Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: ส้มเกลี้ยง 'เพชรพูลเพิ่ม' รสชาติหวาน คล้ายกับส้มเช้ง?

ต้นส้มเกลี้ยงพันธุ์เพชรพูลเพิ่ม ส้มเกลี้ยงพันธุ์ใหม่ ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ความหวานสูงใกล้เคียงส้มเช้ง ดูแลรักษาง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลง

ส้มเกลี้ยง 'เพชรพูลเพิ่ม'

ส้มเกลี้ยงพันธุ์เพชรพูลเพิ่ม ส้มเกลี้ยงพันธุ์ใหม่ โดยผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน คือนายนรินทร์ พูลเพิ่ม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ได้ยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน 

โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้นของพืชที่ยื่นคำขอ เสร็จเรียบร้อยแล้ว 

ส้มเกลี้ยงพันธุ์เพชรพูลเพิ่ม รสชาติหวานใกล้เคียงส้มเช้ง

จึงได้ประกาศลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้นของส้มเกลี้ยงพันธุ์เพชรพูลเพิ่ม ให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

รายละเอียดเพิ่มเติม

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์ ส้มเกลี้ยง 'เพชรพูลเพิ่ม'

ส้มเกลี้ยงพันธุ์เพชรพูลเพิ่ม เป็นพันธุ์ที่ได้มาจากการคัดเลือกสายต้น จากต้นเพาะเมล็ดของส้มเกลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2512 นายเรื่อง พูลเพิ่ม อยู่บ้านเลขที่ 31 หมู่ 6 บ้านป่ามะม่วง ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย ได้รวบรวมผลส้มเกลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดสุโขทัยมาบริโภค

ส้มเกลี้ยงผลใดที่บริโภคแล้วมีรสชาติดี รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว เล็กน้อย จะนำเมล็ดของส้มเกลี้ยงผลดังกล่าวไปเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า คัดเลือกต้นกล้าที่มีการเจริญเติบโตดีแข็งแรง ปลูกในสวนใกล้บ้าน 10 กว่าต้น

หลังจากปลูกได้ประมาณ 10-12 ปี นายเรื่อง พูลเพิ่ม ได้ประเมินการเจริญเติบโต การออกดอกติดผล ผลผลิตและคุณภาพของผล พบสายต้นที่ดีเด่น มีการออกดอกติดผลสม่าเสมอทุกปี ผลมีคุณภาพดี รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย 1 สายต้น สายต้นที่ออกดอกติดผลไม่สม่ำเสมอทุกปีและมีรสชาติค่อนข้างเปรี้ยวจะถูกโค่นทิ้ง เปลี่ยนเป็นส้มโอและมะปรางแทน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 นายนรินทร์ พูลเพิ่ม สังเกตส้มเกลี้ยงสายต้นดีเด่น เริ่มทรุดโทรมลงมากมีกิ่งแห้งที่ปลายกิ่ง ผลผลิตลดลง จึงได้ขยายพันธุ์ส้มเกลี้ยงสายต้นดังกล่าวให้มีมากขึ้น โดยวิธีการต่อยอด ปลูกที่อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และปีพ.ศ. 2555 ได้ขยายพันธุ์ไปปลูกที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อายุ3 ปี ให้ผลผลิต ผลมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ใกล้เคียงส้มเช้ง

อีกทั้งไม่ต้องดูแลรักษา พ่นสารเคมี ป้องกันกำจัดโรค แมลง มากเท่าส้มเขียวหวาน เมื่อพบสายต้นส้มเกลี้ยงพันธุ์ดี ที่มีรสชาติดีกว่าส้มเกลี้ยงจากแหล่งปลูกต่าง ๆ ที่เคยบริโภคมาแล้ว รสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีความหวานสูงใกล้เคียงส้มเช้ง มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 10 – 12 องศา Brix

จึงมีการขยายพันธุ์โดยวิธีการต่อยอดบนต้นตอ ให้เกษตรกรได้ปลูกบริโภค และปลูกเป็นการค้ามากขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่นายเรื่อง พูลเพิ่ม ผู้ปลูกและคัดเลือกส้มเกลี้ยงสายต้นดังกล่าว จึงตั้งชื่อส้มเกลี้ยงสายต้นนี้ว่า พันธุ์ "เพชรพูลเพิ่ม"

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ส้มเกลี้ยงพันธุ์เพชรพูลเพิ่ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus sinensis (L.) Osbeck วงศ์ Rutaceae ไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้ผล

ราก : ต้นที่ได้จากการขยายพันธุ์ โดยวิธีการเพาะเมล็ด มีรากแก้วและรากแขนง ต้นที่ต่อยอดบนต้นตอและทาบกิ่ง มีรากพิเศษ (adventitious root)

ลำต้น : ลำต้นสูง ประมาณ 3 – 5 เมตร ทรงต้นโปร่ง ลำต้นใหญ่ปานกลาง กิ่งแผ่กระจายเป็นพุ่มกิ่งอ่อนสีเขียวอ่อน กิ่งแก่สีน้าตาล

ใบ : ใบประกอบแบบนิ้วมือแบบมีใบย่อยเดียว ใบย่อย รูปรีถึงรูปไข่กลับ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียว ขอบใบเรียบ ใต้แผ่นใบเรียบ ก้านใบแผ่เป็นแผ่น (wing)

ดอก/ช่อดอก : ดอกออกที่ปลายกิ่งบริเวณซอกใบ มีทั้งดอกเดี่ยวและรวมเป็นช่อดอก 2 – 10 ดอก ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาว จำนวน 4-5 กลีบ เกสรเพศผู้สีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม

ผล/เมล็ด : ผลทรงกลม (spheroid) ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จัดสีเขียวอมเหลือง สีเปลือกด้านในสีขาวเนื้อสีเหลืองอ่อน รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีลักษณะกลมค่อนข้างแบน สีขาวอมเหลือง

ที่มา : ประกาศกรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม