Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: พรรณไม้ดอกหอม ออกดอกส่งกลิ่นหอม ช่วงไหนบ้าง?

พรรณไม้ดอกหอมแต่ละชนิด ดอกส่งกลิ่นหอมแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน เวลาเช้า-เย็น-กลางคืน หรือส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา บางชนิดส่งกลิ่นหอมอ่อน-หอมแรง บางชนิดสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ดอกไม้ส่งกลิ่นหอมตอนไหนบ้าง?

ไม้ดอกหอมบางชนิดมีช่วงเวลาที่ออกดอกบางช่วงเดือนในทุกปี ดังนั้นเราจึงควรทราบข้อมูลพรรณไม้ดอกหอมแต่ละชนิดก่อนที่จะปลูก เพื่อให้ดอกไม้ส่งกลิ่นหอมได้ตามต้องการ

ต้นไม้ดอกหอมแต่ละชนิด ส่งกลิ่นหอมตอนไหน ช่วงเวลาออกดอกเดือนไหน

ผลสำรวจพรรณไม้ดอกหอมแต่ละชนิด ส่งกลิ่นหอมช่วงเวลาตอนไหนบ้าง ไม้ดอกหอมออกดอกตลอดปี หรือออกดอกช่วงเดือนไหน

รายละเอียดเพิ่มเติม

จากการศึกษา ผลสำรวจชนิดและช่วงเวลาการออกดอกของพรรณไม้ดอกหอมชนิดต่าง ๆ ในสวนไม้หอม และช่วงเวลาในการส่งกลิ่นหอมของดอกไม้ การสำรวจไม้ดอกหอมภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

โดยทำการสำรวจเฉพาะต้นที่เห็นดอกจำนวน 65 ชนิด จากทั้งหมด 120 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 50 (ต้นที่ไม่ได้ศึกษาบางต้นไม่มีดอกอาจเนื่องมาจาก อายุน้อย หรือไม่สมบูรณ์ หรือตายไป จึงไม่พบในสวน หรือพบดอกแต่ไม่มีกลิ่นซึ่งแตกต่างไปจากตรวจเอกสาร)

ช่วงเวลาในการออกดอกของพรรณไม้ดอกหอมชนิดต่างๆ

พรรณไม้ดอกหอมที่สำรวจ แบ่งเป็นช่วงเวลาในการออกดอกในช่วงปี แบ่งเป็นไม้ต้น 22 ชนิด ไม้พุ่ม 26 ชนิด ไม้เลื้อย 14 ชนิด ไม้พุ่มรอเลื้อย 3 ชนิด สรุปดังนี้ คือ

พรรณไม้ดอกหอมที่ออกดอกเฉพาะบางช่วง

  1. มกราคม : ลำดวน ชำมะนาด รสสุคนธ์ กุหลาบ กาแฟโรบัสต้า วาสนา มะลุลี สารภี อโศก พวงแก้วกุดั่น มะลิไส้ไก่ พุดสามสี พะยอม นมแมว
  2. กุมภาพันธ์ : ลำดวน มะลุลี โมก รสสุคนธ์ กุหลาบ กาแฟโรบัสต้า วาสนา มะลุลี หนามแดง สารภี อโศก มะลิไส้ไก่ พุดสามสี พะยอม นมแมว
  3. มีนาคม : ลำควน โมก หนามแดง สายน้ำผึ้ง มะลิไส้ไก่ พุดสามสี พะยอม นมแมว
  4. เมษายน : ลำดวน หนามแดง สายน้ำผึ้ง พุดสามสี พะยอม
  5. พฤษภาคม : กันเกรา ตันหยง ประดู่ พูดตะแคง รสสุคนธ์ กระถินณรงค์ หนามแดง สายน้ำผึ้ง พุดสามสี
  6. มิถุนายน : กันเกรา ตันหยง ประดู่ พูดตะแคง รสสุคนธ์ กระถินณรงค์ ใบไม้สีทอง สายน้ำผึ้ง
  7. กรกฎาคม : กันเกรา ตันหยง รวงผึ้ง ประดู่ พุดตะแคง รสสุคนธ์ กระถินณรงค์ กระทุ่มนา ใบไม้สีทอง
  8. สิงหาคม : กรรณิการ์ ประดู่ พุดตะแคง รสสุคนธ์ กระทุ่มนา อรพิม ใบไม้สีทอง
  9. กันยายน : กรรณิการ์ พุดตะแคง กระทุ่มนา อรพิม ใบไม้สีทอง
  10. ตุลาคม : กรรณิการ์ พุดตะแคง อรพิม กระทุ่มนา พุดแตรงอน ใบไม้สีทอง
  11. พฤศจิกายน : รสสุคนธ์ อรพิม พุดแตรงอน วาสนา สัตตบรรณ หอมหมื่นลี้ มะลิไส้ไก่
  12. ธันวาคม : ลำดวน รสสุคนธ์ กุหลาบ วาสนา สัตตบรรณ หอมหมื่นลี้ พวงแก้วกุดั่น มะลิไส้ไก่ พะยอม

พรรณไม้ดอกหอมที่ออกดอกตลอดทั้งปี

มหาหงส์ จำปี จำปา แก้ว พุทธชาด เล็บมือนาง สายหยุด กุหลาบมอญดอกชมพู กุหลาบมอญดอกแดง กุหลาบลูกผสม แก้ว เข็มหอม การะเวก กระดังงาจีน กระดังงาไทย กระทิง กระดังงาสงขลา กาหลง หิรัญญิการ์ พิกุลพุดจีบ พุดซ้อน บุหงาส่าหรี ชะลูดช้าง ชำมะนาด ทิวาราตรี นางแย้ม ปีบ มะลิฉัตร มะลิซ้อน มะลิลา มะลิวัลย์ มะลิหลวง โมก แย้มปีนัง ราชาวดี ราตรี ลีลาวดี หีบไม้งาม กระหนาย

เปรียบเทียบจากการสืบค้นจากตำราพบว่า ช่วงเวลาในการออกดอก มีความใกล้เคียงกันไม่ค่อยพบความแตกต่าง

ช่วงเวลาการส่งกลิ่นหอม แบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา

ดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอม ในช่วงเวลาเช้า

  • ไม้ต้น ได้แก่ แก้ว ลำดวน ประดู่ พิกุล ลีลาวดี
  • ไม้พุ่ม ได้แก่ หอมหมื่นลี้ ทิวาราตรี กรรณิการ์ โมก
  • ไม้เลื้อย ได้แก่ สายหยุด สายน้ำผึ้ง บานบุรีหอม

ดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอม ในช่วงเวลาเย็น

  • ไม้ต้น ได้แก่ กันเกรา จำปา จำปี ปีบ ประดู่ กระดังงาไทย
  • ไม้พุ่ม ได้แก่ โมก มะลิไส้ไก่ มะลิฉัตร มะลิหลวง กาแฟโรบัสต้า ทิวาราตรี พุดแสงอุษา
  • ไม้เลื้อย ได้แก่ อรัญญิการ์ การเวก เล็บมือนาง
  • ไม้พุ่มรอเลื้อย ได้แก่ คัดเค้า นมแมว

ดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอม ในช่วงเวลากลางคืน

  • ไม้ต้น ได้แก่ สารภี สัตตบรรณ แก้ว ปีบ กระดังงาไทย เข็มหอม
  • ไม้พุ่ม ได้แก่ หอมหมื่นลี้ พุดสามสี โมก มะลิลา มะลิซ้อน มะลิฉัตร ราชาวดี ราตรี แย้มปีนัง กรรณิการ์ วาสนา
  • ไม้เลื้อย ได้แก่ รสสุคนธ์ การเวก เล็บมือนาง ชะลูดช้าง
  • ไม้พุ่มรอเลื้อย ได้แก่ พุทธชาด คัดเค้า นมแมว

ดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน

  • ไม้ยืนต้น ได้แก่ รวงผึ้ง อโศก ตันหยง พิกุล บุหงาส่าหรี กระทุ่มนา กระหนาย
  • ไม้พุ่ม ได้แก่ พุดซ้อน พุดตะแคง พุดแตรงอน มหาหงส์ ยี่โถ หีบไม้งาม กุหลาบ กาหลง นางแย้ม พวงไข่มุก หนามแดง
  • ไม้เลื้อย ได้แก่ พวงแก้วกุดั่น รสสุคนธ์ หิรัญญิการ์ ใบไม้สีทอง มะลุลี ชำมะนาด

การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำแบบสอบถามที่ทำการตอบแล้วมาวิเคราะห์ประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS. พบว่า

  1. ต้นไม้ดอกหอมที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ลีลาวดี (100%) และมะลิ (100%) รองลงมา คือ กระดังงา(98%) และ รู้จักน้อย คือ หิรัญญิการ์ (1-29%) ส่วนที่ไม่รู้จักเลยมีอีกเป็นจำนวนมาก
  2. ต้นไม้ดอกหอมที่ต้องการในบ้าน ได้คำตอบซ้ำกับในข้อ 2.1 ทั้งหมด
  3. ไม้ดอกที่ชอบดอกสวย แต่ไม่ชอบกลิ่น คือ ผกากรอง (74%) และสัตตบรรณ (26%)
  4. ไม้ดอกที่ชอบกลิ่นหอม แต่ไม่ชอบดอก คือ รสสุคนธ์ (43%) คัดเค้า (38%) นางแย้ม (19%)
  5. ความต้องการใช้กลิ่นหอมร่วมในการจัดสวน คือ ต้องการได้กลิ่นหอมภายในสวนจากไม้ดอกหอม (87%) และ ต้องการใช้กลิ่นจากรูปแบบอื่น เช่น กลิ่นจากธูปหอม เทียนหอม กลิ่นจากน้ำมันหอมและ เครื่องหอม กลิ่นน้ำ เป็นต้น (8%) แต่ไม่สนใจการใช้กลิ่นในการจัดสวน (5%)
  6. กลิ่นอื่นๆ นอกจากไม้ดอกหอม ที่ต้องการในสวนน้ำ (64%) กลิ่นหลังฝนตก (299%) กลิ่นหญ้าที่ตัดใหม่ (5%) เทียนหอม (29%)

การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจไม้ดอกหอม

  • จากข้อมูลการสำรวจไม้ดอกหอมภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และทำการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้กับตำราเกี่ยวกับไม้ดอกหอม ผลที่ได้ในเรื่องเวลาในการออกดอกจะตรงกับข้อมูลจากตำราเกี่ยวกับไม้ดอกหอมส่วนใหญ่ จะมีต่างในช่วงเวลาในการส่งกลิ่นหอม คือ กระดังงาไทย ใบไม้สีทอง ชำมะนาด ประดู่ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการปลูกในแต่ละที่มีสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการส่งกลิ่นหอมของไม้ดอกหอม ต่างกันออกไป เช่น อุณหภูมิ ช่วงแสง เป็นต้น
  • การตัดสินใจเลือกชนิดต้นไม้ดอกหอมมีอิทธิพลจากการเคยเห็นรูปร่างของดอก และเคยได้กลิ่นจากดอกจริงๆมาแล้ว มากกว่าดอกที่ไม่เคยรู้จัก หรือเพียงแค่รู้จักชื่อแต่ไม่เคยเห็นมาก่อน บุคคลส่วนใหญ่ต้องการใช้กลิ่นหอมเข้ามาร่วมในการจัดสวน แต่การเลือกชนิดของต้นไม้ดอกหอมยังเป็นที่ยอมรับอยู่เพียงไม่กี่ชนิด อาจสืบเนื่องมาจากผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์รู้จักชนิดของต้นไม้ดอกหอมไม่มากนัก

อ้างอิง: สำนักหอสมุด กำแพงแสน

รายละเอียดเพิ่มเติม