Lazada Birthday

» วันเกิดลาซาด้า! ลดแรงกว่า 90%*

24 - 27 มี.ค. นี้เท่านั้น (จำนวนจำกัด)

✓ต้นไม้: หน่อสับปะรดภูแล พันธุ์แท้ กินอร่อยทั้งเนื้อและแกน

สับปะรดภูแล เชียงราย ผลเล็ก ทรงกลม เนื้อสีเหลือง กรอบ กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบ กินได้ทั้งเนื้อและแกน สับปะรดภูแลเชียงราย ( Chiangrai Phulae Pineapple ) หมายถึง สับปะรดในกลุ่มควีน ซึ่งปลูกในตําบลนางแล ตําบลท่าสุด และตําบลบ้านดู่อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

หน่อสับปะรดภูแล

ลักษณะของสินค้า สับปะรดภูแล เชียงราย

(1) พันธุ์สับปะรด : เป็นสับปะรดในกลุ่มควีน

(2) ลักษณะทางกายภาพ

  • ผล ขนาดเล็ก มีน้ำหนักตั้งแต่ 150 กรัม – 1000 กรัม ความยาวของจุกโดยเฉลี่ย 1-1.5 เท่าของความยาวผล ตัวจุกมีลักษณะชี้ตรง
  • ตาผล ตาเต่งตึงโปนออกมาจากผลอย่างเห็นได้ชัด
  • เปลือก เปลือกค่อนข้างหนา เหมาะสําหรับการขนส่งระยะไกล เมื่อสุกเปลือกผลจะมีสีเหลืองหรือเหลืองปนเขียว
  • เนื้อ เนื้อสีเหลือง กรอบ กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบ รับประทานได้
  • รสชาติ มีความหวานปานกลาง
  • ใบ ใบเรียวเล็ก สีเขียวอ่อนและมีแถบสีชมพูบริเวณกลางใบ ขอบใบมีหนามเรียงชิดติดกันตลอดความยาวของใบ

(3) ลักษณะทางเคมี : มีปริมาณกรดโดยรวม เฉลี่ยร้อยละ 0.45 ความหวานอยู่ระหว่าง 14-16 brix

กระบวนการผลิต การปลูกสับปะรดภูแล เชียงราย

(1) ปลูกได้ตลอดปี การปลูกใช้ได้ทั้งระบบการปลูกแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่

  • แถวเดี่ยว ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร
  • แถวคู่ ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างแถวคู่ 100 เซนติเมตร

(2) การเตรียมพันธุ์ 

  • ใช้หน่อพันธ์และจุกพันธ์ที่เกิดในพื้นที่ตําบลนางแล ตําบลท่าสุดและตําบลบ้านดู่อําเภอเมืองจังหวัดเชียงรายเท่านั้น
  • หน่อพันธุ์(Aerial sucker) หรือหน่อข้าง เลือกหน่อที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ความยาวหน่อประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักหน่อประมาณ 250 กรัม
  • จุกพันธุ์(Crown) เป็นส่วนที่ติดกับผลสับปะรด เลือกจุกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อให้ออกดอกได้ผลพร้อมกัน

การเก็บเกี่ยวสับปะรดภูแล เชียงราย

เก็บเกี่ยวหลังจากออกดอกประมาณ 120 ถึง 150 วัน อาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในระหว่างการเก็บเกี่ยว เกษตรกรต้องตัดผลผลิตใส่ภาชนะ เพื่อมิให้เกิดการปนเปื้อนของเศษดิน หรือวัสดุอื่น หลังจากนั้นนํามาคัดเกรด ทําความสะอาดและบรรจุในหีบห่อเพื่อจัดส่ง

การบรรจุหีบห่อสับปะรดภูแล เชียงราย

รายละเอียดบนฉลาก ให้ประกอบด้วยคําว่า "สับปะรดภูแลเชียงราย" และ/หรือ "Chiangrai Phulae pineapple"

ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ตําบลนางแล ตําบลท่าสุด และตําบลบ้านดู่อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ที่ราบเชิงเขา เนินเขา และภูเขาสูง อยู่ในด้านทิศตะวันตก อันเป็นแหล่งกําเนิดลําห้วยหลายสายเป็นแหล่งน้ำที่สําคัญ

พื้นที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร ทําให้อากาศเย็นสบาย แต่มีอากาศหนาวในฤดูหนาว ประกอบกับสภาพพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่มีความลาดเอียง ทําให้การปลูกสับปะรดในพื้นที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรครากเน่า

ลักษณะของดินระบายน้ำได้ดี การซึมซับของน้ำอยู่ในระดับปานกลาง การไหลบ่าของน้ำผิวดินอยู่ในระดับปานกลางถึงเร็ว ระดับน้ำใต้ดินไม่ลึก และดินมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม คาร์บอน ไนโตรเจน

ลักษณะภูมิอากาศ มีอุณหภูมิเฉลี่ย24 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกโดยเฉลี่ย 1757.4 มิลลิเมตรต่อปี จํานวนวันฝนตกเฉลี่ย 140 วันในหนึ่งปีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 76

ประวัติความเป็นมา สับปะรดภูแล เชียงราย

เมื่อปี พ.ศ. 2520 นายเอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ได้นําหน่อพันธ์สับปะรดภูเก็ต ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธ์ควีนจากจังหวัดภูเก็ต มาปลูกครั้งแรกที่ตําบลนางแล อําเภอเมือง จังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นแหล่งภูมิศาสตร์ของสับปะรดที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเป็นอย่างดีคือ สับปะรดนางแล

แต่ด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยจากมนุษย์ ทําให้สับปะรดที่ปลูกได้ในแหล่งภูมิศาสตร์นี้ มีลักษณะที่แตกต่างจากสับปะรดภูเก็ต คือขนาดผลเล็ก รูปร่างทรงกลม จุกใหญ่ตั้งตรง รับประทานได้ทั้งเนื้อและแกน ซึ่งต่อมาได้เรียกชื่อสับปะรดดังกล่าวว่า "สับปะรดภูแล"

โดยการนําเอาชื่อ "ภูเก็ต" ซึ่งเป็นแหล่งปลูกเดิม มาผสมคํากับแหล่งปลูกใหม่คือ "นางแล" และขยายพื้นที่การปลูกครอบคลุมสามตําบล คือ ตําบลนางแล ตําบลท่าสุด และตําบลบ้านดู่ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ขอบเขตที่ตั้งแหล่งภูมิศาสตร์

ขอบเขตการปลูกสับปะรดภูแลเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ตําบลนางแล ตําบลท่าสุด และตําบลบ้านดู่ อําเภอเมืองจังหวัดเชียงราย 

เงื่อนไขที่นายทะเบียนกําหนดตามมาตรา 15

  1. จัดให้มีระบบการตรวจสอบและควบคุม ทั้งกระบวนการผลิต ในระดับผู้ผลิต และระดับจังหวัด
  2. จัดให้มีการขึ้นทะเบียนสมาชิกเกษตรกรผู้เพาะปลูก และผู้จําหน่าย ที่ประสงค์จะขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สับปะรดภูแลเชียงราย
  3. ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน สําหรับสมาชิกผู้ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สับปะรดภูแลเชียงราย

การพิสูจน์แหล่งกําเนิด

  1. สับปะรดภูแลเชียงรายจะต้องมีการปลูกในเขตพื้นที่ตําบลนางแล ตําบลท่าสุด และตําบลบ้านดู่อําเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ตามกระบวนการผลิตข้างต้น
  2. กระบวนการผลิตจะต้องได้ผ่านการควบคุมตรวจสอบ คือ มีการขึ้นทะเบียนสมาชิกเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดภูแลเชียงราย รวมทั้งต้องมีเอกสารกํากับเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้

อ้างอิง - ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา

รายละเอียดเพิ่มเติม