Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นเข็มทอง (เข็มแสด, เข็มส้ม) ชื่อสามัญ ประโยชน์ สรรพคุณ?

ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "เข็มทอง" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น เช่น เข็มป่า, เข็มส้ม, เข็มแดง, เข็มแสด, บือเจาะปูโยะ, ยาราง, อ้อ เป็นต้น

'เข็มทอง' เข็มแสด

การกระจายพันธุ์ของเข็มทอง พบได้ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, บังกลาเทศ, เมียนมาร์, ไทย, กัมพูชา, เวียดนาม, คาบสมุทรมาลายู, ชวา, สุมาตรา, บอร์เนียว

ต้นเข็มทอง เข็มแสด เข็มป่าพื้นเมืองของไทย สรรพคุณ

ในไทยพบได้เกือบทั่วประเทศ ส่วนมากพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ในภาคเหนือตอนบนพบที่จังหวัดลำปาง และพบประปรายทางภาคเหนือ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบขึ้นตามป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าชายหาด หรือตามป่าที่กำลังฟื้นตัว ขึ้นใต้ร่มเงา ในที่มีแสงรำไร-ที่โล่ง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,200 ม.

ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ

  • เข็มทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora javanica (Blume) DC.
  • อยู่ในวงศ์ Rubiaceae
  • มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Glossy Ixora

ชื่อพ้อง (Synonyms) : 

  • Ixora amara Steud.
  • Ixora amoena Wall. ex G.Don
  • Ixora cyathosperma Wall.
  • Ixora mutabilis Reinw. ex Miq.
  • Pavetta javanica Blume

ข้อมูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นเข็มทอง มีลักษณะเป็น ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 1–3 ม. ตามกิ่ง ใบ และช่อดอกเกลี้ยง หูใบร่วม หูใบยาว 4–6 มม. ปลายเป็นติ่งแหลมยาว 2–3 มม.

ใบเข็มทอง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบรูปรีถึงรูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 7–18 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนแหลมหรือมน แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 7–10 เส้น ก้านใบยาว 5–10 มม. ก้านช่อดอกสีแดง และบวมพองเมื่อติดผล

ดอกเข็มทอง ดอกออกเป็นช่อดอกแบบช่อกระจุกคล้ายช่อเชิงหลั่น ออกสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง รูปดอกเข็ม ก้านช่อยาว 1–4.5 ซม. ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 0.7–1 มม. หลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1 มม. 

กลีบรูปสามเหลี่ยมตื้น ๆ ดอกสีส้มอมแดง (สีแสด) หรือ สีส้มอมเหลือง หลอดกลีบดอกยาว 2–3.5 ซม. ลีบรูปไข่ ยาว 6–9 มม. ปลายกลีบแยก 4 กลีบรูปสามเหลี่ยมตื้น ๆ ติดทน อับเรณูยาว 2–2.5 มม.

เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดที่ปากหลอดกลีบดอก อับเรณูยาวเท่า ๆ ก้านชูอับเรณู ยาว 2–2.5 มม. ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก บานออก รังไข่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ดก้านเกสรเพศเมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก 3–4 มม. ยอดเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก บานออก ยาว 1–1.5 มม.

ผลเข็มทอง ผลสด รูปรีเกือบกลม หรือ ผลกลม กว้าง 8 มม. ผลอ่อนสีเขียวไม่มีลาย สุกสีดำ ผลสด รูปรีเกือบกลม ยาว 5–8 มม. หยัก 2 พู มี 1–2 ไพรีน

ประโยชน์ และสรรพคุณ ทางสมุนไพร

เป็นไม้ประดับ ใบอ่อนและดอกกินได้

สรรพคุณ เข็มทอง

  • ทั้ง 5 : ขับเสมหะ แก้ไอ
  • ราก : แก้ไข้ตัวร้อน รักษาไข้ป่า ไข้มาลาเรีย
  • ตำรับ ยาแก้หวัด/ไอ/เจ็บคอ/โรคหอบหืด แก้หวัด แก้ไอ-เจ็บคอ แก้หอบหืด
  • ตำรับ ยาขับเสมหะ ช่วยขับเสมหะในอกและลำคอ

วิธีปลูกเลี้ยงดูแลและการขยายพันธุ์

เนื่องจากต้นเข็มทอง เป็นเข็มพื้นเมืองของไทยที่เติบโตได้เองในธรรมชาติ ดังนั้นจึงปลูกเลี้ยงดูแลง่าย ทนทาน ปรับตัวเก่ง ทดลองเก็บผลสุก มาเพาะเมล็ด ก็งอกได้ดีและสามารถเจริญเติบโตจนออกดอกในกระถางได้ครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม