โรคของบอนสี โคนเน่า บอนสีใบไหม้ ซีดเหลือง วิธีแก้ การรักษาโรคบอนสี โรคเชื้อรา?

โรคของบอนสีที่พบส่วนใหญ่ สาเหตุเกิดจากโรคเกี่ยวกับเชื้อรา ใบเน่า โคนเน่า บอนสีใบไหม้ แก้ยังไง ใบซีดเหลือง ขอบใบไหม ศัตรูบอนสี ไส้เดือนฝอย เพลี้ยอ่อน หนอนกินใบ ...

โรคของบอนสี และ ศัตรูบอนสี

ต้นบอนสีเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง โรคในบอนสีที่พบส่วนใหญ่ จะเป็นโรคเกี่ยวกับเชื้อรา ใบเน่า โคนเน่า ขอบใบไหม้ ใบซีดเหลือง บอนสีใบไหม้ ศัตรูบอนสี ไส้เดือนฝอย และแมลงที่พบได้แก่ เพลี้ยอ่อน และหนอนกินใบบอนสี ซึ่งจะมีสาเหตุ ลักษณะอาการ วิธีการป้องกันกำจัด ดูแลรักษายังไง?

1. โรคราเม็ดผักกาด (Stem rot)

โรคราเม็ดผักกาดในบอนสี เกิดจากเชื้อ Sclerotium rolfsi Sacc. ลักษณะอาการบอสี จะโดนเชื้อราเข้าทำลายบริเวณโคนต้น บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลไหม้ตามลำดับ

ถ้ามีความชื้นสูงมากๆ จะพบเส้นใยสีขาวแผ่ปกคลุมโคนต้น พร้อมกับมีเม็ดขนาดเล็กกลมๆสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีหลือง และสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักกาด เรียก Sclerotia เกิดจากกลุ่มของเส้นใยของเชื้อราอัดตัวกันแน่นแล้วสร้างผนังมาห่อหุ้มไว้

โรคของบอนสี

การแผ่ระบาด จะทำความเสียหายมากในฤดูฝน หรือช่วงที่มีความชื้นสูง โดยเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและน้ำ นอกจากนี้ เม็ดSclerotia ของเชื้อราสามารถทนทานต่อการทำลายของสารเคมีและมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เชื้อสาเหตุอาศัยอยู่บริเวณพื้นผิวดิน หรือเครื่องปลูก หรือติดไปกับต้นพันธุ์

รายละเอียดเพิ่มเติม

การป้องกันกำจัดโรคบอนสี

1. หมั่นตรวจดูต้นบอนสีสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าเป็นโรค อย่าปล่อยทิ้งไว้ ให้เก็บรวบรวมแล้วเผาทำลาย มิฉะนั้นจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ

2. ราดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คาร์บอกซิล (Carboxin) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ อีทริไดอะโซล (Etridiazole) อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

3. พบว่าถ้าใช้สารดูดซึมกลุ่มเบโนมิล (Benomyl) ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคราเม็ดผักกาดได้ง่าย เพราะฉะนั้น หากใช้สาร Bemomyl ต้องไม่ใช้เดี่ยวๆ อาจผสมกับสารชนิดอื่นร่วมด้วย เช่นแคบเทน (Captan) แมนโคแซบ (Mancozeb)

4. ต้นพันธุ์และวัสดุที่ใช้เป็นเครื่องปลูก ต้องสะอาดปราศจากโรค โดยเฉพาะเครื่องปลูกไม่ควรวางบนผิวดินในช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้เชื้อบริเวณผิวดินติดมากับเครื่องปลูกเหล่านั้นได้

2. โรคโคนเน่า (Fusarium foot rot)

โรคบอนสีโคนเน่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เท่าที่พบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum F. moniliforme

ลักษณะอาการบอนสี เชื้อราจะเข้าทำลายทางรากหรือทางตาหน่อตรงโคนต้น ทำให้เกิดอาการโคนเน่าอย่างช้าๆ ใบเหี่ยว ทรุดโทรม และตายในที่สุด

การป้องกันกำจัดโรคบอนสี

1. นำส่วนที่เป็นโรคพร้อมเครื่องปลูกบริเวณที่เป็นโรคไปเผาทิ้งเพื่อทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรค

2. ใช้ปูนขาวโรยบริเวณหลุมดินที่เป็นโรค

3. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มควันโทซีน(Quintozene) หรือ ควินโทซีน + อีทริไดอะโซล (Quintozene + Etridiazole) อัตรา30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

3. โรคบอนสีใบไหม้ (Leaf blight), ใบจุด (Leaf spot)

โรคของบอนสี โคนเน่า บอนสีใบไหม้

ลักษณะอาการบอนสีใบไหม้ ขอบใบไหม้ มักเกิดจากสภาพปลูกมีความชื้นต่ำ มีแดดส่องมาก ประกอบกับได้รับน้ำไม่พอ ทำให้ใบหยาบกร้าน เกิดเป็นรอยไหม้ขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

การป้องกันกำจัด โรคบอนสีใบไหม้ แก้ยังไง

1. อย่าปลูกบอนในที่มีแสงแดดจัด

2. พรางแสงให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของบอนสีในแต่ละระยะ

