ต้นมะลิสยาม (มะลิวัลย์เถา, เสี้ยวดิน) มะลิป่าพื้นเมืองไทย พืชถิ่นเดียว พืชหายาก?

มะลิสยาม หรือ มะลิวัลย์เถา เป็นพืชถิ่นเดียวและพืชหายากของไทย เป็นไม้ไทยดอกหอมที่มีขนาดดอกใหญ่ถ้าเทียบกับขนาดต้น และดอกมีกลิ่นหอมแรง จึงเหมาะสำหรับนำมาปลูกประดับเป็นไม้ดอกหอมได้เป็นอย่างดี ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม เมื่อผลแก่ ผลสีแดงเข้มสวยงามสะดุดตา

มะลิสยาม (มะลิวัลย์เถา)

มะลิสยาม จัดอยู่ในวงศ์มะลิ Oleaceae ได้รับการตั้งชื่อเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกโดยศาสตราจารย์ William Grant Craib นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum siamense Craib พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 ที่อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ตัวอย่างพันธุ์ไม้ต้นแบบหมายเลข Kerr 2307 เก็บจากป่าละเมาะระหว่างจังหวัดลําปางและจังหวัดแพร่

มะลิสยาม (มะลิวัลย์เถา)

ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากมะลิชนิดอื่นนอกจากจะเป็นพุ่มเตี้ย มีรากสะสมอาหารในดิน สามารถแตกกิ่งจากส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ดินได้ จึงทนทานต่อความแห้งแล้งและไฟป่าได้ดี มีกลีบเลี้ยงบางแต่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพวกมะลิด้วยกันเอง สามารถพบได้ตามป่าละเมาะ ป่าไผ่แล้ง ป่าผลัดใบผสมและตามพื้นที่แนวเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 50-1,000 เมตร ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

รายละเอียดเพิ่มเติม

ตั้งชื่อระบุชนิด ‘siamense’ ตามชื่อสยาม ซึ่งเป็นชื่อเก่าของประเทศไทย ซึ่งเป็นที่พบตัวอย่างพรรณไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก ตีพิมพ์ลงในวารสาร Bulletin of Miscellaneous Information, Royal Botanic Gardens, Kew หน้า 70 ค.ศ. 1913 บางคนจึงเรียกกันจนติดปากว่า "มะลิสยาม" และยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ไข่ไก่ (เลย) ดอกเสี้ยว มะลิเมา มะลิวัลย์เถา (ทั่วไป) เสี้ยวดิน (ภาคเหนือ) ไส้ไก่ (เลย)

มะลิสยาม มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ย เป็นมะลิต้นเล็กที่สุด สูงเพียงประมาณ 20-40 ซม.เท่านั้น บริเวณโคนมีเนื้อไม้ ต้นอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลมและมีติ่งหนามเล็ก โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ยกเว้นใบอ่อนมีขนประปรายบริเวณโคนเส้นกลางใบด้านล่าง เส้นแขนงใบมีประมาณ 3 คู่ ไม่มีตุ่มใบ ก้านใบยาว 0.2-0.5 ซม. มีขนสั้นประปราย

ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อ 1-3 ดอก ที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ ก้านช่อดอกยาว 3-15 มม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ยาว 2 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปรี สีเขียว กว้าง 0.1-0.4 ซม. ยาว 0. 5-1.5 ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1-1.8 ซม. ปลายแยกเป็นแฉก กลีบดอกสีขาว รูปรีแคบ กว้าง 0.2-0.4 ซม. ยาว 1.2-2 ซม. ปลายกลีบแหลม กลีบดอกมี 9 กลีบ เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร

เกสรเพศผู้ 2 อัน ติดที่หลอดของกลีบดอก เกสรเพศเมียรูปคล้ายถังไม้ ป่องตรงกลาง ยาว 1 มม. ผลรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-0.8 ซม. ผลคล้ายผลมะลิวัลย์ แต่ผลมะลิสยาม เมื่อแก่สีแดงหรือส้ม แต่ผลมะลิวัลย์เมื่อแก่สีดำ

อ้างอิง: หนังสือเผยแพร่; พรรณไม้เกียรติประวัติของไทย เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2550

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

✓ต้นไม้: โมกนเรศวร โมกของไทย ณ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.ตาก?

การแบ่งประเภท(ตัวย่อ) สูตรผสม สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช รูปแบบของกลุ่มสารผสม?

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

✓ต้นไม้: 'พีพวนน้อย' (หมากผีผ่วน) ผลไม้ป่าไทย วงศ์กระดังงา?

ต้นอินทรชิต, เสลา(สะ-เหลา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร วิธีปลูก ราคา?