Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: 'พรหมภัทร' วว.12 พรหมลูกผสม (พรหมขาว x มะป่วน)?

ต้นพรหมภัทร (พรหม วว.12) พรหมลูกผสมใหม่ (พรหมขาว x มะป่วน) กลีบดอกชั้นนอกสีเหลือง กลีบดอกชั้นในสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม 

พรหมภัทร (พรหม วว.12)

พรหมภัทร (พรหม วว.12) พันธุ์ใหม่ โดยผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน คือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน โดยกรมวิชาการเกษตร 

ต้นพรหมภัทร วว.12 ลูกผสมใหม่ (พรหมขาว x มะป่วน)

ได้ดำเนินการตรวจสอบลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้นของพืชที่ยื่นคำขอ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกาศลักษณะประจำพันธุ์เบื้องต้นของพรหมภัทร ให้ทราบโดยทั่วกัน ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2562

รายละเอียดเพิ่มเติม

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

พรหมภัทร (พรหม วว.๑๒) เป็นลูกผสมของพืชสกุลมหาพรหม ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ ข้ามชนิดระหว่าง พรหมขาว (Mitrephora alba Ridl.) (แม่พันธุ์) และมะป่วน (Mitrephora tomentosa Hook.f. & Thomson) (พ่อพันธุ์) 

พัฒนาพันธุ์โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เริ่มคัดเลือกต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และทำการผสมในปี พ.ศ. 2558

เมื่อติดผลและเมล็ด จึงนำมาเพาะ ได้ต้นกล้าจำนวน 5 ต้น ออกดอกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 และคัดเลือกลักษณะดอกที่มีความโดดเด่น จากนั้นจึงปลูกทดสอบการเจริญเติบโต และตรวจสอบระยะเวลาการออกดอก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2562

ในปี พ.ศ. 2562 ทำการขยายพันธุ์โดยวิธีการต่อกิ่งลูกผสมดังกล่าว ณ ศูนย์เชี่ยวชาญ นวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยมี ดร. อนันต์ พิริยะภัทรกิจ สังกัดศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (วว.) เป็นนักปรับปรุงพันธุ์

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

พรหมภัทร (พรหม วว.12) ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitrephora alba x tomentosa วงศ์ Annonaceae ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก

ราก : รากเป็นระบบรากแก้ว (tap root) มีลักษณะช่วงโคนโตแล้วเรียวเล็กลงจนถึงปลาย และมีรากแขนง (lateral root) รากอ่อนสีน้ำตาลอ่อน รากแก่สีน้ำตาลเข้ม

ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก (perennial plant) ความสูงของลำต้น 2 เมตร เปลือกลำต้น สีน้ำตาลเข้ม และผิวเรียบ

ใบ : ใบเดี่ยวเรียงสลับ (alternate) ใบรูปหอก (lanceolate) ปลายใบแหลม (acuminate) ขอบใบเรียบ (entire) และมีกลิ่นฉุนผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน สีเขียวเข้ม แผ่นใบ ค่อนข้างหนา มีขนอ่อนบริเวณปลายยอด ขนาดกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร และยาว 11 – 15 เซนติเมตร

ดอก : ดอกเดี่ยว ดอกบานเต็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5 – 7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง (sepal) จำนวน 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอก (outer petal) สีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็น สีเหลืองอ่อนถึงเข้ม ปลายกลีบโค้งคว่ำ จำนวน 3 กลีบ ขนาดกว้าง 3 – 4 เซนติเมตร และยาว 4 – 5 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นใน (inner petal) สีเหลือง ปลายกลีบสีชมพูอ่อน เมื่อบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม จำนวน 3 กลีบ ส่วนโคนกลีบดอก (torus) สีเหลืองอ่อน

บริเวณปลายกลีบโค้งติดกันลักษณะแหลม ขนาดกว้าง 1.3 –1.5 เซนติเมตร และยาว 1.7 – 2.5 เซนติเมตร ขอบกลีบดอกชั้นนอกและชั้นในมีลักษณะเป็นคลื่น ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย บริเวณกลางดอกมีเกสรเพศเมีย (pistil) ลักษณะเป็นแท่งมีขนปกคลุม จำนวน 8 – 12 อัน ยาว 1.5 – 2 มิลลิเมตร ปลายยอดของเกสรเพศเมียเป็นตุ้ม (capitate) สีเหลืองใสเพื่อจับละอองเรณู (pollen) โดยรอบมีเกสรเพศผู้ (stamen) จำนวน 95 - 100 อัน ยาว 1.5 – 2 มิลลิเมตร

ผล : ผลกลุ่ม (aggregate fruit) มีผลย่อย 3 – 5 ผล สีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 – 4 เซนติเมตร เมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 – 0.6 เซนติเมตร

ที่มา : ประกาศกรมวิชาการเกษตร

รายละเอียดเพิ่มเติม