ลองเลย!!

LAZADA 5.5

ช้อปสนุกทุกองศา!

5 -7 พฤษภาคม 2567

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓กล้วยไม้: เอื้องกำเบ้อ เอื้องหงส์ทอง เอื้องผีเสื้อ กล้วยไม้ป่า?

วันนี้จะพามารู้จักกล้วยไม้ ดอกใหญ่ ดอกสวย และมีกลิ่นหอมมาก ปัจจุบันพบกล้วยไม้ชนิดนี้ในธรรมชาติได้ยากมาก กล้วยไม้ที่ว่านี้มีชื่อกลางเรียกว่ากล้วยไม้ "เอื้องกำเบ้อ"

เอื้องกำเบ้อ (เอื้องหงส์ทอง)

ชื่อไทยของกล้วยไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "เอื้องกำเบ้อ" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) 

กล้วยไม้ เอื้องกำเบ้อ Cymbidium tracyanum
image : Herbarium News

และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น เอื้องหงส์ทอง, กะเรกะร่อนอินทนนท์, เอื้องผีเสื้อ, เอื้องช้าง, เอื้องชาด, เอื้องฮ่องฟู เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

กล้วยไม้ป่า เอื้องกำเบ้อ (เอื้องหงส์ทอง) มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ ตั้งแต่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทิเบต, อัสสัม, จีนตอนกลาง-ตอนใต้, ตอนเหนือของพม่า, ภาคเหนือของไทยที่ระดับความสูง 1,200 เมตรขึ้นไป บนยอดดอยภูหลวง เชียงใหม่ เลย และตอนเหนือของเวียดนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ

  • กล้วยไม้ เอื้องกำเบ้อ (เอื้องหงส์ทอง) ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cymbidium tracyanum L.Castle (อ่านว่า ซิม-บิ-เดียม เทร-ซี-อา-นัม)
  • อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ Orchidaceae
  • มีชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Tracy's cymbidium
  • ชื่อพ้อง (Synonyms) :
    • Cymbidium zaleskianum L.Linden
    • Cyperorchis tracyana (L.Castle) Schltr.

ความเป็นมา

กล้วยไม้ชนิดนี้ พบครั้งแรกเมื่อร้อยยี่สิบกว่าปีมาแล้ว โดยพบดอกบานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) เป็นกล้วยไม้ที่ Mr. Tracy ปลูกไว้ที่ตำบล ทวิกเกนแนม (Twickenham) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นกล้วยไม้ที่ปะปนอยู่กับ กะเรกะร่อนปากนกแก้ว (Cymbidium lowianum Rchb. f.) ที่สั่งนำ เข้ามาปลูก โดยต้นที่ยังไม่ออกดอกจะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เมื่อต้นออกดอกและพบว่าเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่

ความหมาย

นักพฤกษศาสตร์ที่ชื่อ Castle จึงได้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ Mr. Tracy โดยให้ชื่อคำ ระบุชนิดว่า ‘tracyanum’ จึงนิยมเรียกชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ว่า Tracy's cymbidium สำหรับชื่อไทย คำว่า ‘กำเบ้อ’ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า "ผีเสื้อ" ลองสังเกตดูภาพดอกประกอบนะครับ มองเผิน ๆ คล้ายผีเสื้อ

กล้วยไม้ เอื้องกำเบ้อ Cymbidium tracyanum
image : Herbarium News

ภาพวาด เอื้องกำเบ้อนี้ได้มาจากหนังสือ The Genus Cymbidium ของ Dr David Du Puy และ Dr Phillip Cribb ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้แห่งสวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอนครับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เอื้องกำเบ้อ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย EO (Epiphytic Orchid กล้วยไม้อิงอาศัย / กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้) ลำลูกกล้วยขนาดใหญ่ รูปรี เป็นกล้วยไม้ซิมบิเดียมขนาดใหญ่ที่สง่างามอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะโดยรวมนั้นคล้ายกับซิมบิเดียมปากนกแก้ว มาก จนแทบแยกไม่ออกหากไม่มีดอก

ใบเอื้องกำเบ้อใบรูปแถบ กว้างได้ถึง 4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. ปลายแหลม ช่อดอกออกที่ด้านข้างลำ ลูกกล้วยยาวได้มากกว่า 1 ม.

ดอกเอื้องกำเบ้อ มีก้านช่อดอกใหญ่แข็งแรง โค้งงออย่างสวยงาม สามารถยาวได้ถึง 130 ซม. แต่ละช่อมี 10-20 ดอก ดอกขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 15 ซม. กลีบสีเขียวอมเหลือง มีจุดและเส้นสีน้ำตาลแดง ยาวหลายเส้นขนานกับกลีบดอก กลีบปากโค้ง ที่ปากมีขนซึ่งเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของกำเบ้อ โคนกลีบมีสัน 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมแรง (ดอกบานไม่ทนนานเท่าซิมบิเดียมปากนกแก้ว) ฤดูการออกดอก กันยายน-มกราคม จัดเป็นกล้วยไม้ซิมบิเดียมดอกใหญ่ที่ออกดอกก่อนชนิดอื่นๆ

เอื้องกำเบ้อ (เอื้องหงส์ทอง) กล้วยไม้ไทย Cymbidium tracyanum
image : Cymbidium tracyanum L.Castle - Kew cult. s.n. (6 December 2016) by A. Schuiteman [4]

วิธีปลูก และการขยายพันธุ์

วิธีปลูก เอื้องกำเบ้อ ปัจจุบันนิยมนำ เพาะเลี้ยงเพื่อตัดดอกขาย แต่ต้องเป็นสถานที่ที่อากาศค่อนข้างเย็นเช่นทางภาคเหนือ ในการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ซิมบิเดียม เอื้องกำเบ้อ ถูกนำมาใช้ไม่มากนัก อาจเพราะเรื่องการให้สีในลูกผสมที่มักเป็นสีทึมไม่ชัดเจนแบบปากนกแก้ว แต่ข้อดีคือจะได้ลูกผสมที่ออกดอกต้นฤดู (Early Blooming) และมีกลิ่นหอม

การดูแล ต้นเอื้องกำเบ้อ

กล้วยไม้ชนิดนี้ไม่สามารถเลี้ยงได้ในกรุงเทพ เอื้องกำเบ้อ หรือ เอื้องหงส์ทอง เจริญงอกงามและออกดอกในสภาพธรรมชาติบนอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

การจำหน่าย เอื้องกำเบ้อ ราคา

ปัจจุบันพบได้น้อยในสภาพธรรมชาติ เนื่องจากถูกเก็บออกมาขายมาก ตลาดที่พบกล้วยไม้ชนิดนี้บ่อยคือ ตลาดการค้าชายแดนด่านสิงขร ซึ่งอาจจะเป็นเอื้องกำเบ้อที่เก็บมาจากพม่า ถ้าไปเที่ยวตลาดชายแดนก็อย่าซื้อน่ะครับ ถ้าซื้อก็จะเป็นการสนับสนุนให้คนเก็บออกมาขายเรื่อย ๆ จนหมดป่า การปลูกเลี้ยงในที่อากาศร้อนก็ยาก สุดท้ายก็ตายก่อนออกดอกให้เห็นครับ

กล้วยไม้ เอื้องกำเบ้อ Cymbidium tracyanum
image : Herbarium News

ภาพถ่ายนี้ ถ่ายมาจากหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ แม่สะมาด อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อเดือนมกราคม 2555 ครับ ที่นั้นยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ตามพระราชดำ ริด้วยครับ ช่วงเดือนมกราคม จะมีดอกบานเป็นพัน ๆ ดอก

สถานภาพ Status

กล้วยไม้เอื้องกำเบ้อ (เอื้องหงส์ทอง) อยู่ในสถาณภาพ VU - (Vulnerable species) - ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ

อ้างอิง

  1. ชื่อนั้น สำคัญไฉน? โดย พฤกษ์พเนจร. 2555. Herbarium News หนังสือพิมพ์จิ๋ว ปีที่ 5 ฉบับที่ 1.
  2. Threatened Plants in Thailand.--Bangkok : Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, 2017
  3. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
  4. Plants of the World Online | Kew Science by Royal Botanic Gardens, Kew.
  5. The IUCN Red List of Threatened Species.
  6. กล้วยไม้ซิมบิเดียมกำเบ้อ หรือ หงส์ทอง หรือ กะเรกะร่อนอินทนนท์(Cym. tracyanum)

รายละเอียดเพิ่มเติม