✓ต้นไม้: โฮย่าภูหลวง Hoya phuluangensis พบที่ภูหลวง จ.เลย?
โฮย่าภูหลวง เป็นโฮย่าพื้นเมืองของไทยที่พบได้ตาม สถานที่พบคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย มีถิ่นที่อยู่อาศัยคือพบเลื้อยพันอยู่บนต้นไม้และกิ่งไม้ บริเวณที่ร่มในป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,400 ม.
โฮย่าภูหลวง Hoya phuluangensis
โฮย่าภูหลวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hoya phuluangensis Kidyoo, คำระบุชนิดว่า 'phuluangensis' อ่านว่า ภูหลวงเอ็นสิส หมายถึง พบที่ภูหลวง
- ชั้น (Clade/Class) : Mesangiosperms
- ชั้นย่อย (Clade/Subclass) : Asterids
- กลุ่ม (Group) : Spermatophytes
- อันดับ (Order) : Gentianales
- วงศ์ (Family) : Apocynaceae
- วงศ์ย่อย (Subfamily) : Asclepiadoideae
- สกุล (Genus) : Hoya
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นโฮย่าภูหลวง ไม้เลื้อยอิงอาศัย ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับหรือรูปใบหอกกลับ ปลายเรียวแหลม โค้งเล็กน้อย โคนแหลมถึงมน มีต่อมโคนขนาดเล็ก ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง แข็ง เกลี้ยง
ดอกโฮย่าภูหลวง ช่อดอกออกเหนือซอกใบ มี 3-10 ดอก กลีบเลี้ยงสีขาวนวลถึงสีขาวอมชมพู แฉกกลีบเลี้ยง 5 แฉก แยกเป็นแฉกลึกเกือบถึงโคน รูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม
กลีบดอกรูปวงล้อ กลีบดอกสีขาวหรือสีขาวนวลหรือสีขาวอมชมพู ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.3-2.7 ซม. ผิวเป็นไข หลอดกลีบดอกรูปถ้วยตื้น แฉกกลีบดอกรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม กางออกเมื่อบาน ปลายแหลม ขอบม้วนลง กะบังรอบขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของกลีบดอก
ผลโฮย่าภูหลวง ผลแบบผลแตกแนวเดียว ออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ รูปกระสวย เมล็ดรูปไข่แกมรูปรี มีขนกระจุกปลายสีขาวคล้ายไหมด้านหนึ่ง ยาว 2-2.5 ซม.
- วันที่เก็บตัวอย่าง: 11/05/2008
- ตัวอย่างต้นแบบ: M. Kidyoo 1014 (holotype BKF, isotype BCU)
- ปีที่ตีพิมพ์: ปี 2561
เอกสารอ้างอิง
- Kidyoo, A. & Kidyoo. M. 2018. “A new species of Hoya (Marsdenieae), three new combinations and two new names in Vincetoxicum (Asclepiadeae) from Thailand”. Taiwania 63(1): 25-31.
อ้างอิง : ข้อมูลและภาพ จาก พิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย