อิมิดาโคลพริด imidacloprid คืออะไร อันตรายไหม? ประโยชน์ ออกฤทธิ์ วิธีใช้ ราคา?

อิมิดาโคลพริด imidacloprid คืออะไร

Imidacloprid ที่เรียกว่า "อิมิดาโคลพริด" หรือ "อิมิดาคลอพริด" คือ เป็นสารกำจัดแมลง ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นสารชนิดดูดซึม ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กำจัดแมลงได้ทั้งการ สัมผัสและการกิน

สารกลุ่มนี้ในปัจจุบันมีการนำมาใช้กำจัดแมลงในบ้านเรือน พวกมด ปลวก และ แมลงสาบได้ผลดี ผลโดยรวมคือการรบกวนระบบสื่อประสาทในแมลง แมลงที่ได้รับยาฆ่าแมลงนี้จะเฉื่อยชา อ่อนแรง หยุดกินอาหาร และตายในที่สุด

อิมิดาโคลพริด imidacloprid

อิมิดาโคลพริดนี้มีพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นต่ำกว่าแมลง ทำให้มีผลจำเพาะเจาะจงต่อแมลงมากกว่า และการที่การออกฤทธิ์ของยาฆ่าแมลงกลุ่มนี้ต่างจากกลุ่มอื่น ทำให้สามารถใช้กำจัดแมลงที่ดื้อต่อยาฆ่าแมลงกลุ่มอื่นได้

รายละเอียดเพิ่มเติม

คุณสมบัติ อิมิดาโคลพริด กลุ่มไหน

สารกำจัดแมลงศัตรูพืช อิมิดาโคลพริด imidacloprid มีกลไกการออกฤทธิ์ อยู่ในกลุ่มย่อย 4A สารนีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoids) มีคุณสมบัติถูกตัวตาย กินตาย ดูดซึมและซึมผ่านปากใบ

พืชสามารถดูดซึมผ่านทางรากและลําเลียงไปส่วนยอดผ่านท่อน้ำของพืช (Xylem) กลไกออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง โดยขัดขวางบริเวณจุดรับ นิโคตินิค อะซิทิลโคลีน (nAChR) มีพิษต่ำต่อสัตว์เลือดอุ่น เป็นอันตรายต่อผึ้ง

อิมิดาโคลพริด ออกฤทธิ์

สารกำจัดแมลงศัตรูพืช อิมิดาโคลพริด imidacloprid อยู่ในกลุ่ม 4. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกโดยการจับแบบแข่งขัน ซึ่งการจัดแบ่งกลุ่มสารกำจัดแมลงศัตรูพืชตามกลไกการออกฤทธิ์ ข้อมูลจาก IRAC และ BASF

กลไกการออกฤทธิ์ ของสารในกลุ่ม 4 นี้เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายกับสารนิโคตินที่พบในใบยาสูบ โดยสารจะเลียนแบบ (agonist) การทำงานของสารสื่อประสาท acetylcholine

สารกลุ่มนี้จะไปแข่งขัน (แย่งกัน) กับสารอะเซติลโคลีนในการจับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิก (nicotinic acetylcholine receptor, nAChR) ที่ผิวของปลายเซลประสาทบริเวณ synapse

แล้วกระตุ้นให้ nAChRs ทำงานในการส่งกระแสประสาทที่มากผิดปกติ (overstimulation) ในระยะแรก ส่วนระยะต่อมา เมื่อสารฆ่าแมลงกลุ่ม 4 นี้จับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกนานๆ จะทำให้ตัวรับเปลี่ยนรูปทรงไปเป็นรูปทรงที่ไม่สามารถทำงานได้ (desensitized) หรือ nAChD

สารฆ่าแมลงกลุ่ม 4 นี้มีพิษสูงมากต่อผึ้ง จึงไม่ควรใช้ในพืชช่วงที่พืชกำลังออกดอกและมีผึ้งมาช่วยผสมเกสร

อิมิดาโคลพริด อันตรายไหม

โชคดีที่ อิมิดาโคลพริด imidacloprid และสารกำจัดแมลงชนิดนีโอนิโคตินอยด์อื่นๆ เป็นพิษต่อแมลงมากกว่าที่เราเป็น และยังเป็นพิษต่อระบบประสาทของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและกระดูกสันหลัง (รวมถึงนกและปลา) น้อยกว่าต่อแมลง

อิมิดาโคลพริด อันตรายไหม

อาการเกิดพิษ สำหรับกลุ่มคลอโรนิโคตินิล เช่น อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) คือ มีอาการซึม หายใจขัด และมีอาการสั่นกระตุก ถ้ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้หยุดทำงาน ทำการปฐมพยาบาลแล้วรีบไปพบแพทย์

รายละเอียดเพิ่มเติม

เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์

ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย จะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสารสำคัญต่อน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ (%w/w) หรือ ต่อปริมาตรของผลิตภัณฑ์ (%w/v) เช่น 10, 35, 70 เป็นต้น

ซึ่งสำหรับสารกำจัดแมลง อิมิดาโคลพริด imidacloprid ไซมิดา โกลด์ ระบุไว้ว่า 10% w/v ซึ่งระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสารสำคัญ ต่อ ปริมาตรของผลิตภัณฑ์ นั่นเอง

ชนิดของสูตรสำเร็จ

สูตรผสม SL คือ สารผสมของเหลวข้น (soluble concentrates: SL) เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช อยู่กลุ่มสารผสมรูปแบบของของเหลว สารเคมีกลุ่มนี้ผสมอยู่ในรูปแบบของของเหลวจำเป็นต้องผสมน้ำก่อนนำไปใช้ ซึ่งเป็นการจัดแบ่งประเภทของสูตรผสมของสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

ประโยชน์ และ วิธีใช้

การใช้ประโยชน์ : ใช้ป้องกันกําจัดเพลี้ยไฟ, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยกระโดด, เพลี้ยจักจั่นฝอย, เพลี้ยจักจั่นฝ้าย, มวนเขียวข้าว, มวนลําไย, แมลงสิ่ง, แมลงหล่า, หนอนชอนใบส้ม เป็นต้น

วิธีใช้ กับ ข้าวโพด (Corn) 

การพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง (knapsack sprayer) ระยะข้าวโพดอายุ 1-2 สัปดาห์ ใช้น้ำไร่ละ 30-40 ลิตร อายุ 3-4 สัปดาห์ ใช้น้ำไร่ละ 40-50 ลิตร อายุ 5 สัปดาห์ขึ้นไป ใช้น้ำไร่ละ 60-80 ลิตร หลังข้าวโพดออก ฝักหรือใกล้เก็บเกี่ยวพ่นเฉพาะฝัก ใช้น้ำไร่ละ 60-80 ลิตร

ศัตรูพืช: เพลี้ยไฟข้าวโพด (Frankliniella Williams) เพลี้ยไฟถั่ว (Caliothrips sp.) เพลี้ยไฟดอกไม้ฮาวาย (Thrips hawaiiensis)

อิมิดาโคลพริด imidacloprid

  • อัตราการใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช: 30 มล./น้ำ 20 ลิตร
  • วิธีใช้สารกำจัดแมลงศัตรูพืช: พ่นเมื่อเพลี้ยไฟระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น
  • คำแนะนำ: เพลี้ยไฟข้าวโพดและเพลี้ยไฟ ระบาดในระยะข้าวโพดต้นเล็กและเมื่อเกิดฝนแล้ง, เพลี้ยไฟดอกไม้ฮาวายระบาดในระยะข้าวโพดออกฝัก แมลงชอบทำลายที่ไหม ทำให้ฝักไม่ติดเมล็ด ให้พ่นเฉพาะบริเวณปลายฝัก

รายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีใช้ กับ ยาสูบ (Tobacco)

การพ่นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง (knapsack sprayer) ยาสูบพันธุ์เตอร์กิช อายุ 7-30 วัน ใช้น้ำไร่ละ 30-50 ลิตร อายุ 30-90 วัน ใช้น้ำไร่ละ 50-70 ลิตร ยาสูบพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์เวอร์จิเนียร์ และพันธุ์เบอร์เล่ย์ อายุ 7-30 วัน ใช้น้ำไร่ละ 40-70 ลิตร อายุ 30-90 วัน ใช้น้ำไร่ละ 70-90 ลิตร

ศัตรูพืช: เพลี้ยอ่อนลูกท้อ (Myzus persicae)

  • อัตราการใช้: 10 มล./น้ำ 20 ลิตร
  • วิธีใช้: พ่นเมื่อพบเพลี้ยอ่อนมีความหนาแน่น 10-20% ของพื้นที่ใบทั้งต้น จากจำนวน 10% ของทั้งหมด
  • คำแนะนำ: ควรพ่นเฉพาะ บริเวณที่พบเพลี้ย อ่อนเข้าทำลาย เพื่อ ลดปริมาณประชากร ของแมลงและรักษา คุณภาพของใบ ยาสูบ ทำความ สะอาดแปลงกำจัด ซากพืชและวัชพืชใน แปลง และบริเวณ ใกล้เคียงภายหลัง เก็บเกี่ยว

ศัตรูพืช: แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci)

  • อัตราการใช้: 20 มล./น้ำ 20 ลิตร
  • วิธีใช้: เนื่องจากแมลงหวี่ขาวเป็น พาหะของโรคใบหด ขณะ ปลูกรองก้นหลุมด้วยสารฆ่า แมลงชนิดเม็ดและพ่นด้วย สารฆ่าแมลงชนิดพ่นอย่างใด อย่างหนึ่ง ภายหลังปลูก 10 วัน จำนวน 3-4 ครั้ง ทุก 7 วัน สำหรับการปลูกฤดูแล้ง และทุก 14 วัน สำหรับการ ปลูกฤดูฝน
แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นโมกมีกี่ชนิด โมกพวง, โมกซ้อน, โมกบ้าน (โมกลา) แตกต่างกันยังไงบ้าง ราคาถูก?

เครื่องตัดแต่งกิ่งไม้ ตัดแต่งพุ่มไม้ รุ่นไหนดี แบบไฟฟ้า ไร้สาย, เครื่องยนต์ ยี่ห้อไหนดี?

ต้นหมากว้อ(หมาว้อ) ผลสุกกินได้ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร ลักษณะ ผลไม้ป่า?

ต้นตาเบบูญ่าเหลือง เหลืองปรีดียาธร ประวัติ ความหมาย ที่มาของชื่อ แต่ละสายพันธุ์?

จำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูกในกระถางให้ออกดอก ..

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

สารกำจัดแมลง ไทอะมีทอกแซม ยี่ห้อไหนดี คุณสมบัติ ประโยชน์ สรรพคุณ

ต้นลุมไซย (ธนนไชย) ลักษณะ, ประโยชน์, สรรพคุณทางสมุนไพร ออกดอกเดือนไหน?

ต้นโสกระย้า ราชินีแห่งไม้ดอกยืนต้น ประวัติ ลักษณะ วิธีปลูก ออกดอกช่วงเดือนไหน?