3. ปรับโรงเรือนให้มีสภาพเหมาะสม อากาศระบายได้สะดวก

4. หมั่นรักษาความชื้นในดินและอากาศให้สม่ำเสมอ

4. แมลงและศัตรูบอนสี

1. เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อนจะมีลำตัวอ่อนสีแดงคล้ำเกาะกินใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ จะดูดน้ำเลี้ยงเรื่อยๆ ไปถึงโคนก้านบอน จะทำให้หัวบอนเน่า ใบอ่อนที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยง เมื่อคลี่ออกเต็มที่จะมีรอยย่น ขรุขระ เป็นรอยแผล

การป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ถ้ามีการระบาดมากควรฉีดยาประเภทดูดซึมที่มีขายโดยทั่วไป เช่น เซวิน (Sevin, S-85) เป็นระยะๆ จนหมดหรือใช้ยาฉุนแช่น้ำ 1 คืน แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำยามาผสมกับผงซักฟอกเล็กน้อย ฉีดพ่นบริเวณโคนต้นติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์

2. ไส้เดือนฝอย

ไส้เดือนฝอย เป็นศัตรูพืชที่มีความสำคัญมาก มีลักษณะคล้ายไส้เดือนดิน แต่มีขนาดเล็กกว่า มักปะปนกับซากใบไม้ผุหรือปุ๋ยคอก ทำให้พืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโต เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

การป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย ก่อนปลูกควรนำดินปลูกไปคั่วเพื่อฆ่าไข่ให้ตายก่อนจึงนำไปปลูก และถ้ามีการระบาดควรเปลี่ยนดินปลูกทันที และอาจรดยากำจัดไส้เดือนฝอยที่มีขายกันอยู่ทั่วไป

3. หอยทาก

หอยทาก จะคอยกัดกินต้น ใบ จนกุดหายไป การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจบริเวณโคนต้นถ้าพบตัวควรหยิบออกและนำไปทำลายทันที

4. หนอนกินใบบอนสี หรือ หนอนแก้ว

หนอนกินใบบอนสี หรือ หนอนแก้ว เป็นหนอนผีเสื้อ ตัวเขียวใส แม่ผีเสื้อจะวางไข่ใต้ใบบอนสี ในช่วงฤดูฝน และเมื่อฟักออกมาเป็นตัวอ่อน หนอนแก้ว จะกัดกินใบบอนสีไปเรื่อยๆ จนตัวใหญ่ขึ้นเกือบเท่านิ้วชี้

ถ้ากินใบบอนแดงลำตัวจะมีสีแดง ถ้ากินใบบอนเขียวลำตัวจะมีสีเขียว พอเป็นหนอนตัวใหญ่ อาจจะกินคืนละ 1-2 ใบ บางครั้งหนอนสามารถกัดกินใบบอนขนาดใหญ่ได้ถึง 4-5 ใบ ในช่วงเวลา 30 นาที เหลือแต่ก้านใบได้ การป้องกันกำจัด การกำจัดที่ได้ผลจะกระทำโดยวิธีการเก็บทำลายทิ้ง

อ้างอิง : เอกสารวิชาการ เรื่อง "บอนสี" โดย นางอรวรรณ วิชัยลักษณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร พิมพ์เมื่อ ปี พ.ศ.2548

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม »

แนะนำพันธุ์ไม้มงคล พันธุ์ไม้ไทย พันธุ์ไม้ผล พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ทำสวน/ทำการเกษตร/อุปกรณ์ปลูกต้นไม้ ปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ราคาถูก โดย Siamplants ขายต้นไม้ อุปกรณ์ทำสวน

Popular Posts

ต้นจำปีแคระ, จำปีจิ๋ว ต้นสูงเท่าไหร่ วิธีปลูก ในกระถาง ให้ออกดอกดก, ชอบแดดไหม?

ต้นพวงคราม ดอกสีม่วง/สีขาว วิธีปลูกพวงคราม ให้ออกดอกดก สายพันธุ์ต่างๆ มีกี่สี?

ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้มงคล ปลูกในบ้านดีไหม วิธีปลูกให้ออกดอกดก ปลูกในกระถาง?

ความแตกต่าง ราชพฤกษ์, กาฬพฤกษ์, กัลปพฤกษ์, ชัยพฤกษ์ มีกี่ชนิด ในประเทศไทย?

ต้นมั่งมี (เฉียงพร้านางแอ) มั่งมีศรีสุข ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณ ออกดอกเดือนไหน?

✓ต้นไม้: โมกนเรศวร โมกของไทย ณ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.ตาก?

การแบ่งประเภท(ตัวย่อ) สูตรผสม สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช รูปแบบของกลุ่มสารผสม?

ต้นกันภัยมหิดล ประวัติความเป็นมา ลักษณะ, วิธีปลูก การใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์?

✓ต้นไม้: 'พีพวนน้อย' (หมากผีผ่วน) ผลไม้ป่าไทย วงศ์กระดังงา?

ต้นอินทรชิต, เสลา(สะ-เหลา) ลักษณะ ประโยชน์ สรรพคุณทางสมุนไพร วิธีปลูก ราคา?