดขึ้นเลยหลังจากผลอินทผาลัมมีอายุได้ 120 วัน หลังการผสมเกสร

ในส่วนการเพิ่มขนาดความกว้าง หรือเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวขวางของผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮีนั้น พบว่า การเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นในช่วง 35 – 90 วัน หลังการผสมเกสร

จากนั้นการเพิ่มขนาดความกว้างของผลอินทผาลัมจะชะลอลงในช่วงผลอินทผาลัมมีอายุ 100 – 120 วัน และการขยายขนาดความกว้างของผลอินทผาลัม จะหยุดเมื่อผลอินทผาลัมมีอายุได้ 120 วัน หลังการผสมเกสร

ด้านการพัฒนาการขององค์ประกอบภายในของผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮี นั้น พบว่า พัฒนาการของการสร้างเมล็ดในผลนั้น สังเกตได้เมื่อผลอินทผาลัมมีอายุ50 วัน หลังการผสมเกสร และการสร้างเนื้อผล (pulp) และเมล็ด (seed หรือ kernel ) จะสังเกตและแยกได้ชัดเจน เมื่อผลอินทผาลัมมีอายุ 65 วัน หลังการผสมเกสร 

และเมื่อผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮีมีอายุได้ 90 วัน หลังการผสมเกสร เมล็ดจะแข็ง พร้อมกับการพัฒนาของเนื้อเยื่อส่วนห่อหุ้มเมล็ด (Endocarp) พบสังเกตเห็นได้ในขณะที่ส่วนของผิวผลภายนอก (Epicarp หรือ skin) นั้น พบว่าจะเริ่มมีการพัฒนาจากสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เมื่อผลอินทผาลัมมีอายุ ได้ราว 120 วัน หลังการผสมเกสร

การพัฒนาสีเหลืองบนผิวผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮี จะเพิ่มขึ้นเมื่อผลอินทผาลัมมีอายุ 130 วัน หลังการผสมเกสรกระทั่งผิวผลอินทผาลัมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ครอบคลุมราว 95% ของผิวผลอินทผาลัม

เมื่อผลอินทผาลัมมีอายุ 145 วัน หลังการผสมเกสร จากนั้นผิวผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮีก็จะเริ่มพัฒนาสีเหลืองเป็นสีเหลืองที่เข้มหรือแก่ทั้งผลและพร้อมเก็บเกี่ยว เมื่อผลอินทผาลัมมีอายุได้175 วัน หลังการผสมเกสร 

ต้นอินทผาลัม พันธุ์บาฮี

อินทผาลัม ชื่อวิทยาศาสตร์

อินทผาลัม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phoenix dactyifera L. จัดอยู่ในวงศ์ Arecaceae เป็นพืชยืนต้นที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารในแถบประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (Middle East and North Africa, MENA) ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลทราย

โดยมีความเชื่อว่าพืชชนิดนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับ Phoenix dactlos ซึ่งชาวกรีกให้ความหมายในภาษาละตินว่า นิ้วสีม่วง หรือนิ้วสีแดง (purple or red finger)

ประวัติ อินทผาลัม

ในราว 100 ล้านปีที่ผ่านมา พบว่า 90% ของอินทผาลัม เติบโตและกระจายตัวอยู่ในแถบ MENA ของโลก สำหรับคำว่า "Phoenix" เป็นชื่อนกของเทพแห่งไฟในตำนานกรีกโบราณ ซึ่งมีลักษณะขนสีทอง แวววาว และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ ยั่งยืน นิรันดร์

ตำนานกล่าวว่า นกชนิดนี้เมื่อมีอายุถึง 500 ปีจะเผาตัวเองจนเป็นเถ้า แล้วถือกำเนิดขึ้นใหม่จากกองเถ้านั้น กลายเป็นนกหนุ่ม โดยน้ำตาของนกชนิดนี้ มีสรรพคุณในการเยียวยารักษาอย่างวิเศษ

ส่วนคำว่า "dactylifera" มาจากภาษากรีกว่า "daktylos" ที่มีความหมายว่า date หรือ finger เนื่องเพราะลักษณะผลของอินทผาลัม มีรูปร่างคล้ายกับลักษณะปลายนิ้วมือ คือมีทรงรียาวนั่นเอง และนี่คงเป็นที่มาของคำเรียกชื่ออินทผาลัมในภาษาอังกฤษว่า "Date Palm" 

ส่วนคำเรียกในภาษาไทย "อินทผาลัม" มาจากคำบาลี "อินท" (inda) หรือสันสกฤต อินทร (indra) ซึ่งหมายถึงพระอินทร์นำมารวมกับคำในภาษาสันสกฤต "ผลม" (plalam) ซึ่งหมายถึงผลไม้ จึงสามารถแปลความของคำว่า "อินทผาลัม" ว่าหมายถึง "ผลไม้ของพระอินทร์"

แม้จะมีรายงานการค้นพบฟอสซิลของพืชสกุล "Phoenix" ในเท็กซัสอเมริกาที่มีอายุราว 50 ล้านปี และก็มีการค้นพบพืชสกุลเดียวกันในทวีปออสเตรเลียด้วยเช่นกัน แต่หลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่ามีการเพาะปลูกอินทผาลัม ราว 7,000 ปีก่อนคริสตกาลแถบหุบเขา Indus ในเมือง Mehrgarh ของประเทศปากีสถานในปัจจุบัน 

ส่วนหลักฐานการเพาะปลูกและการนำมาบริโภคนั้น พบหลายประเทศในแถบตะวันออกกลางและตอนเหนือของแอฟฟริกา เช่น อียิปต์ตุรกีซาอุดิอะราเบีย อิรักอิหร่าน มีการเพาะปลูกมากว่า 2,000 ปีและมีหลากหลายสายพันธุ์ที่แพร่กระจายออกไปยังดินแดนอื่นๆของโลก ทั้งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และอเมริกา

ในราวปีค.ศ.1765 ชาวสเปนได้มีการนำอินทผาลัมเข้าไปปลูกในแถบเม็กซิโกและแคลิฟอร์เนีย ด้วยเหตุผลที่อินทผาลัมเป็นไม้ผลที่เก่าแก่ยาวนาน จึงมีความเกี่ยวข้องและกล่าวถึงอยู่ในบันทึกหรือคัมภีร์ของหลายศาสนา เช่น ยูดายคริสต์และอิสลาม

โดยจะพรรณนาถึงคุณประโยชน์ คุณค่าอันมหัศจรรย์ของผลอินทผาลัม เฉพาะในศาสนาอิสลามนั้น อินทผาลัมไม่ได้ถูกบริโภคเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น แต่เป็นผลไม้ที่นิยมแพร่หลายตลอดทุกฤดูกาล และหลายประเทศในตะวันออกกลาง ได้จัดให้อินทผาลัมเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้มหาศาลแก่ประเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อินทผาลัม

อินทผาลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกภาษาถิ่นคือ khajji หรือ khajoor ลักษณะเป็นต้นเดี่ยวและสามารถแตกหน่อได้ ลำต้นสูงสุด ประมาณ 21-23 เมตร ขนาดของลำต้น มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 30-50 เซนติเมตร

มีกาบก้านใบห่อหุ้มลำต้นมีใบบนลำต้น ประมาณ 40-60 ก้าน ใบ ก้านทางใบมีหนามแหลมและยาว 2-3 นิ้ว ความยาวของทางใบ ประมาณ 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก โดยมีใบย่อยพุ่งออกมาหลายทิศทาง

อินทผาลัมเป็นพืชยืนต้นที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันคนละต้น ช่อดอกจะออกเป็นจั่นเหมือนมะพร้าวโดยแทงออกจากบริเวณโคนใบหรือสะโพกทางใบนั่นเอง เมื่อพร้อมจะผสมเกสรทั้งจั่นดอกเพศผู้และเพศเมียจะแตกปริแล้วแผ่ดอกเป็นทะลายช่อดอก

เมื่อมีการติดผลและผลพัฒนาขึ้นทะลาย ช่อผลก็จะขยายออกและมีน้ำหนักมาก ทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียนั้นมีรูปร่างต่างกันมาก โดยดอกเพศเมียจะมีลักษณะเป็นปุ่มหรือตุ้มเรียงกันในก้านช่อดอกย่อยมีสีเหลืองซีด ที่ปลายของตุ่มดอกจะมีส่วนรับละอองเกสร หรือ Stigma อยู่ 3อัน ในดอก ซึ่งแสดงว่าในแต่ละตุ่มดอกจะมีรังไข่ (ovary) อยู่3 อัน

ส่วนดอกเพศผู้ แม้จะปรากฎอยู่บนก้านช่อดอกย่อยคล้ายกับดอกเพศเมีย แต่จะมีลักษณะรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งเมื่อเปิดออก จะพบมีอับละอองเกสร (anther) อยู่ 3 อัน และมีผงละอองเกสรสีขาวอมเหลืองบรรจุอยู่ภายใน

ความยาวของก้านช่อดอกย่อยของเพศเมียจะมีความยาวราว 30-50 เซนติเมตร ขณะที่ความยาวของก้านช่อดอกย่อย ของดอกเพศผู้จะมีความยาวราว 30 - 40 เซนติเมตร

และเนื่องจากอินทผาลัมเป็นพืชที่มีเพศของดอกแยกกันอยู่ และละอองเกสรเพศผู้ยังมีอิทธิพลต่อทั้ง ขนาดคุณภาพและอายุการเก็บผลอินทผาลัม เราอาจเรียกลักษณะแบบนี้ว่า "เดชบิดร" หรือ metazenia นั่นเอง

ดังนั้นการช่วยผสมเกสร และการตัดแต่งช่อผล จึงเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตอินทผาลัม และให้ผลดีกว่าการปล่อยให้มีการผสมเกสรเองตามธรรมชาติ

ผลอินทผาลัมหลังจากผสมติดแล้ว รังไข่ของดอกเพศเมียจะเบียดและแข่งขันกันจนมีเพียงรังไข่เดียว ที่จะสามารถพัฒนาเป็นอินทผาลัมที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีลักษณะพัฒนาเป็นสีเขียวเข้ม ให้สังเกตได้จากนั้น ผลอินทผาลัมก็จะพัฒนาเติบโตจนมีอายุได้ 150 - 170 วัน ก็จะสามารถสุกและเก็บเกี่ยวได้

ขนาด สีผล และคุณภาพก็จะแตกต่างออกไปตามสายพันธุ์เช่น สายพันธุ์ที่นิยมบริโภคเป็นผลแห้ง เช่น Ajwah medjool, Khalas, shishi เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์ที่บริโภคได้ทั้งผลสดและผลแห้ง เช่น khoneizi, Zamil และ Barhee เป็นต้น

หวังว่าข้อมูลในการติดตามศึกษาพัฒนาการของผลอินทผาลัมพันธุ์บาฮี ครั้งนี้ ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2562 และเสร็จสิ้นการติดตามศึกษา เมื่อเดือน สิงหาคม 2562

คงพอเป็นแนวทางในการปฏิบัติดูแลผลอินทผาลัมที่ปลูกในเมืองไทยได้บ้าง และเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการปลูกอินทผาลัม ให้เป็นผลไม้ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยต่อไปในอนาคต 

อ้างอิง

  • บทความโดย ผศ.ดร.สุนทร พิพิธแสงจันทร์ จาก ข่าวสารสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
  • ภาพ : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

รายละเอียดเพิ่มเติม