Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

ต้นพุดฝรั่ง (มะลิฝรั่ง, พุดป่า) ดอกพุดของไทย ดอกมีกลิ่นหอม?

พุดฝรั่ง หรือ มะลิฝรั่ง (พุดป่า) ดอกพุดพื้นเมืองของไทย พบได้ทุกภาคตามเขาหินปูน ออกดอกเป็นช่อสีขาว ดอกสวยน่ารัก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ (บางต้นก็อาจดอกไม่มีกลิ่น)

พุดฝรั่ง (พุดป่า)

ต้นพุดฝรั่งเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก จึงปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา สร้างบรรยากาศร่มรื่นแบบสวนป่าในบ้านได้ดี ถ้าออกดอกบานสะพรั่งพร้อมๆกัน จะส่งกลิ่นหอมโชย

พุดฝรั่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tabernaemontana pandacaqui Lam. จัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae มีชื่ออื่นว่า มะลิฝรั่ง (กรุงเทพฯ) ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษว่า Windmill bush

ต้นพุดฝรั่ง (มะลิฝรั่ง, พุดป่า) ดอกพุดของไทย ดอกมีกลิ่นหอม...

ต้นพุดฝรั่ง มีลักษณะเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ถึงประมาณ 7-10 ม. ตามกิ่งก้านจะมีรอยช่องอากาศ ตามกิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนสั้นนุ่มประปราย 

รายละเอียดเพิ่มเติม

ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ ก้านใบยาว 2-7 มม. แผ่นใบเมื่อแห้งบางคล้ายกระดาษ กว้าง 1.4-5.6(-10) ซม. ยาว 4.1-18.5(-26) ซม. ปลายเรียวแหลมหรือยาวคล้ายหาง โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม

ดอกพุดฝรั่ง ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ หรือไม่มีกลิ่น ออกเป็นช่อดอกแบบช่อกระจุก มีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง ช่อดอกยาว 4-9.5 ซม. แต่ละช่อมีดอกประมาณ 4-18 ดอก

ตาดอกปลายมนหรือกลม กลีบเลี้ยงรูปไข่ ปลายมนหรือเรียวแหลม กว้าง 1.4-2 มม. ยาว 1.5-2.8 มม. มีขนสั้นนุ่มหรือเกลี้ยง มีขนครุยหรือไม่มี วงกลีบดอกในดอกตูม ยาว (10-)2.2-3 ซม. ส่วนปลายเป็นตุ่มกลม ยาว 0.2-0.4 เท่าของความยาวดอก ปลายมนหรือทู่ เกลี้ยงทั้งด้านนอกและด้านในกลีบ หลอดกลีบบิดหรือไม่บิด หลอดกลีบดอกยาว (0.8-)1.8-2.3 ซม. ด้านในเกลี้ยง แฉกกลีบยาว (0.6-)1.5-1.7 ซม.

เกสรเพศผู้ติดอยู่ครึ่งบนของหลอดกลีบดอก อับเรณู กว้าง 0.5-0.7 มม. ยาว 1.9-3.1 มม. รังไข่ ยาว 1.2-2.8 มม. ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 1.1-1.6 มม. รวมยอดเกสร

ผล ออกเป็นฝักคู่ ผลรูปรีหรือขอบขนานบิดเบี้ยว ปลายเรียวแหลม โค้งกลับ มีสันตามยาว ผิวเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม กว้าง 0.7-1.4(-3) ซม. ยาว 1.7-2.7(-7.1) ซม. ผลแห้งแก่แตกด้านเดียว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก จำนวน 2-40 เมล็ด เมล็ดรูปทรงรีเบี้ยว กว้าง 2.6-6 มม. ยาว 5-10 มม.

ต้นพุดฝรั่ง มีการกระจายพันธุ์ พบที่จีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก

สำหรับในประเทศไทย ต้นพุดฝรั่งเป็นไม้พื้นเมืองของไทย พบแทบทุกภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลย ขอนแก่น) ภาคตะวันตกเฉียงใต้ (เพชรบุรี) ภาคกลาง(อยุธยา กรุงเทพฯ) ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช ตรัง สงขลา ยะลา)

นิเวศวิทยาของพุดฝรั่ง พบขึ้นตามเขาหินปูน โดยเฉพาะตามเขาหินปูนทางภาคใต้ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 850 เมตร ออกดอกและเป็นผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปและมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ว่ามีสรรพคุณทางด้านสมุนไพร

อ้างอิง : หนังสือเผยแพร่; พรรณไม้สำคัญในระบบนิเวศเขาหินปูน กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว โดย กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2561

รายละเอียดเพิ่มเติม