ต้นบุหงาลำเจียก ไม้ดอกหอม สกุลปาหนัน วงศ์กระดังงา ลักษณะ ออกดอกเดือนไหน?

ข้อมูลพรรณไม้ ต้นบุหงาลำเจียก ชื่อวิทยาศาสตร์ สกุลปาหนัน วงศ์กระดังงา พรรณไม้ไทย ไม้ยืนต้น ดอกไม้หอมแรง ปาหนันของไทย ลักษณะ ดอกบุหงาลำเจียก ดอกสีครีม 

บุหงาลำเจียก

บุหงาลำเจียก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Goniothalamus tapis Miq. วงศ์กระดังงา Annonaceae ชื่ออื่นว่า บุงอนือเก๊าะ สามะ

เมื่อเอ่ยถึงพรรณไม้ที่มีการปรับตัวได้ดีเพื่อการอยู่รอด "บุหงาลำเจียก" นับเป็นพรรณไม้วงศ์กระดังงาอีกชนิดหนึ่งที่ติดอยู่ในทำเนียบไม้ป่า เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของบุหงาลำเจียกที่ทำให้มีผู้อยากได้ไปครอบครอง คือดอกอันสวยงามและกลิ่นที่หอมหวาน ยังชอบอยู่ในพื้นที่ร่ม มีแสงแดดรำไรเท่านั้น

บุหงาลำเจียก ไม้ดอกหอมของไทย กลีบดอกสวยงาม และดอกมีกลิ่นหอมหวาน

photo by Jeab Nattawan.

บุหงาลำเจียก เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทยสามารถปรับตัวได้ดีเมื่อมีการนำมาปลูกนอกถิ่นกำเนิด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับถิ่นกำเนิด กระทั่งทำให้พรรณไม้หายากชนิดนี้ของไทยเปลี่ยนฐานะไปเป็นไม้ปลูกประดับที่สามารถนำไปปลูกได้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

บุหงาลำเจียก หรือที่รู้จักในชื่อ บุงอนือเก๊าะ และ สามะ ของชาวมุสลิม เป็นพืชในสกุลปาหนันที่มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นที่ระดับความสูง 30-300 ม. ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย

บุหงาลำเจียกเป็นไม้ที่ต้องอาศัยความชื้นสูงเพื่อการเจริญเติบโต ทั้งยังชอบอยู่ในพื้นที่ร่ม มีแสงแดดรำไรเท่านั้น

การปลูกเลี้ยงในสภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นในที่ที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บุหงาลำเจียก จึงเหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด โชคดีที่ผู้ที่ต้องการปลูกได้คิดวิธีการที่เหมาะสม โดยหาแหล่งปลูกที่มีสภาพคล้ายแหล่งกำเนิดของบุหงาลำเจียกให้มากที่สุด

ในปัจจุบันพบว่า มีการนำต้นกล้าเพาะเมล็ดจากถิ่นกำเนิดเดิมในภาคใต้มาปลูกในสวนเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพื้นดินชื้นแฉะและสภาพอากาศมีความชื้นสูงเหมือนกับสภาพผืนดินในภาคใต้ ก็พบว่าบุหงาลำเจียกสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดี

โดยต้นบุหงาลำเจียกที่นำมาปลูกกันอยู่ในภาคกลางนั้น สามารถปรับตัวอยู่กลางแจ้งได้ แต่มีทรงพุ่มขนาดเล็กลง และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นลักษณะที่ผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับต้องการกันมาก 

หลังจากนั้น ก็ได้ทดลองขยายพันธุ์ โดยวิธีการตอนและปักชำ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดี ช่วยให้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้กระถางได้ บุหงาลำเจียก จึงเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

บุหงาลำเจียก

ลักษณะพรรณไม้ของบุหงาลำเจียก

ต้นบุหงาลำเจียก มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-5 ม. เปลือกลำต้น หนา ฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอมเทา มีกลิ่นฉุน แตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนสีเทา

ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-22 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลมและโค้งงอเล็กน้อย ใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ใบด้านบนสีเขียว ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า

ดอกบุหงาลำเจียก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอ่อน เมื่อบานกลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลหรือขาวอมชมพู และมีกลิ่นหอม ดอกบานอยู่ได้ 2-3 วัน

กลีบเลี้ยงสีขาวและมีแถบม่วงแดง รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 5 มม. ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกเรียงเป็น 2 ชั้น กลีบชั้นนอกหนา รูปหอก โคนกลีบคอด ปลายกลีบแหลม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-5 ซม. ขอบกลีบชั้นในประกบกันเป็นแท่งสามเหลี่ยม ยาว 1-1.7 ซม. ออกดอกเกือบตลอดปี

ผล กลุ่ม มีผลย่อย 6-14 ผล ผลรูปกลมรี ยาว 1-1.2 ซม. เปลือกผลเรียบเป็นมัน เมื่อแก่สีม่วงเข้ม มี 1 เมล็ด เมล็ด กลมรีสีขาว ยาว 1 ซม. การขยายพันธุ์บุหงาลำเจียก สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ปลูกลงแปลงในที่ร่มรำไร ต้องการความชื้นสูง

ที่มา : หนังสือ 84 พรรณไม้ถวายในหลวง โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ โดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ, 2552

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

✓ต้นไม้: โมกนเรศวร โมกของไทย ณ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.ตาก?

การแบ่งประเภท(ตัวย่อ) สูตรผสม สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช รูปแบบของกลุ่มสารผสม?

✓ต้นไม้: 'พีพวนน้อย' (หมากผีผ่วน) ผลไม้ป่าไทย วงศ์กระดังงา?

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

ต้นอินทรชิต, เสลา(สะ-เหลา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร วิธีปลูก ราคา?