✓ต้นไม้: ผักติ้ว, ผักแต้ว ปลูกง่าย ยอดอ่อนกินได้ พันธุ์ไม้ไทย
*ดูราคาต้นไม้ ขายพันธุ์ไม้ หายาก ราคาถูก ...
👉 ดูเพิ่มเติมที่ร้านค้า
ต้นผักติ้ว ผักแต้ว ติ้วขน ติ้วขาว ต้นเพาะเมล็ด ไม้ยืนต้น ทนแล้งได้ดี ประโยชน์ สรรพคุณ สมุนไพร ดอก ยอดอ่อน กินได้ ราคาถูก การขยายพันธุ์ เมนูอาหาร
ต้นผักติ้ว ผักแต้ว
ต้นผักติ้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer วงศ์ HYPERICACEAE ชื่ออื่น แล้วหิน (ลำปาง) ผักเตา เตา (เลย) ติ้วส้ม (นครราชสีมา) กวยโขง (กาญจนบุรี) ตาว (สตูล) ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด ติ้วเหลือง (ภาคเหนือ) แต้ว (ภาคใต้)
ต้นผักแต้ว เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 3-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้นมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนานปลายใบมน หรือรูปแหลมโคนใบสอบเรียบ ส่วนขอบใบโค้งเรียบ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดใบเมื่อก่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงสีแดงเรียบและเป็นมันวาว ใบแก่เป็นสีเขียวสด เรียบ เกลี้ยง หลังใบบนเป็นมัน ส่วนท้องใบมีต่อมกระจายอยู่ทั่วไป ใบแก่เป็นสีแดงหรือสีแสด
ดอก : เป็นช่อแบบกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลของใบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมสีชมพูอ่อนถึงสีแดง กลีบดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกตามซอกใบ หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีอยู่ 5 กลีบเมื่อดอกบานจะขยายออกประมาณ 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกเรียวเล็กและมีกาบเล็ก ๆ ที่ฐานกลีบด้านใน ดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง สั้น ๆอยู่จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม เกสรเพศเมียก้านเกสรเป็นสีเขียวอ่อนมี 3 อัน และมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อนปนสีแดง
ผล : เป็นแบบแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมรูปกระสวย ผิวผลมีนวลสีขาว ผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาสหรือสีน้ำตาลดำ ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูลปลายแหลมผิวเรียบและแข็ง เมื่อแก่จะแห้ง และแตกออกเป็น 3 แฉก ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล
ติ้วขาว ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ
ประโยชน์ ยอดอ่อนใช้เป็นผักสด ดอกนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณทางยา ประโยชน์ : เปลือก : สมานแผลภายใน หรือแผลภายนอก, น้ำยาง : รักษาโรคหิด รักษาแผลส้นเท้าแตก , ต้นและราก : ต้มผสมกับกำแพงเจ็ดชั้น แก้กระษัยเส้นและเป็นยาระบาย, ใบอ่อนและยอด : รับประทาน มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ, น้ำยางจากเปลือก : ใช้ทารักษาโรคหิด และน้ำกัดเท้า , ใบ เปลือก และน้ำยาง : รักษาโรคผิวหนัง แผลสด แก้ฝ่าเท้าแตก
เมนูอาหารพื้นบ้านภาคอีสาน : ซุปผักติ้ว
วิธีทำ :- นำผักติ้วมาลวกน้ำร้อนให้สุกพอประมาณ จากนั้นยกออกจากเตา
- ต้มปลาทูใส่น้ำปลาร้า ให้มีกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อม
- นำผักติ้วมาตำพอแหลก จากนั้นใส่พริกป่นและใส่ข้าวคั่วปลาทู ต้นหอม จนเข้ากัน
- ปรุงรสด้วยน้ำน้ำต้มปลา น้ำปลา ชิมรสตามชอบ
อ้างอิง : เรียบเรียงข้อมูลโดย นายบดินทร สอนสุภาพ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