Lazada Flash Sale

โปรฟ้าผ่า!! รับซัมเมอร์

ลดแรงกว่า 90%* ช้อปเลย »

✓ต้นไม้: ยอดิน,สลักป่า พืชป่าพื้นเมืองไทย สมุนไพร สรรพคุณ?

ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "ยอดิน" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่นที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น สลักบ้าน, สลักป่า, ยารากเหลือง, ยอแหยง ภาษากะเหรี่ยง(แม่ฮ่องสอน) เรียกว่า "เคาะ" เป็นต้น

'ยอดิน', สลักป่า

ต้นยอดินมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ อัสสัม, บังกลาเทศ, จีนตอนกลาง-ตอนใต้, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก, เนปาล, ลาว, ไทย, เมียนมาร์

ดอกยอดิน, สลักป่า สรรพคุณ พืชป่าสมุนไพร

ต้นยอดิน เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของไทย ที่จัดว่าเป็นพืชป่าสมุนไพรไทย พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี มีถิ่นที่อยู่อาศัย พบตามป่าเบญจพรรณ หรือตามชายป่าดงดิบแล้ง ในที่โล่ง-ในบริเวณที่มีแสงรำไร ที่ระดับความสูง 500-1,000 ม.

รายละเอียดเพิ่มเติม

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • ยอดิน ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Morinda angustifolia Roxb. var. angustifolia
  • อยู่ในวงศ์ Rubiaceae
  • ชื่อพ้อง (Synonyms) : Morinda squarrosa Buch.-Ham.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นยอดิน มีลักษณะเป็น ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูงถึง 4 ม. กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามส่วนต่าง ๆ เกลี้ยง

ต้นยอดิน, สลักป่า สรรพคุณ พืชป่าสมุนไพร

ใบยอดิน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามตั้งฉาก ใบรูปรีแกมขอบขนาน รูปรี รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปใบหอก กว้าง 6-10 ซม. ยาว 13–25 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ก้านใบยาว 5–10 มม. โคนใบแหลมหรือสอบเรียว ขอบเรียบ หูใบระหว่างก้านใบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 4.5-5 มิลลิเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสากมือเล็กน้อย

ดอกยอดิน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ที่ปลายกิ่ง ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยจำนวนมากมีใบประดับรูปลิ่มแคบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปตัดถึงหยักซี่ฟันถี่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร

กลีบดอกสีขาว รูปดอกเข็ม เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปรีแกมรูปใบหอก ยาว 4-15 มิลลิเมตร หลอดกลีบดอกยาว 16-33 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ติดที่หลอดกลีบดอก รังไข่ใต้วงกลีบ อับละอองเรณูสีเหลืองอ่อน

ผลยอดิน ผลเป็นผลรวม มีผลเมล็ดเดียวแข็งมาเชื่อมติดกัน ขนาด 10-15 มิลลิเมตร รูปไข่กลับ ถึงรูปเกือบกลม

ผลยอดิน, สลักป่า สรรพคุณ พืชป่าสมุนไพร

ประโยชน์ และ สรรพคุณ ทางสมุนไพร

ชาวกะเหรี่ยงนำรากมาใช้ย้อมผ้าให้สีน้ำตาลเข้ม

สารสำคัญ ในรากยอป่าและยอดินจะมีสารให้สีหลัก 2 ตัว คือ มอรินโดน (Morindone) และ อลิซาริน-1-เมทิล เอสเทอร์ (Aizarin-1-methyl ether) ที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เป็นกรด 

สารทั้งสองตัวนี้จะให้สีเหลือง ถ้าค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เป็นด่าง (8 ขึ้นไป) สารทั้งสองตัวนี้จะให้สีแดงส้ม ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ใช้ย้อมเส้นใยผ้าให้สีแดง

สรรพคุณ ยอดิน

  • ราก : แก้ไข้ บำรุงกำลัง
  • ใบ : แก้เชื้อรา ใบต้มน้ำดื่มหรือเคี้ยวกินสด แก้ปวดท้อง

อ้างอิง

รายละเอียดเพิ่มเติม