Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ประโยชน์ของพืชวงศ์ปาล์ม เป็นอาหาร ไม้ประดับ ปาล์มน้ำมัน?

ฉบับนี้ผมจะมาเล่าความเป็นมาของผลไม้ไทย ที่ชื่อว่า มะพร้าว และญาติ ๆ ของมันที่เป็นนพืชต่างถิ่นในวงศ์ปาล์ม (Arecaceae = อรีคาซีอี้ หรือรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Palmae = ปาล์มมี่) ที่พี่น้องชาวไทยน่าจะคาดไม่ถึงว่าเป็นพืชต่างถิ่นด้วยหรา ???

ประโยชน์ของพืชวงศ์ปาล์ม

ประโยชน์ของพืชวงศ์ปาล์ม ไม้ผล ไม้ประดับ

พืชวงศ์ปาล์ม จําแนกได้ง่ายมากครับ ใครเห็นปุ๊บก็น่าจะเดาออก อันดับแรกให้นึกถึงต้นมะพร้าวและต้นตาล  เป็นตัวอย่างก่อนเลยครับ ลองหาดต้นไม้ต่างๆ ว่ามีลักษณะเหล่านี้ไหม

รายละเอียดเพิ่มเติม

  1. ลําต้นมีข้อและมีปล้องแกนลำต้นด้านในตัน และไม่มีการเจริญขยายเนื้อไม้ออกทางด้านข้าง
  2. ใบรปผ่ามือแบบใบตาล หรือรปขนนกแบบใบมะพร้าว
  3. โคนก้านใบแผ่เป็นกาบมาก-น้อย อาจมีรกสานกัน หรือเป็นหนามแบบพวกหวายก็ได้
  4. ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ
  5. ผนังผลชั้นในมักมีกะลาแข็งห่อหุ้มจาวหรือใบเลี้ยง 1 ใบสีขาว
  6. ระบบรากแบบรากฝอยจํานวนมาก

รอเอาทฤษฎีนี้ไปทดลองค้นหาต้นไม้ทีโรงเรียนน้องดูนะครับ ว่ามีพืชวงศ์ปาล์มที่อยู่รอบตัวเรามากแค่ไหน

พืชวงศ์ปาล์มที่อยู่ใกล้ตัวและคนไทยรู้จักกันมาแต่โบราณ น้องๆ หลายคนก็น่าจะเคยเห็นนั้น ก็คือ มะพร้าว ตาล (โตนดในภาษาภาคใต้และเพชรบรี) หมาก จาก สาคู ค้อ (สิเหรงในภาษา ภาคใต้ตอนล่าง) ค้อพรุ หรือชะโนด (ภาษาอีสาน) มากมายครับ

วันนี้ก็สาธยายไม่หมด ที่พูดมาแค่ 7 ชนิดนี้ มี 3 ชนิดแรกครับ เป็นชนิดที่เราใช้ประโยชน์กันมากและขึ้นอยู่ทั่วไปมากที่สุด

แต่รู้ไหมครับว่า บรรพบรุษของมันไม่ได้มีถิ่นกําเนิดในประเทศไทยมาก่อนเลย หลายคนน่าจะสงสัยในใจแล้วสิว่า ต้นมะพร้าว ตาล และหมาก ฉันก็เห็นมันขึ้นเองอยู่ทั่วไป ตั้งแต่เกิดมารุ่นปู่ย่าตายายก็เห็นมันเกิดและขึ้นเองอยู่ทั่วไป มันก็น่าจะเป็นต้นไม้ท้องถิ่นของประเทศไทยนะพี่เติ้ง !

อันนี้ผมไม่เถียงครับ แต่การศึกษาถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติของพันธุ์พืชนั้น เขาไม่ได้ดูที่อายุของต้นไม้นั้น ว่าโตมานานมากแค่ไหนเท่านั้น

เพราะประวัติศาสตร์การนำเข้ามาปลูก มันย้อนหลังไปยาวนานกว่าบรรพบุรุษของเราจะจำได้ เราต้องพิจารณาจากข้อมูลจำนวนมาก มาประกอบกัน เช่น การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติได้ดีแค่ไหน (โดยมนุษย์ไม่ปลูกและดูแล)

สืบจากประวัติศาสตร์ หากประวัติศาสตร์ไม่ชัดเจนหรือมันถูกนําเข้ามายาวนาน ก่อนที่มนุษยชาติจะมีตัวอักษรใช้กัน ก็ต้องใช้ข้อมูลจากร่องรอยวัฒนธรรมของมนุษย์ ก่อนประวัติศาสตร์ ฟอสซิลของสายพันธุ์ป่า และการศึกษาด้านพันธุศาสตร์ประชากร

มะพร้าว (Cocos nucifera L.)

มะพร้าว มีถิ่นกําเนิดในเขตหมู่เกาะด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมทรแปซิฟิกตอนใต้ เช่น เกาะนิวกินี ฟิลิปปินส์ ซึ่งยังคงมีมะพร้าวป่าขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ทั่วไปตามชายหาด จากมะพร้าวป่าที่มีลูกเล็กและยาว ได้ถูกปรับปรงพันธุ์สู่มะพร้าวบ้านที่มีผลใหญ่และค่อนข้างกลม มากกว่า 2,000 ปีแล้ว

ปัจจุบัน มะพร้าวส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวบ้านที่ปลูกและขึ้นได้เองตามชายฝั่งทะเลในประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

ซึ่งบ้านเรามีมะพร้าวบ้านที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ ประมาณ 15 สายพันธุ์ ที่ขึ้นชื่อก็คือ มะพร้าวนํ้าหอม สายพันธุ์นี้มีเฉพาะในไทยเท่านั้น เป็นมะพร้าวบริโภคสดที่ถูกใจนักท่องเที่ยวและส่งออกเป็นจํานวนมาก

ตาล (Borassus flabellifer L.)

ตาล มีถิ่นกําเนิดในประเทศอินเดีย และพม่า ประวัติและเส้นทางการแพร่กระจายมาประเทศไทยไม่ต่างอะไรจากมะพร้าวเลยครับ การเดินทางมาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาของคนอินเดีย ได้นําพืชพันธุ์จํานวนมากที่มีประโยชน์เข้ามาปลกในดินแดนแห่งนี้ รวมถึงภูมิปัญญาอีกหลายอย่างที่ทําให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรามีวัฒนธรรมหลายอย่างคล้ายไปทางอินเดียมากกว่าจีน

หมาก (Areca catechu L.)

สันนิษฐานว่า หมาก มีถิ่นกําเนิดอยู่ในบริเวณประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีการนําไปปลกกระจายพันธุ์ออกไปในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย จีน และแอฟริกาตะวันออก โดยการขยายตัวของวัฒนธรรมการกินหมากกับใบพลู (Piper betle L.) ซึ่งมีถิ่นกําเนิดในบริเวณเดียวกัน

มีหลักฐานว่ามีการปลูกหมาก และมีวัฒนธรรมการกินหมาก ในอินเดียตอนใต้มากกว่า 2,000 ปีมาแล้ว และในแอฟริกาตะวันออกประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานที่ยืนยันได้ว่าหมากไม่ได้มีถิ่นกําเนิดในไทย

เพราะว่าแม้ในป่าดิบชื้นธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย ก็ไม่พบหมากขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งๆ ที่หมากชอบอากาศแบบนั้นก็ตาม แต่หมากก็น่าจะเข้ามาปลกในไทยพร้อมๆ กับพลู ทว่าโดยคนอินเดียหรือคนมาเลย์นําเข้ามาก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด

ทุกวันนี้ เรามีพืชต่างถิ่นวงศ์ปาล์มมากมายไปกว่ามะพร้าว ตาล และหมาก แล้วครับ นับร้อยชนิดที่เป็นไม้ประดับตามข้างทาง สวนสาธารณะ เช่น ตาลฟ้า (Bismarckia nobilis Hildebr. & H. Wendl.) ฟอกซ์เทล (Wodyetia bifurcata A. K. Irvine) ปาล์มขวด (Roystonea regia (Kunth) O.F.Cook) หมากเหลือง (Dypsis lutescens (H. Wendl.) Beentje & J. Dransf.)

และที่เป็นพืชเศรษฐกิจสําคัญก็คือ ปาล์มนํ้ามัน (Elaeis guineenis Jacq.) ที่มาจากเขตร้อนของทวีปแอฟริกา แต่มนุษย์ได้ช่วยกันปลูกดีมากจนเป็นพืชรุกรานพื้นที่ป่าซะแล้ว จัดว่าเป็นพืชต่างถิ่นที่รุกรานพืชท้องถิ่นแบบหลอกใช้มนษย์ช่วยดูแลฉันที ใครว่าต้นไม้ไม่มีสมองครับ ฮาฮาฮา

บทความโดย พี่เติ้ง
ที่มา : Herbarium News ฉบับที่2 พ.ศ.2560

รายละเอียดเพิ่มเติม