การปรับปรุงพันธุ์บอนสี วิธีผสมเกสร บอนสีลูกผสม สายพันธุ์ใหม่ ลักษณะต้นบอนสีที่ดี?
การปรับปรุงพันธุ์บอนสี หรือการพัฒนาสายพันธุ์บอนสี ผู้ปลูกเลี้ยงบอนสี ส่วนใหญ่นิยมปรับปรุงพันธุ์บอนสี ด้วยวิธีการผสมพันธุ์บอนสี เพาะเมล็ดบอนสี เพื่อให้ได้ต้นบอนสีสายพันธุ์ใหม่ ๆ
การปรับปรุงพันธุ์บอนสี สายพันธุ์ใหม่
บอนสีเป็นไม้ประดับในกลุ่มไม้ใบสวย ที่กำลังได้รับความนิยมสูงมาก ก่อนที่จะรู้จักการปรับปรุงพันธุ์บอนสี นักปรับปรุงที่ดีจะต้องทราบถึงลักษณะของต้นบอนสีที่ดี การกำหนดเป้าหมายของลูกผสมที่ต้องการ การจัดหาต้นพ่อแม่พันธุ์ ตลอดจนการผสมพันธุ์บอนสี และการเพาะเมล็ดบอนสีลูกไม้ใหม่
ลักษณะของต้นบอนสีที่ดี
ลักษณะของบอนสีที่ดี ควรมีความสม่ำเสมอของรูปใบ ความดกของใบ ความสม่ำเสมอของสีใบ ก้านใบ ความเป็นระเบียบของก้าน และความแปลกของบอนสี
ลักษณะของต้นบอนสีที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
- ความสม่ำเสมอของรูปใบบอนสี ใบบอนสีมีลักษณะของใบแตกต่างกัน เช่น ใบไทย ใบยาว ใบกลม ใบกาบ ใบไผ่ ลักษณะใบที่เกิดจากการผสมพันธุ์ใหม่ จะต้องมีความสม่ำเสมอโดยไม่เปลี่ยนลักษณะเป็นอย่างอื่นในต้นเดียวกัน เช่น บอนใบกลม จะต้องกลมตลอดไป
- ความดกของใบบอนสี ใบแรกที่ออกงอกมาก่อน จะเรียกว่าใบเบี้ย จะมีความคงทนและไม่ทิ้งใบ ใบที่แตกออกทีหลังเรียกว่า ใบน้องบอนที่มีใบดก ได้แก่ บอนใบยาว ใบไทย ใบบอนที่มีความดกและไม่ทิ้งใบนั้นมีความดกนับจากจำนวน 12 ใบ ขึ้นไป
- ความสม่ำเสมอของสีใบบอนสี จะต้องมีความสม่ำเสมอภายในใบ ไม่ทิ้งสีใบของตัวเอง การคงสภาพสีบอนบางชนิด ต้นเล็กใบจะมีสีเขียวเมื่อโตจะมีสีอื่นแซมออกมา และจะมีสีชัดเจนเมื่อบอนนั้นโตเต็มที่ ในวงการบอน เรียกว่า “บอนกัดสี” หรือบอนบางชนิดมีสีพื้นและเป็นส่วนใหญ่บนใบบอนแต่มีสีอื่นแซมออกมาทุกใบเรียกว่า “บอนป้าย” ซึ่งก็ต้องนับบอนป้ายและบอนกัดสีเป็นบอนที่มีความสม่ำเสมอ แต่บอนบางชนิดสีของใบจะกลับไปกลับมาแสดงว่าไม่มีความสม่ำเสมอ
- ความสม่ำเสมอของก้านใบ ก้านใบที่ดีจะต้องมีลักษณะก้านที่อวบ แข็งแรง ไม่มีลักษณะก้านเล็กบ้างใหญ่บ้าง และมีความสมดุลกับใบบอน
- ความเป็นระเบียบของก้าน ก้านใบที่มีโคนกาบเกาะกันไม่แบะออก ก้านใบจะจัดเองโดยธรรมชาติให้เป็นระเบียบ มองดูสวยงามโดยไม่ให้ใบที่แทงขึ้นมาซ้อนกัน
- ความแปลกของบอนสี ได้แก่ แปลกรูปใบ แปลกก้าน และแปลกสี
การกำหนดเป้าหมายของบอนสีลูกผสม
เพื่อให้ได้ลูกไม้ใหม่ที่ดีและต้องกำหนดว่า ลูกไม้ใหม่ต้องการรูปใบสีใบ สีกระดูก เส้นกาบ ก้านอย่างไร จึงจัดหาพ่อแม่ที่ใกล้เคียงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ถ้าต้องการบอนใบกาบ ควรจัดหาพ่อแม่พันธุ์เป็นบอนใบกาบ เป็นต้น
