✓ต้นไม้: โฮย่าภูวัว (Hoya phuwuaensis) พบที่ ภูวัว จ.บึงกาฬ
*ดูราคาต้นไม้ โฮย่า Hoya สายพันธุ์ต่างๆ ...
👉 ดูเพิ่มเติมที่ร้านค้า
โฮย่าภูวัว เป็นโฮย่าพื้นเมืองของไทยที่พบได้ตาม สถานที่พบคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ มีถิ่นที่อยู่อาศัยคือพบขึ้นอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง รับแสงเต็มที่ ในป่าผสมผลัดใบ ที่สูงจากระดับทะเลประมาณ 200 ม.
โฮย่าภูวัว (Hoya phuwuaensis)
โฮย่าภูวัว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hoya phuwuaensis Kidyoo, คำระบุชนิดว่า 'phuwuaensis' อ่านว่า ภูวัวเอ็นสิส หมายถึง พบที่ภูวัว
- ชั้น (Clade/Class) : Mesangiosperms
- ชั้นย่อย (Clade/Subclass) : Asterids
- กลุ่ม (Group) : Spermatophytes
- อันดับ (Order) : Gentianales
- วงศ์ (Family) : Apocynaceae
- วงศ์ย่อย (Subfamily) : Asclepiadoideae
- สกุล (Genus) : Hoya
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โฮย่าภูวัว (Hoya phuwuaensis)
ต้นโฮย่าภูวัว มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยอิงอาศัย ยาวประมาณ 2 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวอมเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนรูปลิ่มถึงแหลม
มีต่อมโคนรูปไข่ถึงรูปขอบขนานขนาดเล็ก ขอบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนสีเขียวเข้มมีแต้มสีขาว มีขนแข็งสาก ด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนแข็งเอนประปราย
ดอกโฮย่าภูวัว ช่อดอกออกเหนือซอกใบ มี 18-20 ดอก ดอกตูมรูปทรงห้าเหลี่ยมด้านเท่า กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม ผิวสาก ด้านบนมีต่อมโคนรูปไข่อยู่ระหว่างแฉก
กลีบดอกรูปวงล้อ กลีบดอกสีขาวนวลหรือสีขาวอมเหลือง ผิวด้านบนมีขนยาวตรงหนาแน่นบริเวณขอบแฉก แฉกกลีบดอกรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โค้งและม้วนลง กะบังรอบสีแดงอมม่วง เกสรเพศเมียมีรังไข่ 2 รังไข่ชัดเจน เกลี้ยง
ผลโฮย่าภูวัว ผลแบบผลแตกแนวเดียว รูปแถบแกมรูปใบหอก สีเขียวอ่อนมีจุดประสีน้ำตาลแดงกระจายทั่วไป เมล็ดรูปขอบขนานแคบ มีขนกระจุกปลายสีขาวคล้ายไหมด้านหนึ่ง
- วันที่เก็บตัวอย่าง: 12/09/2008
- ตัวอย่างต้นแบบ: M. Kidyoo 1035 (holotype BKF,isotype BCU)
- ปีที่ตีพิมพ์: ปี 2559
เอกสารอ้างอิง
- Kidyoo, M. 2016. “Hoya phuwuaensis (Apocynaceae: Asclepiadoideae), a new species from Northeastern Thailand”. Phytotaxa 282 (3): 218–224.
อ้างอิง : ข้อมูลและภาพ จาก พิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย