Lazada 4.4

» ลาซาด้า 4.4 ลดสูงสุด 90%*

4 - 6 เมษายน นี้ เท่านั้น! (จำนวนจำกัด)

✓กล้วยไม้ป่า: เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด กล้วยไม้เอื้องดอกหอม

ลักษณะเด่นของต้นกล้วยไม้ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด คือ ดอกดก ทน และดอกหอม ดอกสีขาวอมชมพู กลีบปากสีชมพูเข้มหรือสีม่วง เมื่อบานกว้างประมาณ 1.5 ซม. ออกดอกเดือน เม.ย.-พ.ค. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวและห้อยลง ใบรูปแถบ ช่อดอกเป็นพวงห้อยลง แต่ละต้นมักจะมีหลายช่อ บางคนจึงเรียกว่า เอื้องกุหลาบพวง

กล้วยไม้ป่า 'เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด'

ชื่อสามัญของ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด ภาษาอังกฤษ คือ Sickle-Shaped Aerides ชื่ออื่น ๆ เช่น คำสบนก, เอื้องกุหลาบป่า, เอื้องกุหลาบพวง, เอื้องคำสบนก, เอื้องด้ามข้าว, เอื้องปากเป็ด เป็นต้น.

เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Aerides falcata Lindl. & Paxton (แอริเดส ฟอลคาต้า) เป็นกล้วยไม้ในสกุลกุหลาบ Aerides จัดอยู่ในวงศ์ Orchidaceae.

กล้วยไม้ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด Aerides falcata

ความหมาย ชื่อสกุล "Aerides" เป็นสกุลหนึ่งของพืชวงศ์กล้วยไม้ ตั้งขึ้นโดย Jado de Loureiro นักพฤกษศาสตร์ชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2333 ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก หมายถึงกล้วยไม้ที่เป็นพืชอิงอาศัยและหาอาหารได้จากอากาศ

กล้วยไม้ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด Aerides falcata

ชื่อพ้อง Synonyms:

  • Aerides larpentae Rchb.f.
  • Aerides leoniae (Rchb.f.) Rchb.f.
  • Aerides mendelii É.Morren
  • Aerides siamensis Klinge

ลำต้นยาวและห้อยลง ใบรูปแถบ ขนาด 3 x 20 ซม. เรียงห่างกัน ปลายใบเว้า ช่อดอกห้อยลง มักมีมากกว่า 1 ช่อ ดอกขนาด 2.5 ซม. กลีบเลี้ยง บนรูปรีกว้างจนเกือบกลม ปลายกลีบแหลม กลีบเลี้ยงคู่ข้าง รูปครึ่งวงกลมและเบี้ยว ปลายกลีบ

แหลมจนถึงเป็นติ่งแหลม โคนกลีบเชื่อมกับ คางเส้าเกสร กลีบดอก รูปรีปลายกลีบหยักเป็นฟันไม่สม่ำเสมอ ปลายกลีบมนสีม่วง กลีบปากแผ่เป็น 3 แฉก แฉกกลางมีขนาดใหญ่รูปครึ่งวงกลม ปลายเว้า กลางกลีบคอด หูกลีบปากรูปเคียว ขนาดใหญ่ ปลายมน ดอกมีกลิ่นหอม ช่วงออกดอก พฤษภาคม - มิถุนายน

กล้วยไม้ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด Aerides falcata

ถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้ เอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด มีการกระจายพันธุ์ในถิ่นกำเนิดที่พบในประเทศไทย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม จีนใต้-กลาง และภูมิภาคอินโดจีน

สภาพนิเวศ กล้วยไม้อิงอาศัย พบในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง พบบ้างในป่าดิบเขา และป่าดิบแล้งตามที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดและแสงแดดรำไร พบได้ทุกภูมิภาคของไทย

สถานภาพ พืชอนุรักษ์บัญชีที่2 ของอนุสัญญาไซเตส

อ้างอิงข้อมูล

รายละเอียดเพิ่มเติม