Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

✓ต้นไม้: 'มหาหงส์' โกเมษ (โกเมศ) พืชสมุนไพรไทย สรรพคุณ

ชื่อไทยของพรรณไม้ในสกุลมหาหงส์ นี้มีชื่อทางการว่า "โกเมษ" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557) และยังมีชื่ออื่น ๆ ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น มหาหงส์ โกเมศ, ขิงแห้ง เป็นต้น

มหาหงส์' โกเมษ (โกเมศ)

ในประเทศไทย พบต้นมหาหงส์ โกเมษ พรรณไม้หายาก พบขึ้นบนก้อนหินหรืออิงอาศัยบนต้นไม้ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในป่าตะวันออก พบในป่าดิบเขาต่ำ ป่าดิบชื้น ที่มีความชื้นสูง ที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ที่ระดับความสูง 900-1,000 เมตร

ชื่อวิทยาศาสตร์

  • มหาหงส์ โกเมษ ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hedychium gomezianum Wall.
  • อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae
  • ชื่อพ้อง (Synonyms) : Gandasulium gomezianum (Wall.) Kuntze

ต้นมหาหงส์ โกเมษ (โกเมศ) ขิงแห้ง Hedychium gomezianum
image : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

ข้อมูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้นมหาหงส์ โกเมษ เป็นพืชอิงอาศัย มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกอิงอาศัย สูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร เหง้าอวบน้ำ สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมร้อน ลำต้นเทียมกลมเรียว กาบใบเกลี้ยง สีเขียวและแดงที่ขอบ โคนลำต้นสีแดง

ต้นมหาหงส์ โกเมษ (โกเมศ) ขิงแห้ง Hedychium gomezianum
image : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

ใบมหาหงส์ โกเมษ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ไม่มีก้านใบ แผ่นใบ รูปใบหอกถึงรูปรี ขนาด 25-30 x 3.5-6 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ขอบใบเรียบ โคนใบสอบแหลม ปลายใบเรียวแหลม

ดอกมหาหงส์ โกเมษ ช่อดอก แบบช่อกระจะแน่น ออกที่ปลายลำต้นเทียม ใบประดับ รูปใบหอก สีเขียวอ่อน ดอกสีขาวและสีเหลืองเมื่อแก่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมเป็นหลอด ปลายแยก 3 แฉก สีเขียวอ่อนและสีเหลืองเมื่อแก่

ต้นมหาหงส์ โกเมษ (โกเมศ) ขิงแห้ง Hedychium gomezianum
image : สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช

กลีบดอกโคนเชื่อมเป็นหลอด สีขาว ปลายแยก 3 แฉก รูปขอบขนานยาว แฉกบิดเป็นริ้ว สีเขียวอ่อนและสีเหลืองเมื่อแก่ เกสรเพศผู้มีทั้งแบบเป็นหมัน 2 อัน สีขาวและสีเหลืองเมื่อแก่ และเกสรเพศผู้แบบไม่เป็นหมันมีสีส้ม เกสรเพศเมียมีรังไข่ สีเขียวอ่อน ยอดเกสรเพศเมียรูปคล้ายสามเหลี่ยมกลับ สีเขียวอ่อน

ประโยชน์ และสรรพคุณ ทางสมุนไพร

เหง้า รสร้อน ใช้ประกอบตำรับยา แก้ลม ปรับธาตุ บำรุงธาตุ ขับลม แก้ท้องอืด แก้วิงเวียน แก้ลมทุกจำพวก แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ยาลดความดันโลหิต ยาแก้มะเร็ง ยาแก้หอบ) และเครื่องเทศ

อ้างอิง

รายละเอียดเพิ่มเติม