✓ต้นไม้: ประกายฉัตรหนู ไม้ล้มลุกพื้นเมืองไทย ใบกลมๆ น่ารัก?
ข้อมูลพรรณไม้ 'ประกายฉัตรหนู' ไม้ล้มลุก พืชพื้นเมืองไทย สกุลประกายฉัตร Phyllocyclus ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ ...
ประกายฉัตรหนู
ชื่อไทยของพรรณไม้ชนิดนี้ มีชื่อทางการ ว่า "ประกายฉัตรหนู" ซึ่งอ้างอิงตามข้อมูลชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2557)
ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ และถิ่นที่อยู่อาศัย
ประกายฉัตรหนู พบที่พม่าและในไทยพบทางภาคเหนือที่ตาก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่ราชบุรีและกาญจนบุรี ขึ้นตามเขาหินปูน ความสูง 100–1,200 เมตร
ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ, ชื่อพ้อง
- ประกายฉัตรหนู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Phyllocyclus helferianus Kurz
- อยู่ในวงศ์ Gentianaceae
- ชื่อพ้อง (Synonyms) : Canscora helferiana (Kurz) Wall. ex C.B.Clarke
ข้อมูล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นประกายฉัตรหนู มีลักษณะเป็น ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 60 ซม.
ใบประกายฉัตรหนู ใบที่โคนเป็นกระจุก รูปไข่กว้าง ยาวได้ถึง 1.8 ซม. ร่วงเร็ว ใบบนต้นเรียงรอบข้อ รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–3 ซม. เส้นแขนงใบเป็นรัศมี ไร้ก้าน
ดอกประกายฉัตรหนู ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียว มีได้ถึง 15 ดอก ใบประดับติดรอบข้อ คล้ายใบ ติดทน ดอกไร้ก้าน ไม่มีใบประดับย่อย กลีบเลี้ยงพองรูปคนโท ยาว 7–8 มม. มี 4 กลีบ กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 1–1.5 มม. ติดทน กลีบดอกรูปดอกเข็ม
ดอกสีขาวหรือสีครีม มีปื้นสีเหลืองที่โคนด้านใน ยาว 7–9 มม. มี 4 หรือ 5 กลีบ รูปใบพาย ยาว 2–2.3 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดประมาณกึ่งกลางหรือเหนือกึ่งกลางหลอดกลีบในระดับเดียวกัน ก้านชูอับเรณูแผ่กว้างที่โคน ยาวเท่า ๆ กัน ยาว 2.2–2.3 มม. รังไข่เหนือวงกลีบ มีช่องเดียว ออวุลจำนวนมาก เกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยาวได้ถึง 5.5 มม. ยอดเกสรจัก 2 พู
ผลประกายฉัตรหนู ผลแห้งแตกตามแนวประสาน ผลรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5 มม. เมล็ดประกายฉัตรหนู เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก
ทีมสำรวจพรรณไม้ภาคเหนือ กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ พบบริเวณเส้นทางไปถ้ำแม่ละนา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สกุลนี้ มีทั้งหมด 5 ชนิด สำหรับในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ
- ประกายฉัตรหนู Phyllocyclus helferianus Kurz
- ประกายฉัตร Phyllocyclus parishii (Hook.f.) Kurz
- ประกายฉัตรภูลังกา Phyllocyclus petelotii (Merr.) Thiv
อ้างอิง