ต้นมะลิเขี้ยวงูเล็ก มะลิพื้นเมืองไทย ไม้เลื้อยดอกหอม ลักษณะ วิธีปลูกให้ออกดอก?
มะลิเขี้ยวงูเล็ก เป็นมะลิพื้นเมืองของไทย ไม้เลื้อยดอกหอม ที่พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
มีถิ่นที่อยู่อาศัยคือพบตามป่าเบญจพรรณ ชายป่าหรือป่าที่กำลังฟื้นตัวของป่าดงดิบเขาหรือป่าดงดิบแล้ง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,600 ม.
มะลิเขี้ยวงูเล็ก
มะลิเขี้ยวงูเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum nervosum Lour.
จัดอยู่ในวงศ์มะลิ OLEACEAE
มะลิเขี้ยวงูเล็ก มีชื่ออื่น เป็นชื่อท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น เขี้ยวงู, เขี้ยวงูเล็ก, มะลิดิน, มะลิย่าน, มะลิไส้ไก่, ลิย่าน, แส้วดง เป็นต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นมะลิเขี้ยวงูเล็ก มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ยาวถึง 5 ม. กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่-ใบหอก ปลายใบเรียวแหลม-ยาวคล้ายหาง เส้นแขนงใบแบบขนนก ปลายเส้นโค้งจรดกันกับเส้นคู่ถัดไปที่ใกล้ขอบใบ มีเส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ค่อนข้างเด่นชัด คล้ายเส้นขอบในชัดเจน
ที่แผ่นใบด้านบนมีรอยกดเป็นร่องตามแนวเส้นแขนงใบ ผิวใบเกลี้ยง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดปลายแยกเป็นเส้นสีเขียว-แดง ยาว 0.5–1.2 ซม. เกลี้ยง
ดอกมะลิเขี้ยวงูเล็ก กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดยาว 1–2 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปแถบยาว 7–8 แฉก ยาว 1.2–2 ซม. มีกลิ่นหอม
ผลมะลิเขี้ยวงูเล็ก ผลรูปรี ยาว 1 ซม.
สรรพคุณทางสมุนไพร มะลิเขี้ยวงูเล็ก
ราก : แก้ปวดกระดูก แก้ปวดฟัน แก้ปวดแผลฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก