✓ต้นไม้: มะละกอ 'แขกดำเกษตร' กินผลดิบ ใช้ทำส้มตำอร่อย?
มะละกอแขกดำเกษตร มะละกอสายพันธุ์แท้ พันธุ์ใหม่ ตอบโจทย์การตลาดครบ ส้มตำ กินสุก แปรรูป จบในพันธุ์เดียว เป็นพืชที่ไม่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม Non-GMO ปลูกง่าย ให้ผลผลิตสูง (เฉลี่ย 3 ตัน/ไร่/รอบการปลูก) ผลดิบใช้ทำส้มตำได้รสชาติอร่อย ผลสุกเนื้อแน่น หวานอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยวิตามินซี (สูงกว่าส้ม 2 เท่า) มีสารต้านอนุมูลอิสระ เบต้าแคโรทีนและไลโคปีนสูง
มะละกอแขกดำเกษตร
มะละกอแขกดำเกษตร เป็นมะละกอเนื้อแดงปลอด GMOs พัฒนาพันธุ์โดยภาควิชาพืชสวนคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ภายใต้โครงการ“การพัฒนาพันธุ์และระบบการปลูกมะละกอเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (ระยะที่ 1)” ด้วยการนำเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์แขกดำที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selcction) จำนวน 3 ชั่วรุ่น(generation) จากโครงการ “การรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์มะละกอและการผลิตเมล็ดพันธุ์” ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
มาปลูกคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ต่อเนื่องอีก 1 ชั่วรุ่น คัดเลือกพันธุ์ รุ่นที่ 4 ได้ 3 สายพันธุ์ (line) ที่มีคุณภาพผลเหมาะสมทั้งการบริโภคผลดิบ ผลสุก และแปรรูป จากนั้นนำเมล็ดของทั้ง 3 สายพันธุ์มาผสมรวมกัน (bulk) เพื่อปลูกผลิตเมล็ดพันธุ์เผยแพร่
ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์
ชนิด/ประเภท
ชื่อไทย มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L. วงศ์ Caricaceae ไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้ผล
ราก
ระบบรากแก้ว (tap root system)
ต้น
ลำต้นกลม สีเทา เส้นรอบวงโคนต้นเมื่ออายุ 9 เดือน ประมาณ 50 เซนติเมตร ความสูงตำแหน่งดอกแรก ประมาณ 90 เซนติเมตร ความสูงต้นเมื่อออกดอกแรก ประมาณ 110 เซนติเมตร ความสูงตำแหน่งติดผลแรก ประมาณ 140 เซนติเมตร ความสูงต้นเมื่อติดผลแรก ประมาณ 250 เซนติเมตร
ใบ
ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบอ่อน สีเขียวอ่อน เมื่ออายุ 1–1.5 เดือน เป็นแฉกประมาณ 3 แฉกใบแก่เป็นแฉกประมาณ 9 แฉก ก้านใบสีเขียวอ่อน
ดอก/ช่อดอก
ดอกสมบูรณ์เพศชนิดอีลองกาตา (elongata) ช่อดอกออกเป็นกลุ่มบริเวณซอกเหนือก้านใบ 3–4 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยทรงกระบอกยาว ความยาวดอกย่อยประมาณ 5–7 เซนติเมตรกลีบดอก 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมติดกันประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวกลีบดอก
ระยะดอกบาน โคนกลีบดอกสีเขียวแกมขาว กลีบดอกส่วนกลางดอกถึงปลายกลีบดอกสีครีม เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณู มีลักษณะยาวรี สีเหลือง ยอดเกสรเพศเมียเป็นแฉก 5 แฉกสีเขียวอ่อน
ผล
ผลที่พัฒนาจากดอกสมบูรณ์เพศชนิดอีลองกาตา (elongata) ทรงกระบอกยาว ผลดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาว ผลแต้ม 3–4 แต้ม ผลสุกเปลือกสีส้ม เนื้อสีแดง น้าหนักผลเฉลี่ย 1.6 กิโลกรัม ความหนาเนื้อเฉลี่ย 2.70 เซนติเมตร ความแน่นเนื้อเฉลี่ย 13.8 นิวตัน
เมล็ด
ทรงกลมรี เมล็ดอ่อนสีขาว จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีน้าตาลดำเมื่อผลเริ่มขึ้นแต้ม เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้าตาล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5–7 มิลลิเมตร
ลักษณะอื่น ๆ ของมะละกอแขกดำเกษตร
- ปลอด GMOs.
- ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำเฉลี่ย 13.1 เปอร์เซ็นบริกซ์ ปริมาณวิตามินซีเฉลี่ย104 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ปริมาณไลโคปีนเฉลี่ย 7.8 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด ปริมาณเบต้าแคโรทีนเฉลี่ย 4.7 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักสด
- ออกดอกแรกเมื่ออายุประมาณ 90 วัน หลังย้ายปลูก