การจัดหาพ่อแม่พันธุ์บอนสีพ่อแม่พันธุ์บอนสี จะต้องเป็นต้นบอนสีที่มีขนาดใหญ่ มีความสมบูรณ์เต็มที่มีอายุ 10 เดือนขึ้นไป
เมื่อต้นบอนทิ้งใบ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ให้ขุดหัวบอนในช่วงมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ขึ้นมาทำความสะอาดนำมาเก็บไว้ในที่ไม่มีแสงแดด อากาศถ่ายเทได้ดี
ปล่อยทิ้งไว้นานประมาณ 3 เดือน ให้นำหัวบอนลงปลูกช่วงเดือนพฤษภาคมในดินที่อุดมสมบูรณ์ หลังจากนั้น1-1.5 เดือน หัวบอน เริ่มมีใบ 1 ใบ หลังจากนั้น15 วัน บอนจะเริ่มออกดอก และดอกจะบาน
การผสมพันธุ์บอนสี
ดอกบอนสีมีลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว ดอกมีลักษณะเป็นแท่งมีกลีบดอกหุ้ม เกสรตัวผู้จะอยู่ส่วนบนของดอกที่ยื่นขึ้นในระหว่างกลีบดอกเกสรตัวเมียอยู่ล่างสุด อยู่ในกระเปาะ
เมื่อดอกบานจานรองดอกจะคลี่เห็นปลีดอกสีขาวเป็นแท่งภายใน 24 เซนติเมตร จะมีละอองเกสรตัวผู้บาน เกสรตัวผู้เมื่อบาน จะมีลักษณะเป็นผงฟู มีละอองเกสรสีเหลืองเกาะอยู่โดยรอบ
ดังนั้น จึงต้องมีการเก็บละอองเกสรตัวผู้ โดยใช้แปรงเล็กอ่อนสะอาด เขี่ยหรือขูดเบาๆ ใส่ขวดทึบแสง เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา เพื่อเป็นพ่อพันธุ์ผสมในตันตัวเมียต้นอื่น
ละอองเกสรตัวผู้ ที่เก็บไว้สามารถเก็บไว้ได้นาน 30 วัน เกสรตัวผู้ที่เสื่อมคุณภาพจะมีลักษณะเกาะกันเป็นก้อน เกสรตัวเมียจะมีเมือกขัน ๆ หุ้มอยู่โดยรอบเมล็ดสีดำ เกสรตัวเมียจะบานก่อนเกสรตัวผู้ 1 วัน ดังนั้น ในดอกเดียวกันบอนสีจึงไม่สามารถผสมติดได้
ช่วงระยะเวลาที่มีการผสมเกสรให้ได้ผลดี คือ ช่วงที่เกสรตัวเมีย มีกลิ่นหอมในช่วงเวลา 18.00-21.00 น.
ขั้นตอนวิธีการผสมพันธุ์บอนสี
เมื่อดอกบอนสีพร้อมสำหรับการผสมพันธุ์แล้ว ให้ใช้มีดคม กรีดกลีบของกาบหลอดรังไข่เกสรตัวเมีย ให้กว้างพอดี พู่กันจะสอดเข้าไปได้กับช่วงที่พอจะป้ายเกสรตัวผู้ได้พอเหมาะ
การป้ายเกสรใช้พู่กันที่สะอาด ปาดเกสรตัวผู้ นำไปป้ายตรงช่องที่กรีดไว้ โดยใช้วิธีป้ายขึ้นที่ยอดเกสรตัวเมีย แล้วใช้ถุงพลาสติกใส เจาะรู 2-3 รู สวมครอบดอกบอนสี เพื่อให้อากาศถ่ายเท และป้องกันแมลงมารบกวน อีกทั้ง เกสรที่ได้จะไม่หล่นออกจากดอกบอนได้
หลังจากผสมแล้ว ห้ามถูกน้ำ จะทำให้เกสรตัวเมียเกิดเชื้อราได้ ดอกเน่าได้ หลังจากผสมแล้ว 7 วัน ถ้าก้านดอกเกสรตัวเมียยังแข็ง ไม่เหี่ยวเน่าไปและรังไข่จะขยายตัวใหญ่ขึ้น แสดงว่าการผสมบอนสีได้ผล
ถ้าผสมไม่ติดก้านดอกจะแห้งเหี่ยว หลังจากนั้น 15 วัน เกสรตัวเมียจะมีลักษณะสมบูรณ์และใหญ่ขึ้น เห็นเมล็ดกลมๆ ขนาดพอกับเมล็ดพริกไทยอยู่รอบๆ ก้านเกสรตัวเมีย เมล็ดบอนสีสามารถเก็บได้หลังจากผสมแล้ว 35 วัน
เมล็ดบอนสีที่ได้จากการผสมพันธุ์
ดอกได้รับการผสมติดแล้ว หลังจากนั้น 30 วัน ที่จานรองดอกบริเวณรังไข่จะบวมคล้ายผลน้อยหน่า และมีเมล็ดจุดดําๆ เกาะอยูต้องคอยระวังอย่าให้แตกออกก่อน มิฉะนั้น จะเป็นอาหารของมดได้ ให้เด็ดดอกออกมาแคะเอา
เฉพาะที่เป็นยวงขาว ภายในยวงสีขาว จะมีเมล็ดเล็กๆ ขนาดเท่าเมล็ดยาสูบ ประมาณ 3-8 เมล็ด ไม่นิยมให้เพาะเมล็ดทั้งผล จะทําให้เปอร์เซ็นต์การงอกน้อย ดังนัน จึงให้ใช้เล็บมือทังสองข้างบีบยวงนําเมล็ดไปคลึงกระดาษเพื่อให้
เมล็ดแห้งเมื่อบีบเมล็ดออกหมดทุกยวงแล้ว เอาใส่ลงในจานขนาดเล็กผึ่งลมให้แห้งใช้เวลา ประมาณ 4 ชัวโมง จึงนําไปเพาะเมล็ดได้ เมล็ดสามารถให้เปอร์เซ็นต์การงอกได้ดีภายใน 1-7 วัน ผลบอนสี 1 ผล สามารถให้เมล็ดได้ 200-500 เมล็ด
การเพาะเมล็ดบอนสี
นําเมล็ดบอนสีที่ได้ นํามาหวานในภาชนะที่มีดินรวนโปรง มีอินทรียวัตถุ โดยใช้ดินผสมใบไม้ผุใส่ช่วงล่าง ด้านบนใช้ดินร่วนธรรมดา เตรียมดินในกระถางปากกว้าง รดน้ำชุ่ม นําเมล็ดหว่าน
การหว่านเมล็ดควรหว่านให้สมํ่าเสมอ ไม่ให้ถี่เกินไป ควรระวังอย่าให้มดหรือแมลงเข้ากัดกินได้ หลังจากหว่านเมล็ดบอนแล้วประมาณ 3-4 อาทิตย์ คลุมกระถางด้วยพลาสติก
เมล็ดบอนสีจะงอกขึ้นเป็นต้นกล้าเล็กๆ แตกขึ้นมาก่อนคล้ายแหน รอให้ต้นเจริญเติบโตสูงประมาณ 2 นิ้วได้เวลา 1 เดือน คัดต้นที่มีลักษณะบอนสีที่ดี นําไปเพาะชําในกระถางขนาด 4 นิ้ว จนเมื่อต้นมีการเจริญเติบโต ที่ดีก็ทําการเปลี่ยนกระถางเป็น 6 นิ้ว และ 8 นิ้ว ต่อไป
ข้อควรระวังในการเพาะเมล็ดบอนสีต้องระวังดังนี้
- กระถางหรือแปลงดินที่เพาะเมล็ด ควรอยู่ในบริเวณแดดรำไร
- การหวานเมล็ดไม่ควรถี่เกินไป ลูกบอนสีที่เกิดจะเบียดแข่งกันโต ลักษณะของต้นไม่สมบูรณ์ การหว่านเมล็ดลงในกระบะ ควรใช้ถุงพลาสติกคลุม เพื่อกันมดและแมลงอื่นรบกวน
- การให้นํ้า ควรให้บริเวณผิวดิน ไม่ควรให้กระทบใบบอนที่ยังเล็กและอ่อนแอ
การคัดเลือกลูกไม้บอนสี
ลูกไม้ หมายถึง ต้นบอนสีที่เกิดจากการผสมพันธุ์ใหม่ขึ้นมา และมีลักษณะที่ผิดไปจากพ่อแม่เดิม และต้นบอนสีที่ผสมใหม่ได้นั้น ยังไม่มีการตั้งชื่อ
เมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์ต้นบอนสี ควรนําไปเพาะโดยใช้ระยะเวลา 60 วัน บอนสีที่เพาะจะเริ่มมีการแสดงสายพันธุ์ใหม่ เมื่อเลี้ยงไว้ 6 เดือน จะต้องคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีที่สุดไว้
และทุกต้นต้องนํามาผ่าหัวขยายพันธุ์อย่างน้อย 3 ครั้ง จนมีลักษณะที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างยิ่ง จึงจดบันทึกลักษณะรูปใบ สีพื้นใบ กระดูก เส้น เม็ด ป้าย ก้าน สะพาน สาแหรก หู สะโพก เป็นลักษณะประจําต้นบอนสีที่ผสมได้ จึงตั้งชื่อเป็นบอนสีต้นใหม่